พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3763/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายแม้ผู้ขายไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ก็ผูกพันตามสัญญาได้ หากเจตนาซื้อขายจริง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ยอมตกลงทำสัญญาขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำไปให้ ส. เช่าซื้ออีกต่อหนึ่งนั้น เป็นวิธีการทำธุรกิจอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยที่ 1 และโจทก์เคยปฏิบัติต่อกันมาหลายครั้งแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์พิพาทขณะทำสัญญาซื้อขายรถยนต์คันดังกล่าว จำเลยที่ 1 ก็ต้องผูกพันตามสัญญาที่ได้แสดงเจตนาออกมานั้นจะอ้างว่าเป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับโจทก์เพื่อลวงหรือหลอกให้ผู้อื่นหลงผิดไม่ได้ เพราะผู้ขายไม่จำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินในขณะทำสัญญาซื้อขาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความยักยอกทรัพย์: ผู้เสียหายทราบความผิดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 การร้องทุกข์ล่าช้าทำให้คดีขาดอายุความ
การที่ผู้เสียหายมอบเงินจำนวน 250,000 บาท ให้จำเลยผู้เป็นสมุห์บัญชีธนาคารและเป็นเพื่อนบ้านไปฝากเข้าบัญชีของผู้เสียหายที่ธนาคารตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2536 แต่จำเลยก็ไม่นำเงินเข้าบัญชีให้ในวันนั้นหรือในวันรุ่งขึ้นแล้วผัดผ่อนเรื่อยมา ซึ่งอย่างช้าภายในเดือนสิงหาคม 2536 ผู้เสียหายก็ต้องทราบว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอกแล้ว ฉะนั้น การที่ ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 แต่ผู้เสียหายเพิ่งร้องทุกข์เมื่อวันที่6 กันยายน 2538 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 และเมื่อคดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อม ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) พนักงาน อัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาตัวแทน: การบังคับชำระค่าจ้างตามข้อตกลงและหลักฐาน
หนังสือเสนอราคาที่โจทก์มีไปถึงจำเลยถือเป็นคำเสนอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 ส่วนหนังสือแต่งตั้งและว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำเครื่องจักรไปส่งให้จำเลยที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังได้รับคำเสนอแล้ว แม้จะไม่ได้อ้างถึงหนังสือเสนอราคาแต่ก็มิได้มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยแต่อย่างใดจึงย่อมเป็นคำสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง และเมื่อคำบอกกล่าวสนองของจำเลยไปถึงโจทก์ผู้เสนอแล้วย่อมเป็นสัญญาขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 361 วรรคแรก ในสัญญาตัวแทน ตัวการและตัวแทนมักมีความเกี่ยวพันกันเป็นส่วนตัวหรือหน้าที่การงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 803 จึงวางหลักไว้ว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกิจการที่ตนทำไปแทนตัวการ แต่สำหรับสัญญาจ้างทำของนั้น มีอยู่เสมอที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมิได้รู้จักผูกพันกันมาก่อนเหตุที่ทำสัญญากันก็เนื่องมาจากผู้ว่าจ้างต้องการผลสำเร็จของงานซึ่งผู้รับจ้างมีความถนัดและมักประกอบเป็นอาชีพโดยหวังสินจ้างเป็นสำคัญอันเป็นเรื่องของธุรกิจการค้าการบริการ โจทก์และจำเลยไม่รู้จักเกี่ยวพันกันมาก่อนต่างเป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการค้าการให้บริการโดยมุ่งหวังผลกำไร สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยสละสิทธิและสัญญาประนีประนอมยอมความ มิอาจฟ้องร้องขอแบ่งมรดกเพิ่มเติมได้
++ เรื่อง มรดก
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 124 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 124 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยข้อตกลง: สละสิทธิ vs. สัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อความในหนังสือสละมรดกที่ ถ. และโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขว่าต้องสร้างอนุสรณ์สำหรับฝังอัฐิ ฮ. ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่และเจาะจงให้ที่ดินที่เหลือตกแก่ ส.และจำเลยที่1โดยเฉพาะนั้นไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612 และ 1613 เพราะการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเจตนาให้มรดกนั้นตกได้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่งไม่ได้ แต่หลังจาก ฮ. ตายแล้วทายาทของ ฮ. ได้เจรจาตกลงกันโดยทำบันทึกข้อตกลงว่าที่ดินของ ฮ. 2 แปลง ถ. มารดาโจทก์ตกลงเอาไว้เป็นของตนก็เพื่อเป็นหลักฐานว่า ถ. และโจทก์สละสิทธิในที่ดินพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 1750 โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3510/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่ได้รับความยินยอมจากทายาท การโอนมรดกไม่เป็นการฉ้อฉล
ข. เป็นภริยาของ ส. ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โดยโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ส. มิได้คัดค้าน เนื่องจากก่อนที่ ส. ถึงแก่ความตาย ส. ได้แบ่งทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่แล้ว ทั้งปรากฏว่าก่อนมีการโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 19475 ให้แก่จำเลยที่ 2 และโอนโฉนดเลขที่ 13685 ให้แก่ ข. และต่อมา ข. โอนขายแก่จำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้แจ้งให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของ ส. และทายาทอื่นของ ส. ทราบแล้ว โดยไม่มีทายาทคนใดโต้แย้ง เมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้เห็นยินยอมในการทำนิติกรรมจัดการมรดกของจำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันในการที่จำเลยที่ 1 กระทำนิติกรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับสภาพหนี้เกินมูลหนี้จริง บังคับได้เฉพาะมูลหนี้ที่มีอยู่จริง
จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์สำหรับหนี้จำนวนอื่นที่เกินกว่ามูลหนี้ที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ แม้จำเลยรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นการรับสภาพหนี้ที่เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง ย่อมมีผลบังคับแก่กันได้เฉพาะหนี้ที่มีอยู่จริงเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3485/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการรับสภาพหนี้: รับผิดเฉพาะมูลหนี้จริง
จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์สำหรับหนี้จำนวนอื่นที่เกินกว่ามูลหนี้ที่ปรากฏในหนังสือรับสภาพหนี้ แม้จำเลยรับจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็เป็นการรับสภาพหนี้ที่เกินกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง ย่อมมีผลบังคับแก่กันได้เฉพาะหนี้ที่มีอยู่จริงเท่านั้น จำเลยจึงต้องรับผิดตามจำนวนหนี้ที่มีอยู่จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคำร้องขัดทรัพย์และการทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องขัดทรัพย์เป็นเสมือนหนึ่งคำฟ้องโดยผู้ร้องมีฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์มีฐานะเป็นจำเลย คำร้องขัดทรัพย์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์แล้วมีคำสั่งว่าทรัพย์สินตามคำร้องขัดทรัพย์ยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ยกคำร้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับโดยลงชื่อผู้พิพากษา 2 คน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) แล้วหากผู้ร้องไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นผู้ร้องย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องด้วย ถ้าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์เป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น ผู้อุทธรณ์ก็ต้องเสียตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเช่นเดียวกับในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่งศาลจะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดต่อเมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องหรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกาโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกาแต่คดีนี้ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาดังกล่าวมาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และ161 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับหรือไม่รับฎีกา: ความถูกต้องตามขั้นตอนและอำนาจศาล
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสาม