พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นและการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหลังผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญา
สัญญากู้ยืมเงินมีข้อตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่า 1 ปี ทบเข้ากับเงินต้นแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้านั้น มีผลบังคับใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง และไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะครบกำหนดชำระหนี้และลูกหนี้ผิดนัดแล้วโจทก์ก็มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามวิธีการดังกล่าวได้
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบังคับจำนองให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยไม่ได้ จึงประกาศให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ เป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองให้ชำระหนี้ภายในระยะเวลาอันสมควรแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7116/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานสืบเองได้ แม้จำเลยมิได้ระบุชื่อพยานในบัญชีระบุพยาน
ข้อกำหนดศาลแรงงานว่าด้วยการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงาน ข้อ 10 ซึ่งออกบังคับใช้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 29 ให้อำนาจศาลแรงงานสอบถามคู่ความแต่ละฝ่ายว่าประสงค์จะอ้างและสืบพยานใดบ้างแล้วจดรายชื่อและที่อยู่ของพยานบุคคล สภาพและสถานที่เก็บของพยานเอกสารหรือพยานวัตถุไว้หรือจะให้คู่ความทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลแรงงานภายในวันนั้นหรือภายในกำหนด 2 วัน ก็ได้ หากศาลแรงงานเห็นว่าพยานที่คู่ความมานำสืบยังไม่ได้ข้อเท็จจริงแห่งคดีแจ้งชัด ศาลแรงงานก็มีอำนาจตามมาตรา 45 ที่จะเรียกพยานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควรและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นกรณีมีบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะแล้ว ไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) , 88 มาอนุโลมใช้
แม้บัญชีระบุพยานจำเลยระบุเพียง "ฝ่ายกฎหมาย บริษัทสาธรคาร์เร้นท์ จำกัด" โดยไม่ได้ระบุชื่อ ส. เป็นพยานจำเลย ศาลแรงงานกลางก็สามารถรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานได้ในฐานะพยานที่ศาลแรงงานกลางเห็นสมควรสืบเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
แม้บัญชีระบุพยานจำเลยระบุเพียง "ฝ่ายกฎหมาย บริษัทสาธรคาร์เร้นท์ จำกัด" โดยไม่ได้ระบุชื่อ ส. เป็นพยานจำเลย ศาลแรงงานกลางก็สามารถรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานได้ในฐานะพยานที่ศาลแรงงานกลางเห็นสมควรสืบเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันสังคมต้องยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอนก่อนฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นข้อ 2 ตรงตามที่ศาลฎีกาได้กำหนดให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากไม่อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม ฯ มาตรา 85 ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติก่อนฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย แล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นอีกต่อไป ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นข้อ 4 ต่อไปอีก จึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นด้วยในผลที่ศาลแรงงานพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉิน: ข้อจำกัดตามประกาศสำนักงานประกันสังคม และการปฏิบัติตามเงื่อนไข
โจทก์เกิดอาการชักและน้ำลายฟูมปากและหมดสติอันเป็นผลมาจากเส้นเลือดอุดตันในสมองจำเป็นต้องได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉิน ซึ่งได้เข้ารับการบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ณ สถานพยาบาลอื่น ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ ฉบับลงวันที่30 มีนาคม 2538 ข้อ 4 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ตามอัตราที่กำหนดไว้ตามข้อ 4.1 เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา72 ชั่วโมงนับแต่เวลาที่โจทก์เข้ารับการรักษาครั้งแรกโดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการ ดังนั้นแม้ว่าโจทก์จะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเวชธานีถึง21 วัน และจำเป็นต้องอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู.11 วัน ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่รามอินทรา เกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ดังกล่าว ทั้งในช่วงระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์โจทก์เข้ารับการรักษาอยู่ในห้องไอ.ซี.ยู. โจทก์ก็ไม่ต้องเสียค่าห้องหรือค่าอาหารแต่อย่างใดสำนักงานประกันสังคมจึงไม่จำต้องจ่ายค่าห้องและค่าอาหารให้โจทก์ และกรณีมิใช่เป็นการขัดต่อ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 63 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน: ข้อจำกัดอัตราค่าบริการทางการแพทย์ตามประกาศ สปส.
ลูกจ้างที่จำต้องได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินซึ่งเข้ารับการบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ณ สถานพยาบาลอื่น ตามประกาศสำนักงานประกันสังคมเรื่อง กำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ ข้อ 4 แม้ลูกจ้างดังกล่าวจะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลถึง 21 วัน และจำเป็นต้องอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู.11 วันก็ตาม ลูกจ้างนั้นก็มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 4.1 คือจ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์ เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 72ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกโดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการภายใต้เงื่อนไขของข้อ 4.1.2 เท่านั้น และลูกจ้างนั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากสำนักงานประกันสังคมเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว
สำนักงานประกันสังคมไม่สั่งจ่ายเงินค่าห้องและค่าอาหารตามข้อ 4.1.2(4)ให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากเห็นว่าในช่วงระยะเวลาที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู ไม่ต้องเสียค่าห้องหรือค่าอาหาร สำนักงานประกันสังคมสั่งจ่ายเฉพาะค่าบริการทางการแพทย์แก่ลูกจ้างตามข้อ 4.1 จึงเป็นการถูกต้องแล้ว และมิใช่เป็นกรณีที่ขัดต่อพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 63
การที่คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาสั่งจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ลูกจ้างเพิ่มเติมจากคำสั่งของสำนักงานประกันสังคม เป็นการจ่ายเพิ่มให้ตามรายการ 20 รายการจากที่โจทก์ขอมา 21 รายการ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 87 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ อันเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์
สำนักงานประกันสังคมไม่สั่งจ่ายเงินค่าห้องและค่าอาหารตามข้อ 4.1.2(4)ให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากเห็นว่าในช่วงระยะเวลาที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู ไม่ต้องเสียค่าห้องหรือค่าอาหาร สำนักงานประกันสังคมสั่งจ่ายเฉพาะค่าบริการทางการแพทย์แก่ลูกจ้างตามข้อ 4.1 จึงเป็นการถูกต้องแล้ว และมิใช่เป็นกรณีที่ขัดต่อพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533มาตรา 63
การที่คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาสั่งจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ลูกจ้างเพิ่มเติมจากคำสั่งของสำนักงานประกันสังคม เป็นการจ่ายเพิ่มให้ตามรายการ 20 รายการจากที่โจทก์ขอมา 21 รายการ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 87 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ อันเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน: ข้อจำกัด 72 ชั่วโมง และขอบเขตการจ่ายเงินทดแทนตามประกาศ สปส.
ลูกจ้างที่จำต้องได้รับการบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินซึ่งเข้ารับการบริการทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ณ สถานพยาบาลอื่น ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ ข้อ 4แม้ลูกจ้างดังกล่าวจะเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลถึง 21 วัน และจำเป็นต้องอยู่ในห้อง ไอ.ซี.ยู 11 วัน ก็ตาม ลูกจ้างนั้นก็มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 4.1 คือจ่ายเป็นค่าบริการทางการแพทย์ เฉพาะค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกโดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการภายใต้เงื่อนไขของข้อ 4.1.2 เท่านั้น และลูกจ้างนั้นไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าบริการทางการแพทย์จากสำนักงานประกันสังคมเกินกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว
สำนักงานประกันสังคมไม่สั่งจ่ายเงินค่าห้องและค่าอาหารตามข้อ4.1.2 (4) ให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากเห็นว่าในช่วงระยะเวลาที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาอยู่ในห้องไอ.ซี.ยู ไม่ต้องเสียค่าห้องหรือค่าอาหาร สำนักงานประกันสังคมสั่งจ่ายเฉพาะค่าบริการทางการแพทย์แก่ลูกจ้างตามข้อ 4.1 จึงเป็นการถูกต้องแล้ว และมิใช่เป็นกรณีที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 มาตรา 63
การที่คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาสั่งจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ลูกจ้างเพิ่มเติมจากคำสั่งของสำนักงานประกันสังคม เป็นการจ่ายเพิ่มให้ตามรายการ 20 รายการ จากที่โจทก์ขอมา 21 รายการ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ อันเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์
สำนักงานประกันสังคมไม่สั่งจ่ายเงินค่าห้องและค่าอาหารตามข้อ4.1.2 (4) ให้แก่ลูกจ้างเนื่องจากเห็นว่าในช่วงระยะเวลาที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ ลูกจ้างเข้ารับการรักษาอยู่ในห้องไอ.ซี.ยู ไม่ต้องเสียค่าห้องหรือค่าอาหาร สำนักงานประกันสังคมสั่งจ่ายเฉพาะค่าบริการทางการแพทย์แก่ลูกจ้างตามข้อ 4.1 จึงเป็นการถูกต้องแล้ว และมิใช่เป็นกรณีที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 มาตรา 63
การที่คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาสั่งจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ให้แก่ลูกจ้างเพิ่มเติมจากคำสั่งของสำนักงานประกันสังคม เป็นการจ่ายเพิ่มให้ตามรายการ 20 รายการ จากที่โจทก์ขอมา 21 รายการ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 87 และประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ อันเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6767-6769/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีเงื่อนไขต่ออายุได้ ไม่ถือเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาแน่นอน จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยระบุว่า สัญญาฉบับนี้มีระยะเวลา 24 เดือน จากวันเริ่มจ้าง แต่อาจมีการทำข้อตกลงกันใหม่ก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุดโดยเป็นที่ยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อข้อตกลงการจ้างมีเงื่อนไขที่โจทก์กับจำเลยจะตกลงจ้างกันต่อไป ถือได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6689/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ลูกจ้างโดยไม่มีรถยนต์ให้ ถือเป็นค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
ตามสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยตกลงจ่ายเงินเดือนเดือนละ 65,000 บาทและเงินผลตอบแทนอีกเดือนละ 15,000 บาท ให้แก่โจทก์ โดยจำเลยไม่จัดรถยนต์และค่าใช้จ่ายใดทางด้านรถยนต์ให้โจทก์ แต่เงินผลตอบแทนดังกล่าวต้องนำรวมเข้าเสมือนเป็นรายได้ที่ได้รับเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์อีกเดือนละ 15,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานของโจทก์ในอัตราที่แน่นอนเท่ากันทุกเดือนทำนองเดียวกับเงินเดือน จึงเป็นค่าจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาข้อเท็จจริงและการปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัยไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามเนื้อหาเป็นเรื่องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกา จึงให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีกาที่จะรับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกาไม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลชั้นต้นเห็นว่า ตามเนื้อหาเป็นเรื่องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ลงลายมือชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกา จึงให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว การยื่นคำร้องดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีกาที่จะรับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา หาได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกาไม่ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6556/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ล่าช้าและการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา ทำให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งเป็นเจ้าของสำนวนอนุญาตให้ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ข้อความที่ตัดสินไม่ควรสู่ศาลสูงสุดจะวินิจฉัย ไม่อนุญาตให้ฎีกา ยกคำร้องของจำเลย และไม่รับฎีกา จำเลยอุทธรณ์คำสั่ง โดยขอให้ ส. ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาศาลชั้นต้นให้ส่งไปให้ ส. พิจารณาสั่ง ต่อมาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 25 ธันวาคม 2541 ต่อศาลชั้นต้นระบุขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยฎีกา เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ฎีกาและสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยแล้ว ย่อมถือได้ว่าคำร้องของจำเลยดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกาจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา แต่จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งเนื้อหาคือยื่นคำร้องเป็นกรณีนี้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อล่วงเลยกำหนดเวลายื่นฎีกาแล้ว จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง กรณีเช่นว่านี้ไม่มีกฎหมายให้อำนาจศาลฎีการับฎีกาของจำเลยได้ จำเลยจึงฎีกาขอให้ศาลฎีการับฎีกาของจำเลยไม่ได้
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า หากจำเลยประสงค์จะให้ผู้พิพากษาคนอื่นอนุญาตให้ฎีกา จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกา ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าจำเลยนี้มิได้ยื่นฎีกาใหม่ภายในกำหนดเวลายื่นฎีกาดังจำเลยฎีกา ฎีกาของจำเลยไม่เป็นการคัดค้านคำสั่งศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216