คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สายันต์ สุรสมภพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 381 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขความบกพร่องในการแต่งตั้งทนายความหลังศาลชั้นต้นพิพากษา ศาลฎีกาอนุญาตได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษา?" นั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปที่ใช้ได้ในทุกชั้นศาลมิได้หมายความถึงก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา แต่อย่างใด
เมื่อความสามารถในการฟ้องของโจทก์ในการแต่งตั้งทนายความบกพร่องและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขพร้อมทั้งยื่นใบแต่งทนายความฉบับใหม่เข้ามาพร้อมกับคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งรับขึ้นมาแล้วเช่นนี้ ศาลฎีกา จึงเห็นสมควรอนุญาต อำนาจฟ้องจึงสมบูรณ์มาแต่แรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทบริหารสินทรัพย์: การโอนหนี้ด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ เป็นการกระทำโดยสุจริต
ผู้ร้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อการรับซื้อหรือรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ แตกต่างจากโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทธนาคารพาณิชย์ แม้โจทก์จะเป็นผู้ถือหุ้นของผู้ร้องเกือบทั้งหมด แต่ผู้ร้องก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ ซึ่งการจัดตั้งหรือการจดทะเบียนเพื่อดำเนินกิจการบริหารสินทรัพย์ล้วนแต่ได้รับอนุญาตโดยถูกต้องแล้วทั้งสิ้น การโอนหนี้ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ด้อยคุณภาพจึงเป็นไปโดยสุจริตและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกา
จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาและให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาแก่ทุกฝ่ายภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน แม้จำเลยจะไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่ง แต่เมื่อแบบพิมพ์ท้ายฎีกามีข้อความว่า "ข้าพเจ้าได้ยื่นสำเนาฎีกาโดยข้อความถูกต้องเป็นอย่างเดียวกันมาด้วย 2 ฉบับ และรอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่จำเลยยื่นฎีกานั้นเอง จึงต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยทนายความ แม้ไม่มีหนังสือมอบอำนาจ แต่ตัวการให้สัตยาบันแล้ว ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
ปัญหาว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะมิใช่ประเด็นข้อพิพาทเนื่องจากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่ก็เป็นประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ ซึ่งโจทก์นำพยานหลักฐานเข้าสืบและจำเลยถามค้านพยานโจทก์ในปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว ฎีกาของจำเลยในข้อนี้จึงถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา 798 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้การตั้งตัวแทนเพื่อกิจกรรมนั้นต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด และแม้การมอบอำนาจจะมิได้ทำเป็นหนังสือแต่ทนายโจทก์ก็ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์ และเมื่อจำเลยได้รับหนังสือแล้วไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงมอบอำนาจให้ ธ. ดำเนินคดีนี้แก่จำเลย แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของทนายโจทก์เป็นการบอกกล่าวในนามของโจทก์ ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของทนายโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าโจทก์ผู้รับจำนองมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 โดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2040/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความหนี้ซื้อขายสินค้าเพื่อกิจการ, และการฟ้องที่สมบูรณ์
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าฟ้องโจทก์ไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นอย่างไร อันทำให้จำเลยไม่เข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้ คำให้การของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่มีประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ บัญชีพยานโจทก์และคำแถลงที่โจทก์ยื่นภายหลังการยื่นฟ้องต่างระบุชื่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ทั้งทุนทรัพย์เกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ การที่โจทก์ระบุในใบแต่งทนายความว่าศาลแขวงพระนครใต้และระบุในหนังสือมอบอำนาจให้ ธ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงพระนครใต้จึงเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ทั้งจำเลยให้การต่อสู้ว่า พ. ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ ธ. ฟ้องจำเลย ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่อของ พ. และ ธ. ไม่ได้ให้การต่อสู้ถึงเขตอำนาจศาลแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขชื่อศาลในใบแต่งทนายความและในหนังสือมอบอำนาจได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขหลังวันสืบพยานโจทก์และมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลย เพราะเป็นการแก้ไขตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้และเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
โจทก์ประกอบการค้ากระดาษและวัตถุสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จำเลยประกอบกิจการโรงพิมพ์และค้าขายกระดาษ หนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้ค่าซื้อกระดาษที่นำมาใช้ในกิจการของจำเลย การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ: การใช้อาวุธปืนยิงที่ใบหน้า แม้ถูกทำร้ายด้วยมีด
จำเลยยิงผู้ตายเพราะผู้ตายจะใช้มีดแทง จำเลยย่อมมีสิทธิป้องกันตัว แต่แม้จำเลยจะไม่มีหน้าที่ต้องหนีการที่จำเลยมีอาวุธปืนที่ร้ายแรงกว่า จำเลยอาจเลือกยิงร่างกายส่วนที่สำคัญน้อยหรือเป็นอันตรายน้อยเพียงเพื่อยับยั้งผู้ตาย แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนเล็งยิงไปที่ใบหน้า จึงเป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ และการบังคับจำเลยให้ไถ่ถอนจำนองที่ดิน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301 อีกทั้งธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการบังคับไถ่จำนองที่ดิน
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท แต่โจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะขอบังคับให้จำเลยไถ่จำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1301
ธนาคารผู้รับจำนองเป็นบุคคลนอกคดี เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเป็นจำเลยด้วย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาถึงธนาคารให้ยินยอมให้จดทะเบียนไถ่จำนองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง
ทุนทรัพย์ตามฟ้องเดิมในศาลชั้นต้น 80,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 5,000 บาท เกินกว่าอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลชั้นต้นตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. และศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่กำหนด
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยมาเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ให้ครบถ้วน ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ครั้งแรก จำเลยมาศาลและแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยยังไม่ทราบจำนวนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ต้องชำระเพิ่มเติมและจำเลยยังไม่มีเงินพอที่จะชำระ ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไปก่อนตามคำขอของจำเลย ครั้นถึงวันนัดจำเลยมาศาลและแถลงว่ายังไม่ได้ชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่ต้องชำระเพิ่มเติมเนื่องจากไม่มีเงิน ขอให้ศาลพิจารณาสั่งตามรูปคดีต่อไป ศาลชั้นต้นจึงงดการอ่านคำพิพากษาและส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์ภาค 7 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ดังนี้ คำแถลงของจำเลยทั้งสองครั้ง เป็นการยอมรับโดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยทราบว่าจะต้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มเติมจากที่ได้ชำระไปบางส่วนแล้ว เมื่อจำเลยไม่ชำระตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 7 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนด ถือว่าเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีจำเลยทุบผนังตึกเช่าและมีหน้าที่ซ่อมแซม
จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งติดกับตึกแถวของจำเลยจากโจทก์ แล้วจำเลยทุบผนังห้องตึกแถวที่ติดกันออกโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์เพื่อประโยชน์ของฝ่ายจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาเช่าขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าและค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวที่เช่าและส่งมอบตึกแถวคืนโจทก์ สภาพเรียบร้อย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยกับให้จำเลยชำระค่าเสียหายจนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวและส่งมอบตึกแถวคืนโจทก์ จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ การที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยตอนหนึ่งว่า "ที่ศาลชั้นต้นใช้คำว่าส่งมอบตึกแถวให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย จึงน่าจะหมายความว่า จำเลยมีหน้าที่ทำผนังตึกแถวของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิมก่อนที่จะมีการทุบทำลายออกเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามข้อตกลงท้ายสัญญา" แล้วพิพากษายืนเช่นนี้ เป็นการอธิบายความหมายของคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมมิให้มีปัญหาในชั้นบังคับคดี ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้จำเลยจะมิได้ขอให้ศาลอธิบายคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ตาม คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอแต่อย่างใด
of 39