คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธนะพัฒน์ แจ่มจันทร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกความผิดครอบครองเพื่อจำหน่ายกับจำหน่ายยาเสพติด และการริบของกลางตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายกับการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนลักษณะของการกระทำ แตกต่างและต่างขั้นตอนกัน สามารถแยกการกระทำแต่ละอย่างต่างหากจากกันได้ ทั้งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ก็ไม่ได้นิยามความหมายของคำว่า จำหน่าย ให้มีความหมายรวมถึงการมีไว้ในครอบครองเพื่อ จำหน่ายด้วยแสดงว่าพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯมุ่งประสงค์จะลงโทษการมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษทั้งสองกรณีจึงเป็นความผิดสองกรรม โจทก์มีคำขอให้ริบของกลางคือธนบัตร จำนวน 500 บาทที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการล่อซื้อแต่ศาลล่างมิได้มีคำวินิจฉัยว่าจะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าวคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 และธนบัตรจำนวน 500 บาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ จึงต้องริบเสียตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญต่างกับโทษสถานอื่น ศาลฎีกาจึงมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ มิใช่เป็นการ เพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินที่ใช้ในความผิดยาเสพติด: ศาลฎีกายกประเด็นริบทรัพย์แม้ไม่ได้รับการฎีกา ชี้เป็นเรื่องความสงบเรียบร้อย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,7,8,15,66,67,97,102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,83,32,33 และมีคำขอให้ ริบของกลางคือธนบัตรที่จำเลยทั้งสองทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจ ผู้ทำการล่อซื้อด้วย แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้มีคำวินิจฉัยว่า จะริบหรือไม่ริบธนบัตรดังกล่าว คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับ ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225 ธนบัตรของกลางที่จำเลยทอนให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้ทำการ ล่อซื้อเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐาน จำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงต้องริบ ตามพระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 102 การริบทรัพย์สินนี้ แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จะบัญญัติว่าเป็นโทษสถานหนึ่ง แต่เป็นโทษที่มุ่งถึงตัวทรัพย์เป็นสำคัญ จึงต่างกับโทษ สถานอื่น ซึ่งบางกรณีแม้จำเลยจะไม่ได้กระทำผิดหรือกระทำผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ ดังนี้ ศาลจึงมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สิน ของกลางนี้ได้ มิใช่เป็นการเพิ่มโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีด การพยายามฆ่า และการป้องกันตัวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเข้ารัดคอผู้เสียหายด้านหลังขณะผู้เสียหายไม่รู้ตัว แล้วใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่มีอาวุธปืนติดตัว การกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและ ไม่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ จำเลยกับพวกมีถึง 4 คน ผู้เสียหายกับพวกมีเพียง 2 คนจำเลยรูปร่างสูงใหญ่กว่าผู้เสียหาย ได้ใช้อาวุธมีดปลายแหลมใบมีดยาว 8.5 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตรมีด้ามโค้งเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ยาว 7.5 เซนติเมตร แทงผู้เสียหายถึง 4 ครั้งที่ชายโครงขวา ชายโครงซ้าย แขนซ้าย และหน้าอกเหนือราวนมซ้าย โดยเฉพาะการแทงที่หน้าอกเหนือ ราวนมซ้ายนั้น จำเลยย่อมรู้ดีว่าที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของ อวัยวะสำคัญอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ จำเลยแทง ผู้เสียหายที่หน้าอกแรงกว่าที่แทงที่อื่น แสดงให้เห็นถึงเจตนา ของจำเลยว่าประสงค์ให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย เมื่อ ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายสมดังเจตนาของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
of 9