พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาของผู้มีจิตบำบัด: ศาลต้องตรวจสอบสภาพจิตจำเลยก่อนพิพากษา
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลอาจสังเกตเห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเองหรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริงให้ศาลทราบก็ได้ ในวันที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นธ. น้องจำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมใบตรวจโรคของแพทย์โรงพยาบาลว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท มีอาการระแวงพูดจาวกวน จำเลยเป็นผู้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลมาตั้งแต่พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลรับตัวจำเลยไว้รักษารวม 4 ครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2540 และหลังเกิดเหตุคดีนี้เพียง 3 วัน โรงพยาบาล ก็ได้รับตัวจำเลยไว้รักษาอีกครั้งหนึ่งครั้งนี้จำเลยมีอาการ หงุดหงิด ง่าย พูดและยิ้มคนเดียว โรงพยาบาลจำต้องดูแลรักษา ต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้อาการกำเริบยิ่งขึ้น ตามใบตรวจโรคของแพทย์เอกสารท้ายฎีกา ดังนี้เมื่อกรณี มีเหตุควรเชื่อในเบื้องต้นว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและ ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ศาลจึงชอบที่จะสั่งให้แพทย์ตรวจจำเลย โดยละเอียด แล้วเรียกแพทย์ผู้ตรวจมาให้ถ้อยคำต่อศาลหรือ มาให้การว่าตรวจได้ผลประการใดคือวิกลจริตถึงขนาดไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่เสียก่อน แล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้อง ของ ธ.น้องจำเลยจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและ พิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อน จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและ ศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้และศาลฎีกามีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ ให้ถูกต้องต่อไปได้และให้ศาลชั้นต้นส่งตัวจำเลยไปให้แพทย์ โรงพยาบาลตามที่ระบุในคำร้อง ของ ธ. หรือโรงพยาบาลอื่นที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรตรวจสภาพจิต และเรียกแพทย์ผู้ตรวจ จำเลยมาให้ถ้อยคำหรือให้การต่อศาลว่าตรวจได้ผลประการใด แล้วดำเนินการพิจารณาพิพากษาไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาของผู้ป่วยทางจิต: ขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14
ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลย เป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้นั้น อาจเป็นเพราะ ศาลสังเกตเห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอ ข้อเท็จจริงให้ศาลทราบก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มิได้พิจารณาคำร้องของธ.น้องจำเลยที่อ้างว่าจำเลยวิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ของศาลชั้นต้น จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณา และพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 ก่อนไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และศาลฎีกามีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 208(2) ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยบันดาลโทสะ: พิจารณาจากเหตุการณ์ก่อนหลังและพฤติการณ์การกระทำ
การที่จำเลยเดินเข้าไปหาโจทก์ร่วมโดยถือมีดไปด้วย แล้วใช้มีดเป็นอาวุธแทงและฟันทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม น่าจะเป็นเพราะจำเลยโกรธที่โจทก์ร่วมพาน้องสาวจำเลย ไปนอนค้างที่อื่น และขอเลื่อนการแต่งงานออกไปจากวันที่ กำหนดไว้เดิมมากกว่าเหตุอื่นการกระทำของจำเลยจึงมิใช่ การกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 จำเลยใช้มีดขนาดใหญ่เป็นอาวุธแทงและฟันโจทก์ร่วมโดยอุกอาจเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสเส้นเลือดใหญ่และเส้นเอ็น ที่ข้อมือขวาฉีกขาด หลังเกิดเหตุจำเลยหลบหนีไปถึง 2 ปีเศษ จึงเข้ามอบตัวสู้คดี ไม่มีเหตุรอการลงโทษให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการส่งประเด็นไปสืบต่างศาล และข้อจำกัดระยะเวลาคัดค้านการพิจารณาคดี
บัญชีระบุพยานโจทก์ได้ระบุอ้างพ. เป็นพยานประเด็นไว้แล้วในการขออนุญาตส่งประเด็นไปสืบพ.ที่ศาลแพ่งทนายโจทก์แถลงว่า หากพยานย้ายไปอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่นขอให้ศาลแพ่งช่วยส่งประเด็นต่อไปสืบให้ด้วย ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นตั้งให้ศาลแพ่งสืบพยานหลักฐานแทนนั้น ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจที่จะตั้งศาลชั้นต้นอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปได้ด้วย หากปรากฏว่าพ.ได้ย้ายไปประจำที่โรงพยาบาลในศาลชั้นต้นนั้นแล้ว ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 102 วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานให้เป็นที่ยุ่งยากเสียเวลาอีก ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความต้องยกขึ้นกล่าว ไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์ อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้าน เมื่อล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งพยานหลักฐานข้ามเขตอำนาจศาล และข้อจำกัดระยะเวลาในการคัดค้าน
บัญชีระบุพยานโจทก์ได้ระบุอ้าง พ.เป็นพยานประเด็นไว้แล้วในการขออนุญาตส่งประเด็นไปสืบ พ.ที่ศาลแพ่ง ทนายโจทก์แถลงว่า หากพยานย้ายไปอยู่ในเขตอำนาจศาลอื่น ขอให้ศาลแพ่งช่วยส่งประเด็นต่อไปสืบให้ด้วย ทนายจำเลยแถลงไม่คัดค้าน การที่ศาลชั้นต้นตั้งให้ศาลแพ่งสืบพยานหลักฐานแทนนั้น ศาลแพ่งย่อมมีอำนาจที่จะตั้งศาลชั้นต้นอื่นให้ทำการสืบพยานหลักฐานแทนต่อไปได้ด้วย หากปรากฏว่าพ.ได้ย้ายไปประจำที่โรงพยาบาลในศาลชั้นต้นนั้นแล้ว ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 102วรรคสอง โดยโจทก์ไม่ต้องแก้ไขบัญชีระบุพยานให้เป็นที่ยุ่งยากเสียเวลาอีก
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อปรากฎว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้วศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
ข้อค้านเรื่องผิดระเบียบ คู่ความต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น เมื่อปรากฎว่าจำเลยยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จำเลยอาจจะยกขึ้นว่ากล่าวได้เสียแล้วศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินหลังสัญญาซื้อขาย-อายุความมรดก: สิทธิยังไม่โอน-ขาดอายุความฟ้อง
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ ซึ่งเพิ่มเติมโดยข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96(พ.ศ. 2515) บัญญัติว่า "นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่"เมื่อหนังสือสัญญาการซื้อขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ระหว่างโจทก์และ ผ. ทำขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 และมีบันทึกที่ด้านหลังของเอกสารว่า โจทก์และ ผ. นัดจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2520 หากผู้ขายบิดพลิ้วประการใดประการหนึ่ง ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อปรับสามเท่าของราคาหลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์ได้ติดต่อ ผ. เพื่อขอรับโอนที่ดินพิพาท แต่ ผ. แจ้งว่ายังไม่พร้อม หลังจากที่ ผ. เสียชีวิต โจทก์ไปติดต่อ จ. ภริยาของ ผ. จ. แจ้งว่าจะโอนให้ภายหลัง ดังนี้หนังสือสัญญาที่โจทก์และ ผ. ทำขึ้นจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายและคู่สัญญามุ่งถึงการจดทะเบียนเป็นสำคัญในการโอนสิทธิครอบครอง ตราบใดที่โจทก์และ ผ. ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกัน การครอบครองที่ดินตามหนังสือสัญญาการซื้อขายของโจทก์ก็ย่อมเป็นการครอบครองแทน ผ. ผู้ขายอยู่ตราบนั้น เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ ผ. และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกฟ้องร้องภายในหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีของโจทก์ย่อมเป็นอันขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน & อายุความฟ้องคดีมรดก: สิทธิครอบครองยังไม่โอน การฟ้องข้ามปีขาดอายุความ
หนังสือสัญญาการซื้อขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ระหว่างโจทก์และ ผ. ทำขึ้น เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2520 มีบันทึกที่ด้านหลังของเอกสารว่าโจทก์และ ผ. นัดจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในวันที่ 2 มิถุนายน 2520 หากผู้ขายบิดพลิ้ว ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อปรับสามเท่าของราคา หลังจากทำสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์ได้ติดต่อ ผ. เพื่อขอรับโอนที่ดินพิพาท แต่ ผ. แจ้งว่ายังไม่พร้อม หลังจากที่ ผ. เสียชีวิต โจทก์ไปติดต่อ จ. ภริยาของ ผ. จ. แจ้งว่าจะโอนให้ภายหลัง ดังนี้หนังสือสัญญาที่โจทก์และ ผ. ทำขึ้นจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายและคู่สัญญามุ่งถึงการจดทะเบียนเป็นสำคัญในการโอนสิทธิครอบครอง ตราบใดที่โจทก์และ ผ. ยังไม่ได้ไปจดทะเบียนโอนกัน การครอบครองที่ดินตามหนังสือสัญญาการซื้อขายของโจทก์ก็ย่อมเป็นการครอบครองแทน ผ. ผู้ขายอยู่ตราบนั้น
เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ ผ. และ ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกฟ้องร้องภายในหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีของโจทก์ย่อมเป็นอันขาดอายคุวาม
เมื่อ ผ. ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทของ ผ. และ ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติให้เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดกฟ้องร้องภายในหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องร้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว คดีของโจทก์ย่อมเป็นอันขาดอายคุวาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2042/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการต้องรับผิดเสมือนตัวแทนเมื่อเชิดบริษัทเพื่อกระทำการทางสัญญา และศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท อ. ทำการก่อสร้างบ้าน โดยจ้างบริษัท ค. จัดซื้อและคัดเลือกวัสดุก่อสร้าง และ จ้างจำเลยที่ 1 ควบคุมการปลูกสร้างบ้านหลังดังกล่าว โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดให้โจทก์ทำสัญญากับบริษัท อ. และ บริษัท ค. ทั้งที่โจทก์ ไม่รู้จักบริษัททั้งสอง จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการให้โจทก์ทำสัญญาดังกล่าวและเป็นผู้รับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาจากโจทก์ พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดบริษัททั้งสองแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบริษัททั้งสองเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่และคดีขาดอายุความหรือไม่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นนี้ไว้ในคำพิพากษาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยมิได้กล่าวอ้างปัญหาทั้งสองข้อนี้ไว้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่และคดีขาดอายุความหรือไม่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยทั้งสองประเด็นนี้ไว้ในคำพิพากษาและพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์และจำเลยที่ 1 ยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยมิได้กล่าวอ้างปัญหาทั้งสองข้อนี้ไว้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นจึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2036/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาดูแลความปลอดภัยมีผลผูกพัน แม้จะยังมิได้ทำเป็นหนังสือ หากมีการปฏิบัติการตามสัญญาแล้ว
จำเลยเสนอราคาค่าจ้างเหมาดูแลรักษาความปลอดภัยตัวทรัพย์สินบริเวณอาคารที่พักข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยตอบตกลงสนองรับราคาตามรายละเอียด และเงื่อนไขการจ้างที่จำเลยเสนอและให้จำเลยไปลงนามใน สัญญากับโจทก์พร้อมทั้งให้หาหลักประกันเป็นหนังสือมา ค้ำประกันด้วย แสดงว่าโจทก์และจำเลยมีเจตนาว่าสัญญา อันมุ่งจะทำต่อกันนั้นต้องทำเป็นหนังสือ แต่ก่อนที่ทั้งสองฝ่าย จะทำสัญญาเป็นหนังสือ มีเหตุการณ์จำเป็นโจทก์จำเลย จึงตกลงให้จำเลยส่งพนักงานของจำเลยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ดูแลรักษาความปลอดภัยในอาคารที่พักข้าราชการกระทรวงยุติธรรม และจำเลยได้ส่งพนักงานของจำเลยเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ในอาคารดังกล่าวตามข้อตกลงแล้ว ดังนี้ เท่ากับว่าโจทก์ และจำเลยได้ตกลงกันใหม่โดยผ่อนผันไม่ต้องทำสัญญาเป็น หนังสือต่อกันเป็นการชั่วคราว และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมาย บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะจึงถือได้ว่า โจทก์และจำเลยมีสัญญาต่อกันแล้ว โดยมีข้อตกลงตามคำเสนอ และเงื่อนไขการจ้างเดิม ดังนั้น เมื่อพนักงานของจำเลย ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินภายในอาคารที่พัก ได้ตามสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามเงื่อนไขการจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการมอบอำนาจทำสัญญาจำนอง: จำเลยไม่ต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจ ถือว่ายอมรับ
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ ให้การต่อสู้ว่า การมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนอง ไม่ถูกต้อง หรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนอง แทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า การทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียน ในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้อง นำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาลและในการสืบพยานของโจทก์โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนอง แทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ใน การทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์ จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94