คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวเลิศ โสภณวัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องและผลของการนำสืบพยานเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจในคดีจำนอง
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนองไม่ถูกต้อง หรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองแทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า การทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาล และในการสืบพยานของโจทก์ โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์จึงไม่ได้ขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับข้อเท็จจริงโดยการไม่ต่อสู้คดี ทำให้ไม่ต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดง
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนองไม่ถูกต้องหรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองแทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าการทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาล และในการสืบพยานของโจทก์โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์จึงไม่ได้ขัด ต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย
++ เรื่อง ประกันภัย ละเมิด รับช่วงสิทธิ
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 53 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1955/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของตัวการจากความยินยอมของตัวแทน แม้มีระเบียบภายใน
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากส.เจ้าหน้าที่วิทยาลัยการปกครอง ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะมีระเบียบว่าด้วยการใช้ รถยนต์เป็นประการใดก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาใช้ยันโจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในผลแห่ง ละเมิดนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ เอาประกันภัยที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดแล้วจึงรับช่วงสิทธิ มาเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดในค่านายหน้าและการแบ่งผลประโยชน์ของกลุ่มนายหน้า
++ เรื่อง นายหน้า ++
++ ตามพยานเอกสารและข้อนำสืบของจำเลยรับฟังได้ว่า การเป็นนายหน้าคงมีแต่โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 และบุคคลอื่นร่วมกันทำการเป็นนายหน้าเท่านั้น โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าแต่อย่างใด ลักษณะการทำงานและการแบ่งผลประโยชน์กันของกลุ่มนายหน้า เป็นการแบ่งหน้าที่กันทำงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกัน ทั้งผลประโยชน์ที่จะได้จากการทำการเป็นนายหน้าก็ตกลงเป็นอัตราส่วนของยอดเงินที่ได้รับมา แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ในฐานะผู้ว่าจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงรับผิดชำระส่วนแบ่งค่านายหน้าให้โจทก์ที่ 2 ตามส่วนที่ตกลงจากยอดเงินที่จำเลยที่ 2 รับมาจากกลุ่มบริษัท ฮ. เท่านั้น หาใช่ต้องรับผิดชำระส่วนแบ่งจากยอดเงินร้อยละ 1 ของมูลค่าตามสัญญาไม่ และเมื่อข้อนำสืบของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเงินค่านายหน้าที่จำเลยที่ 2 รับมาทั้งหมดมีการแบ่งให้กลุ่มนายหน้า ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 2 ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่านายหน้าให้โจทก์ทั้งสองอีก ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายหน้าและลักษณะการแบ่งผลประโยชน์ในงานนายหน้า
ตามพยานเอกสารและข้อนำสืบของจำเลยรับฟังได้ว่า การเป็น นายหน้าคงมีแต่โจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 2 และบุคคลอื่นร่วมกัน ทำการเป็นนายหน้าเท่านั้น โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับการเป็นนายหน้าแต่อย่างใด ลักษณะการทำงานและ การแบ่งผลประโยชน์กันของกลุ่มนายหน้า เป็นการแบ่งหน้าที่ กันทำงานในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกัน ทั้งผลประโยชน์ที่จะได้ จากการทำการเป็นนายหน้าก็ตกลงเป็นอัตราส่วนของยอดเงิน ที่ได้รับมา แม้โจทก์ที่ 2 จะไม่มีนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ก็รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการเป็น นายหน้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ในฐานะ ผู้ว่าจ้าง และเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ที่ 2 ให้ทำการ เป็นนายหน้า จำเลยที่ 2 จึงรับผิดชำระส่วนแบ่งค่านายหน้า ให้โจทก์ที่ 2 ตามส่วนที่ตกลงจากยอดเงินที่จำเลยที่ 2 รับมาจาก กลุ่มบริษัท ฮ. เท่านั้น หาใช่ต้องรับผิดชำระส่วนแบ่งจากยอดเงินร้อยละ 1 ของมูลค่าตามสัญญาไม่ และเมื่อข้อนำสืบ ของจำเลยมีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าเงินค่านายหน้าที่จำเลยที่ 2 รับมาทั้งหมดมีการแบ่งให้กลุ่มนายหน้า ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ 2 ครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่านายหน้า ให้โจทก์ทั้งสองอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: การตีความทางกฎหมายและขอบเขตความผิดฐานลักทรัพย์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(10) วรรคสาม จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริง คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 334 ไม่ผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (10) วรรคสาม จำเลยฎีกาฝ่ายเดียว ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ ปัญหาข้อนี้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้วว่าจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้จริงคำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอธิบายว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในสายลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทางที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2541)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(10) วรรคสามปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หรือไม่ แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 สัญญาณโทรศัพท์เป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจำเลยลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งอยู่ ในความครอบครองขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักสัญญาณโทรศัพท์เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์ การพิจารณาโทษและการรอการลงโทษ
คำว่า "โทรศัพท์" สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนอธิบายว่าโทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การที่จำเลย ลักเอาสัญญาณโทรศัพท์จากตู้โทรศัพท์แห่งประเทศไทยไปใช้ เพื่อประโยชน์ของจำเลยโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เช่นเดียวกับการลักกระแสไฟฟ้า จำเลยเป็นนักศึกษา อายุยังน้อย ประกอบกับได้ บรรเทาผลร้ายโดยชดใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายไปแล้วและเพิ่ง กระทำความผิดครั้งนี้เป็นครั้งแรกจึงเห็นควรให้รอการลงโทษ จำเลยไว้ แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำเห็นสมควรลงโทษปรับด้วย
of 10