พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353-1368/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากสาเหตุความจำเป็นทางธุรกิจและผลกระทบทางเศรษฐกิจ
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522มาตรา 49 ศาลจำต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญแม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อนก็ตามแต่หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ต่อไป โดยหวังว่ากิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 121 มาตรา 122และมาตรา 123 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว แต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสามก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: พิจารณาเหตุผลทางธุรกิจและความจำเป็นในการลดกำลังคน
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ศาลต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่ง การเลิกจ้างหรือไม่ และมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ เป็นสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อน หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงอยู่ต่อไป โดยหวังว่า กิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่ย่อม เป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ระเบียบข้อบังคับกำหนดว่า จำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไปโดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว ซึ่งหมายความว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย วันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงานนั้น เป็นกรณีที่จำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่ง อธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิ คิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: การกระทำที่เกินกว่าการช่วยเหลือเพื่อให้พ้นการจับกุม
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะพาจำเลยที่ 2 ผ่านหน้าบ้านผู้เสียหายไปประมาณ 300 เมตร แล้วจอดรถให้จำเลยที่ 2 กับพวกลงจากรถเดินย้อนกลับไปปล้นทรัพย์ที่บ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถอ้อมไปอีกทางไปจอดรถรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตรหลังจากจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้วได้มาขึ้นรถจำเลยที่ 1 ตามที่นัดแนะกันไว้ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถพาจำเลยที่ 2 กับพวกหลบหนีไป แต่ขณะจำเลยที่ 2 กับพวกทำการปล้นทรัพย์อยู่ที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างขับรถอ้อมมาและจอดรถห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 2 กับพวกได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายก่อนกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 86 เท่านั้น และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีอาวุธติดตัวไปด้วย จึงไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามป.อ.มาตรา 340 วรรคสองได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จึงเป็นเพียงการใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้นจำเลยที่ 1 มิได้เป็นการใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วยแม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จึงเป็นเพียงการใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้นจำเลยที่ 1 มิได้เป็นการใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วยแม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยที่ 1 ขับรถส่งจำเลยที่ 2 ไปปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาตัดสินว่ามีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิด
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะพาจำเลยที่ 2 ผ่านหน้าบ้านผู้เสียหายไปประมาณ 300 เมตร แล้วจอดรถให้จำเลยที่ 2กับพวกลงจากรถเดินย้อนกลับไปปล้นทรัพย์ที่บ้านผู้เสียหายส่วนจำเลยที่ 1 ขับรถอ้อมไปอีกทางไปจอดรถรอรับจำเลยที่ 2กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร หลังจากจำเลยที่ 2กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้วได้มาขึ้นรถจำเลยที่ 1ตามที่นัดแนะกันไว้ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถพาจำเลยที่ 2กับพวกหลบหนีไป แต่ขณะจำเลยที่ 2 กับพวกทำการปล้นทรัพย์อยู่ที่บ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างขับรถอ้อมมาและจอดรถห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตรจำเลยที่ 1 ไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 2 กับพวกได้จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายก่อนกระทำความผิด จำเลยที่ 1จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เท่านั้น และเมื่อจำเลยที่ 1ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีอาวุธติดตัวไปด้วย จึงไม่อาจ ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสองได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตาม มาตรา 340 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ1 กิโลเมตร จึงเป็นเพียงการใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้นจำเลยที่ 1 มิได้ใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วยแม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการสนับสนุนการปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำเลยที่ 1 เป็นผู้สนับสนุนฯ ลดบทลงโทษ
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะพาจำเลยที่ 2 ผ่านหน้าบ้านผู้เสียหายไปประมาณ 300 เมตร แล้วจอดรถให้จำเลยที่ 2 กับพวกลงจากรถเดินย้อนกลับไปปล้นทรัพย์ที่บ้านผู้เสียหาย ส่วน จำเลยที่ 1 ขับรถอ้อมไปอีกทางไปจอดรถรอรับจำเลยที่ 2 กับพวก ห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร หลังจากจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้วได้มาขึ้นรถจำเลยที่ 1 ตามที่ นัดแนะกันไว้ จากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถพาจำเลยที่ 2 กับพวก หลบหนีไปแต่ขณะจำเลยที่ 2 กับพวกทำการปล้นทรัพย์อยู่ที่ บ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างขับรถอ้อมมาและจอดรถห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร จำเลยที่ 1ไม่ได้อยู่ในวิสัยที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 2 กับพวกได้ จึง ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียง การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 2 กับพวกในการ ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายก่อนกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงมีความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เท่านั้น และเมื่อจำเลยที่ 1ไม่ทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกมีอาวุธติดตัวไปด้วย จึงไม่อาจ ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสองได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 เพียงขับรถมาส่งจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้าน ผู้เสียหายประมาณ 300 เมตร แล้วขับรถอ้อมไปจอดรอรับจำเลยที่ 2 กับพวกห่างบ้านผู้เสียหายทั้งสองประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเพียง การใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นการจับกุมเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ ใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดด้วย แม้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสีย ให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คมีอำนาจฟ้องคดีเช็คแม้จะนำเช็คเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีบุคคลอื่น การนำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างจากฟ้องไม่ถึงขนาดต้องยกฟ้อง
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้า บัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดย อาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินและเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็น ผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็คเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหายฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียก เก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็น เพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็น เหตุให้ศาลยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องคดีเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ แม้จะใช้บัญชีผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อเช็คถึงกำหนด แม้โจทก์จะนำเข้าบัญชีมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงการนำเช็คเข้าเรียกเก็บเงินโดยอาศัยบัญชีของมารดาแทนเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่มารดาโจทก์ โจทก์จึงยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้ การที่โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคารตามเช็ค เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ฉะนั้น ไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์เองเพื่อเรียกเก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าวจึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ทรงเช็คพิพาท: การนำเช็คเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีบุคคลอื่นไม่กระทบสิทธิการฟ้อง
การที่โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท นำเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินที่ธนาคาร แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย ซึ่งไม่ว่าโจทก์จะนำเช็คเข้าบัญชี ของโจทก์เองเพื่อเรียกเก็บเงิน หรือเข้าบัญชีของผู้อื่นเพื่อเรียกเก็บเงินแทนก็เป็นเพียงรายละเอียดในการนำเช็คเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเท่านั้น ข้อแตกต่างดังกล่าว จึงมิใช่แตกต่างในข้อสาระสำคัญอันจะเป็นเหตุ ให้ศาลยกฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ใช้ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่มีการฎีกาในประเด็นนี้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,8,15,66,67,97,102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,83,32,33 และมีคำขอให้ ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่า จะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการ ล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐาน จำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษ สถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติด: ศาลมีอำนาจริบได้ แม้ไม่ใช่โทษจำคุก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 67, 97, 102 ป.อ.มาตรา 91,83, 32, 33 และมีคำขอให้ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ ป.อ.มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย
ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ ป.อ.มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษสถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย