คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ม. 29

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินสดของกลาง: เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าไม่ใช่ทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงชอบที่จะคืนให้จำเลย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ริบเงินสดของกลางแล้วคดีย่อมฟังเป็นยุติว่าเงินสดของกลางที่โจทก์ขอให้ริบนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางเป็นของจำเลยทั้งจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านของคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย เนื่องจากคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริงจึงไม่อาจส่งคืนให้แก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากผู้กระทำผิดยาเสพติด: สันนิษฐานความเชื่อมโยงกับความผิดและภาระการพิสูจน์
จำเลยคดีนี้กับจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นอีกคดีหนึ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วมิใช่บุคคลคนเดียวกัน เหตุแห่งการขอริบธนบัตรจำนวนเดียวกัน คดีอีกคดีหนึ่งโจทก์ขอริบโดยอ้างเหตุว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยในคดีดังกล่าวได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 แต่คดีนี้ผู้ร้อง อ้างเหตุให้ริบว่าเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งคณะกรรมการ ตรวจสอบทรัพย์สินได้ยึดไว้ ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 22, 27, 29 และ 31 ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตลอดจนการกระทำที่อ้างเป็นเหตุให้ศาลพิจารณาริบธนบัตรจำนวนนี้แตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงหาเป็นการร้องซ้อนหรือร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีอีกคดีหนึ่ง หรือทำให้สิทธิของผู้ร้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ไม่
ผู้คัดค้านถูกฟ้องในความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกผู้คัดค้าน 25 ปี คดีถึงที่สุดแล้ว ตามบทบัญญัติมาตรา 29 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าธนบัตรที่ผู้คัดค้านมีอยู่ หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถใน
การประกอบอาชีพเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงตกเป็นภาระของผู้คัดค้านที่ต้องพิสูจน์ว่าธนบัตรเป็นของผู้คัดค้านที่ได้มาโดยสุจริตและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าธนบัตรเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน แต่เป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริต อันเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จึงต้องริบธนบัตรให้ตกเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ตามความในมาตรา 29 และ มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6089/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ได้จากการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: สันนิษฐานว่าเงินได้มาเกินฐานะ และผู้ต้องหาต้องพิสูจน์ว่าได้มาโดยสุจริต
คดีก่อนพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องผู้อื่นเป็นจำเลยและขอให้ริบธนบัตรของกลาง โดยอ้างการกระทำอันจะเป็นเหตุให้ริบธนบัตรว่าเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102แต่คดีนี้พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างเหตุให้ริบธนบัตรจำนวนเดียวกันนั้นว่า เป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ยึดไว้แล้วตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 16(3),22,27,29 และ 31เมื่อคดีนี้กับคดีก่อนจำเลยมิใช่บุคคลคนเดียวกัน ทั้งมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตลอดจนการกระทำที่อ้างเป็นเหตุให้ศาลริบธนบัตรแตกต่างกัน การพิจารณาคดีนี้จึงไม่เป็นการร้องซ้อน หรือร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับทำให้สิทธิของผู้ร้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2710/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย พิจารณาจากปริมาณทรัพย์สินและพฤติการณ์อื่นประกอบ
เมทแอมเฟตามีน ที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนอกจากจะบรรจุไว้ในซองพลาสติก ซึ่งมีลักษณะแบ่งแยกไว้จำเพาะแล้ว และยังมีจำนวนถึง 1,140 เม็ด มากเกินกว่าที่จำเลยจะนำมาเสพเอง ส่วน อีเฟดรีน ก็มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ถือว่าเป็นจำนวนมาก และยังเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตเมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ของกลางทั้งสองรายการล้วนเป็นของผิดกฎหมายส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์จะนำไปใช้ในทางไม่สุจริต โดยเฉพาะอีเฟดรีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้นั้นส่วนหนึ่งอยู่ในถุงพลาสติกซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีดำสำหรับใช้สะพายรวมอยู่ด้วยกับอาวุธปืนของจำเลย จากโต๊ะเครื่องแป้งในห้องนอน และอีเฟดรีนอีกส่วนหนึ่งอยู่ในกล่องกระดาษบรรจุในถุงหิ้วได้มาจากโซฟานอกห้องนอน ดังนี้อีเฟดรีนทั้งสองจำนวน จำเลยย่อมรู้เห็นเพราะอยู่ในวิสัยที่จำเลยสามารถค้นหาพบอย่างง่ายดาย เจ้าพนักงานตำรวจยังได้ยึดทรัพย์สินอย่างอื่นของจำเลยอีกจำนวนมาก อาทิ รถยนต์ 4 คัน นาฬิกาข้อมือฝังเพชร สร้อยคอทองคำฝังเพชร และแหวนทองคำ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สินที่มีค่าและราคาแพงตลอดทั้งมีสมุดฝากเงินของธนาคารถึง 5 แห่ง กับบันทึกข้อความสั่งให้จ่ายเงินนับสิบล้านบาทเก็บซุกซ่อนอยู่ในห้องพักคอนโดมิเนียมที่จำเลยเช่าอยู่กับภริยาลำพัง2 คน หรือรถยนต์ราคาแพงที่จอดไว้ที่ลานจอดรถ ทรัพย์สินเหล่านั้นทั้งหมดเมื่อมาเปรียบเทียบกับอาชีพการงานของจำเลยเกินกว่าฐานะตามที่ควรจะเป็น ส่อแสดงให้เห็นว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีพิรุธและไม่สุจริต พฤติการณ์ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นและจากการสืบทราบของเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยมีการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อจำหน่าย โจทก์หาจำต้องมีประจักษ์พยานให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษมาก่อนเกิดเหตุไม่
โทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลาง จำเลยได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารให้ได้รับผลในการกระทำความผิดนอกเหนือจากการใช้สื่อสารตามปกติธุระของจำเลย ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29,30 ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลางเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2710/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน: มีไว้เพื่อจำหน่าย พิจารณาจากปริมาณทรัพย์สินและพฤติการณ์
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ ++
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
++ ความผิดต่อพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ เมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้เป็นของกลางนอกจากจะบรรจุไว้ในซองพลาสติก ซึ่งมีลักษณะแบ่งแยกไว้จำเพาะแล้ว และยังมีจำนวนถึง 1,140 เม็ด มากเกินกว่าที่จำเลยจะนำมาเสพเอง ส่วนอีเฟดรีนก็มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ถือว่าเป็นจำนวนมาก และยังเป็นวัตถุดิบที่ใช้สำหรับผลิตเมทแอมเฟตามีนอีกด้วย ของกลางทั้งสองรายการล้วนเป็นของผิดกฎหมายส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีวัตถุประสงค์จะนำไปใช้ในทางไม่สุจริต โดยเฉพาะอีเฟดรีนที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้นั้นส่วนหนึ่งอยู่ในถุงพลาสติกซุกซ่อนอยู่ในกระเป๋าสีดำสำหรับใช้สะพายรวมอยู่ด้วยกับอาวุธปืนของจำเลย จากโต๊ะเครื่องแป้งในห้องนอน และอีเฟดรีนอีกส่วนหนึ่งอยู่ในกล่องกระดาษบรรจุในถุงหิ้วได้มาจากโซฟานอกห้องนอน ดังนี้ อีเฟดรีนทั้งสองจำนวน จำเลยย่อมรู้เห็นเพราะอยู่ในวิสัยที่จำเลยสามารถค้นหาพบอย่างง่ายดาย เจ้าพนักงานตำรวจยังได้ยึดทรัพย์สินอย่างอื่นของจำเลยอีกจำนวนมาก อาทิ รถยนต์ 4 คัน นาฬิกาข้อมือ ฝังเพชร สร้อยคอทองคำฝังเพชร และแหวนทองคำ เป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นทรัพย์สินที่มีค่าและราคาแพงตลอดทั้งมีสมุดฝากเงินของธนาคารถึง 5 แห่ง กับบันทึกข้อความสั่งให้จ่ายเงินนับสิบล้านบาท เก็บซุกซ่อนอยู่ในห้องพักคอนโดมิเนียมที่จำเลยเช่าอยู่กับภริยาลำพัง2 คน หรือรถยนต์ราคาแพงที่จอดไว้ที่ลานจอดรถ ทรัพย์สินเหล่านั้นทั้งหมดเมื่อมาเปรียบเทียบกับอาชีพการงานของจำเลยเกินกว่าฐานะตามที่ควรจะเป็น ส่อแสดงให้เห็นว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีพิรุธและไม่สุจริต พฤติการณ์ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นและจากการสืบทราบของเจ้าพนักงานตำรวจว่าจำเลยมีการลักลอบจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางไว้เพื่อจำหน่าย โจทก์หาจำต้องมีประจักษ์พยานให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดให้โทษมาก่อนเกิดเหตุไม่
โทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลาง จำเลยได้นำมาใช้เป็นอุปกรณ์สื่อสารให้ได้รับผลในการกระทำความผิดนอกเหนือจากการใช้สื่อสารตามปกติธุระของจำเลย ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29, 30 ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่และวิทยุติดตามตัวของกลางเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: การไม่มีส่วนร่วมของจำเลยอื่น และการริบทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีน อันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 260 เม็ด ของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตามคำเบิกความของพยานโจทก์คงได้ความแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสี่กำลังนั่งล้อมวงอยู่ใต้ต้นมะพร้าวริมบ่อเลี้ยงปลาเท่านั้น และไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตรวจค้นได้จากกระเป๋าคาดเอวของจำเลยที่ 1 และที่บรรจุอยู่ในกระบอกพลาสติกสีขาวอย่างใดบ้าง ส่วนกระบอกพลาสติกสีขาวที่บรรจุเมทแอมเฟตามีนของกลาง หากไม่เปิดฝาออกจะไม่เห็นสิ่งของที่บรรจุอยู่ การที่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นญาติกันนั่งคุยกันที่ใต้ต้นมะพร้าวซึ่งเป็นที่ร่ม จึงไม่เป็นการผิดปกติวิสัยที่จำเลยที่ 1 ถือกระบอกพลาสติกสีขาวโดยเปิดเผยและที่จำเลยทั้งสี่นั่งล้อมวงคุยกันที่ใต้ต้นมะพร้าวหาใช่ข้อแสดงว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่
การที่จำเลยที่ 2 เห็นพยานโจทก์ทั้งสี่กับพวกแล้ววิ่งหนี ย่อมเป็นพิรุธ แต่ข้อพิรุธดังกล่าวไม่อาจสันนิษฐานเป็นผลร้ายว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิด
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยานบอกเล่าและเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน มีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบจึงไม่อาจรับฟังเป็นความจริง
เงินของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแต่เงินของกลางดังกล่าวมิใช่เป็นทรัพย์สินที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 อาศัยอำนาจตามมาตรา 22 มีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดไว้ตามมาตรา 27 ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งริบตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งริบเงินของกลางที่จำเลยได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยมิได้อ้างพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) ตามฎีกาของโจทก์ยืนยันว่า ศาลมีคำสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ข้อวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์จึงมีว่า ศาลจะสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้หรือไม่
ศาลจะสั่งริบทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยได้กระทำความผิด ได้ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดนั้นและโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดนั้นด้วย
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ทั้งข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ได้เงินของกลางจากการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ก่อนจะถูกจับกุมคดีนี้ เงินดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 ได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดคดีนี้ จึงไม่อาจริบในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการติดต่อซื้อขายยาเสพติดเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
จำเลยที่1กับพวกได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะไปติดต่อเจรจาซื้อขายเฮโรอีนรวม3ครั้งรถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งจำเลยที่1ได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ.2534มาตรา29,30ให้ริบเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2109/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ. ปราบปรามยาเสพติด
จำเลยที่ 1 กับพวกได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะไปติดต่อเจรจาซื้อขายเฮโรอีนรวม 3 ครั้ง รถยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29, 30ให้ริบเป็นของกองทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
of 3