พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบธนาคารอย่างร้ายแรง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่า ลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาท ขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลย จึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคารของจำเลย การที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่บริษัท ด.ในวงเงิน 162 ล้านบาท ก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ ส.รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน จะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัท ด.อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหายนี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้ากับเงินอื่นตามฟ้อง และกรณีจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1454/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบสำคัญของธนาคาร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ธนาคารจำเลยมีระเบียบและคำสั่งเรื่องการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าชัดแจ้งว่าลูกค้าที่ขอสินเชื่อตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ผู้จัดการสาขาไม่มีอำนาจอนุมัติเอง ต้องส่งเรื่องไปขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่อนุมัติแล้วจึงจะจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าได้ การที่จำเลยวางระเบียบไว้เช่นนั้นเพื่อให้สำนักงานใหญ่ได้กลั่นกรองให้ละเอียดรอบคอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือความเสียหายของจำเลย จึงต้องถือว่าระเบียบและคำสั่งนี้มีความสำคัญแก่การดำเนินกิจการธนาคาร ของจำเลยการที่โจทก์รีบดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ บริษัทด. ในวงเงิน 162 ล้านบาท ก่อนได้รับอนุมัติจากจำเลย ทั้งที่ส. รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของจำเลยมีคำสั่งว่ากรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องขออนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน จะดำเนินการจดทะเบียนจำนองให้แก่ลูกค้าไม่ได้ แสดงให้เห็นว่าการฝ่าฝืนระเบียบหรือคำสั่งของจำเลย และเป็นเหตุให้จำเลยขาดเงินฝากอันเป็นหลักประกันถึง 39 ล้านบาท ทั้งโจทก์ยังเปลี่ยนแปลงลักษณะของสินเชื่อโดยเปลี่ยนแปลงจากวงเงินหนังสือค้ำประกันมาเป็นวงเงินรับรองตั๋วแลกเงินและวงเงินรับซื้อตั๋วเงินให้แก่บริษัทด. อีกด้วย อันเป็นผลทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างมาก และความเสียหาย นี้หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากจำเลยมีคำสั่งให้ระงับสินเชื่อไม่ การกระทำของโจทก์ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบหรือ คำสั่งเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า และการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุ ดังกล่าวมิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุมัติลาออกภายใต้เงื่อนไข และผลของการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อสิทธิการรับเงินของลูกจ้าง
จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อเมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการจำเลยได้มีหนังสือถึงโจทก์มีข้อความว่า "เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและ ข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯมีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ดังนั้น การที่ คณะกรรมการจำเลยมีมติดังกล่าวจึงมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาต ให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามเงื่อนไขทั้งสี่ข้อต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกภายใต้เงื่อนไข และสิทธิในการรับเงินบำเหน็จหลังการอนุมัติลาออก หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงดังกล่าวได้ หลังจากนั้น ค.กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการปิดบัญชีประจำปี 2539 ให้เสร็จภายในกำหนดแต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออกภายใต้เงื่อนไขและการสิ้นสุดความรับผิดชอบทางสัญญา
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ1. ต้องเข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40 เพื่อตอบข้อซักถามของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับตามระเบียบร้านฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณาในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลยถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม
แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"...ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี2539 ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที..." ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
แต่เมื่อโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า"...ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี2539 ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที..." ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1453/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาออก เงื่อนไขการจ่ายเงิน และหน้าที่ของนายจ้างเมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
แม้การที่โจทก์ลาออกจากงานก่อนกำหนด ตามข้อบังคับ ของจำเลยโจทก์ต้องได้รับความเห็นชอบและได้รับ อนุมัติจากคณะกรรมการบริหารของจำเลยก่อนและคณะกรรมการบริหารของจำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกได้ภายใต้เงื่อนไข 4 ข้อ คือ 1. ต้องเข้าร่วม ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2539/40 เพื่อตอบข้อซักถาม ของที่ประชุมเกี่ยวกับบัญชีงบดุล 2. จะพึงปฏิบัติต่อ ผู้ตรวจสอบบัญชีโดยเคร่งครัด 3. สิทธิที่พึงได้รับ ตามระเบียบร้าน ฯ จะได้รับต่อเมื่อปิดงบดุลเสร็จสิ้น 4. ให้เสนอทำบัญชีงบทดรองมาให้คณะกรรมการพิจารณา ในวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และอนุมัติจัดจ้างโจทก์ นอกเวลาตามอัตราค่าจ้างเดิม โจทก์ตกลงกับจำเลย ถือว่าโจทก์สละเงื่อนเวลาในการรับเงินที่โจทก์มีสิทธิ จะได้รับไปจนกว่าปิดงบดุลเสร็จนั้นก็ตาม แต่เมื่อ โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ หลังจากนั้น ค. กรรมการรักษาการผู้จัดการได้มีหนังสือถึงโจทก์ มีข้อความว่า "ตามที่โจทก์ได้รับมอบหมายจาก คณะกรรมการฯ ให้ทำการการปิดบัญชีประจำปี 2539ให้เสร็จภายในกำหนด แต่เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อตกลงได้ คณะกรรมการฯ มีมติให้ความรับผิดชอบของโจทก์ในการปิดบัญชีครั้งนี้สิ้นสุดลงทันที" ย่อมมีผลเท่ากับจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาออกโดยไม่ถือเอาประโยชน์ตามข้อดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสิทธิของโจทก์อันจะพึงได้รับให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในคำพิพากษาศาลแรงงาน: แก้ไขจำนวนเงินค่าจ้างค้างจ่ายจากความผิดพลาดในการเขียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ21,500 บาท ในการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม2540 โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 86,000 บาท แต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้เพียง 7,200 บาท ยังคงค้างจ่ายอีกเป็นเงิน 78,800 บาท โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมจ่าย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้อย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นเวลา 4เดือน รวมเป็นเงิน 86,000 บาท จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้ว 7,200 บาท คงค้างอีก 78,800 บาท และเงินจำนวนที่ค้างอยู่นี้โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าได้ทวงถามแล้วซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว หาใช่ต้องการได้รับเพียงจำนวน 7,880 บาท ตามที่ระบุในคำขอท้ายคำฟ้องไม่ เหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องระบุจำนวนเงินไว้ 7,880 บาท จึงเกิดจากความพลั้งเผลอเขียนตัวเลขผิดพลาดไป เป็นเหตุให้ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงิน 7,880 บาท ผิดพลาดตามไปด้วยอันเป็นกรณีคำพิพากษามีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และคู่ความไม่ได้อุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องได้ โดยแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาจาก 7,880 บาท เป็น 78,800 บาท ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาคดีแรงงาน: ข้อผิดพลาดเล็กน้อยเกี่ยวกับจำนวนเงินค้างจ่าย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ21,500 บาท ในการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 86,000 บาทแต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้เพียง 7,200 บาท ยังคงค้างจ่ายอีกเป็นเงิน78,800 บาท โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมจ่าย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้อย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นเวลา 4 เดือนรวมเป็นเงิน 86,000 บาทจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้ว 7,200 บาท คงค้างอีก 78,800 บาท และเงินจำนวนที่ค้างอยู่นี้โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าได้ทวงถามแล้วซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว หาใช่ต้องการได้รับเพียงจำนวน 7,880 บาท ตามที่ระบุในคำขอท้ายคำฟ้องไม่เหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องระบุจำนวนเงินไว้7,880 บาท จึงเกิดจากความพลั้งเผลอเขียนตัวเลขผิดพลาดไป เป็นเหตุให้ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงิน 7,880 บาท ผิดพลาดตามไปด้วยอันเป็นกรณีคำพิพากษามีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และคู่ความไม่ได้อุทธรณ์โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องไดโดยแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาจาก 7,880 บาท เป็น78,800 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาคดีแรงงานกรณีจำนวนเงินผิดพลาด การแก้ไขเป็นไปตามเจตนาเดิมของผู้ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 21,500 บาท ในการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 โจทก์มีสิทธิ ได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 86,000 บาท แต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้เพียง7,200 บาท ยังคงค้างจ่ายอีกเป็นเงิน 78,800 บาทโจทก์ทวงถามแล้ว จำเลยไม่ยอมจ่าย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้อย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540เป็นเวลา 4 เดือน รวมเป็นเงิน 86,000 บาท จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้ว 7,200 บาท คงค้างอีก 78,800 บาทและเงินจำนวนที่ค้างอยู่นี้โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าได้ทวงถามแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว หาใช่ต้องการได้รับเพียงจำนวน 7,880 บาท ตามที่ระบุในคำขอท้ายคำฟ้องไม่เหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องระบุจำนวนเงินไว้ 7,880 บาทจึงเกิดจากความพลั้งเผลอเขียนตัวเลขผิดพลาดไป เป็นเหตุให้ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงิน 7,880 บาทผิดพลาดตามไปด้วย อันเป็นกรณีคำพิพากษามีข้อผิดพลาดเล็กน้อยและคู่ความไม่ได้อุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องได้โดยแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาจาก 7,880 บาทเป็น 78,800 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการจ่ายโบนัส กรณีที่ลูกจ้างพ้นสภาพก่อนรับโบนัส
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ศาลจำต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อนก็ตาม แต่หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงอยู่ต่อไป โดยหวังว่ากิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่ ย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์ เรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 มาตรา 122และมาตรา 123
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้ เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ31 วรรคสอง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้ เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ31 วรรคสอง