คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวเลิศ โสภณวัต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้จ่ายเงินบำเหน็จผู้นำจับต้องอาศัยระเบียบของรัฐมนตรี โจทก์ต้องแนบระเบียบดังกล่าวต่อศาล
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490มาตรา 71 การที่ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้อง พิจารณาจากระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดขึ้นระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง รัฐมนตรีได้ออกระเบียบไว้หรือไม่มีเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จไว้อย่างไร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบศาลจึงไม่อาจที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษทางอาญาแก่จำเลย เพราะหากจำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ให้บังคับชำระเช่นเดียวกับการบังคับชำระค่าปรับในคดีอาญาโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบ ระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ตามมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499ปัญหาเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลย่อมยกขึ้นมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จขึ้นมาพิพากษา จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบกพร่องคำฟ้องคดีอาญา: จำเป็นต้องแนบระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอเงินบำเหน็จ
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 71การที่ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้องพิจารณาจากระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดขึ้นระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง รัฐมนตรีได้ออกระเบียบไว้หรือไม่ มีเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จไว้อย่างไร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบ ศาลจึงไม่อาจที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษทางอาญาแก่จำเลย เพราะหากจำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ให้บังคับชำระเช่นเดียวกับการบังคับชำระค่าปรับในคดีอาญาโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 ปัญหาเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลย่อมยกขึ้นมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จขึ้นมาพิพากษา จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องคดีอาญาต้องระบุข้อเท็จจริงตามกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินบำเหน็จ
ตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติการประมงฯ มาตรา 71 บัญญัติ ให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ แก่ผู้นำจับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด การที่ศาลจะสั่งให้ จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้องพิจารณาจากระเบียบที่ รัฐมนตรีกำหนดขึ้นและระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมา ศาลจึงไม่อาจพิพากษา ให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะ พิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษ ทางอาญาแก่จำเลยและระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 การที่ศาลอุทธรณ์ยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จตาม พระราชบัญญัติการประมงฯ มาตรา 71 ขึ้นมาพิพากษามิใช่ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง หากแต่ เป็นการยกเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินก่อนโฉนด: ข้อจำกัดการโอนตาม ป.ที่ดิน ไม่ห้ามการแบ่งแยกที่ดินให้เจ้าของสิทธิเดิม
สัญญาแบ่งมรดกที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทำขึ้นก่อนมีโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ก่อนมีโฉนดที่ดิน แม้ที่ดินโฉนดที่พิพาทมีข้อความระบุว่าห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะไม่ใช่กรณีที่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินแก่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดกก่อนมีโฉนด: สัญญาแบ่งมรดกมีผลผูกพัน แม้มีข้อจำกัดการโอนในโฉนด
สัญญาแบ่งมรดกที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยทำขึ้นก่อนมีโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทย่อมตกเป็นสิทธิของโจทก์ก่อนมีโฉนดที่ดิน แม้ที่ดินโฉนดที่พิพาทมีข้อความระบุว่าห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิก็ตาม กรณีก็ไม่ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินเฉพาะส่วนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 58 ทวิ วรรคห้า เพราะไม่ใช่กรณีที่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโอนที่ดินให้แก่ผู้อื่น แต่เป็นการฟ้องขอให้จำเลยโอนที่ดินแก่เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีใบมอบฉันทะ และการพิพากษายกฟ้องที่ไม่ถูกต้อง
พนักงานอัยการโจทก์มอบคำฟ้องให้เจ้าหน้าที่ สำนักงานอัยการมายื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประกาศเรียกโจทก์ และให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์แจ้งให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถามแล้ว แต่โจทก์ไม่มา เมื่อไม่ปรากฏว่าที่ศาลชั้นต้นนัดให้โจทก์ มาศาลเพื่อสอบถามเป็นเรื่องอะไร จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ ไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 และ 181 ไม่ได้ โจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และศาลฎีกาพิพากษา แก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่แจ้งนัดพิจารณาคดี ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง
พนักงานอัยการโจทก์มอบคำฟ้องให้เจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการมายื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นประกาศเรียกโจทก์และให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์แจ้งให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถามแล้ว แต่โจทก์ไม่มา เมื่อไม่ปรากฏว่าที่ศาลชั้นต้นนัดให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถามเป็นเรื่องอะไร จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 166 และ 181 ไม่ได้
โจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ป.วิ.พ.มาตรา 64 ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 และศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นสั่งไม่รับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการพิจารณาคดีโดยไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นนัดให้โจทก์มาศาลเพื่อสอบถาม ไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องอะไร จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดสืบพยานโจทก์ ศาลจะพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166 และ 181 ไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโจทก์มายื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นโดยไม่มีใบมอบฉันทะตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 64 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 การยื่นคำฟ้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลชั้นต้นจะสั่งประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาไม่ได้ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาล, การฟ้องหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์, และการพิสูจน์ความเสียหาย
ความผิดฐานหมิ่นประมาทที่กระทำโดยการโฆษณาทาง หนังสือพิมพ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ย่อมเป็น ความผิดสำเร็จเมื่อมีการวางจำหน่ายหนังสือพิมพ์ และท้องที่ ที่ความผิดเกิดขึ้นย่อมได้แก่ท้องที่ทุกท้องที่ที่วางจำหน่าย หนังสือพิมพ์ฉบับนั้น หาใช่จำกัดเฉพาะท้องที่ที่โจทก์ ได้อ่านหนังสือพิมพ์และทราบการกระทำความผิดไม่ คดีทั้งสามสำนวนนี้ คู่ความทั้งหมดเป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งการพิจารณาคดีเหล่านั้นถ้าได้รวมกันแล้วจะเป็นการสะดวก เมื่อโจทก์มีคำขอให้พิจารณาคดีรวมกันศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีเหล่านั้นเกี่ยวเนื่องกันและมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีเหล่านั้นรวมกันแล้ว ข้อเท็จจริงใดที่ได้จากการพิจารณา จึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสามสำนวนการฟังพยานหลักฐาน ก็ต้องฟังรวมกันไปทั้งสามสำนวนประดุจเป็นคดีเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28 วรรคแรกประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15หาใช่แยกฟังเป็นรายสำนวนไม่ จำเลยลงพิมพ์โฆษณาใส่ความโจทก์ในหนังสือพิมพ์ ด.ฉบับที่ 153,154 และ 156 โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายของผู้ที่ตกเป็นข่าว หลังจากที่โจทก์ทราบข่าวที่จำเลยเสนอในฉบับที่ 153 แล้ว ธนาคาร ก. ได้ออกแถลงการณ์2 ฉบับ ยืนยันว่าไม่ได้ไล่โจทก์ออกและโจทก์ไม่มีพฤติการณ์เสื่อมเสียในการทำงาน แต่ได้ปฏิบัติงานด้วยความวิริยะอุตสาหะตลอดมา แต่จำเลยก็ยังลงข่าวในฉบับที่ 154 ว่า แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นแถลงการณ์ปลอม และยังคงยืนยันใส่ความโจทก์เพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้ จำเลยไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้แน่นอนก่อนที่จะพิมพ์โฆษณาข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข่าวเสียก่อน โดยมุ่งแต่จะจำหน่ายหนังสือพิมพ์ให้ได้จำนวนมากเป็นสำคัญ ข้อความที่จำเลยลงพิมพ์โฆษณาตามฟ้อง จึงเป็น ข้อความที่จำเลยมิได้แสดงโดยสุจริต การกระทำของจำเลย จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ที่จะไม่มีความผิด และไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 330 วรรคแรก ที่จะไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด: การพิจารณาปริมาณ, เจตนา, และคำรับสารภาพของผู้ต้องหา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้การรับสารภาพ และคดีนี้มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยย่อมฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติว่า "การผลิต นำเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณ เป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย" จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน50 เม็ด น้ำหนักรวม 4.12 กรัม จำเลยจึงน่าจะมีความผิดเพียงฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้นได้
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง ในปริมาณซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20กรัม ขึ้นไป เป็นปริมาณที่มาก จนกระทั่งกฎหมายเห็นว่า การผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองในปริมาณดังกล่าวผู้กระทำน่าจะมีเจตนามิใช่เพื่อการใช้อย่างปกติทั่วไปคือเพื่อเสพ แต่น่าจะมีเจตนาพิเศษคือเพื่อจำหน่าย กฎหมายจึงสันนิษฐานโดยให้ถือว่าการกระทำในปริมาณดังกล่าวเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อจำหน่าย
แม้จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในความครอบครองเพียง 4.12กรัม ทั้งมิได้คำนวณเป็นปริมาณสารบริสุทธิ์ จะไม่เข้าข้อสันนิษฐานของบทกฎหมายที่ว่าจำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นเพราะจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนมากถึง 50 เม็ด และมีพฤติการณ์ว่าน่าจะมีไว้เพื่อจำหน่าย ในชั้นสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยเพิ่มเติมว่ามียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำเลยให้การรับสารภาพ และในชั้นพิจารณาของศาลจำเลยก็ให้การรับสารภาพเช่นเดิมอีก เมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้วเชื่อว่าจำเลยมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจริง จึงได้ลงโทษตามพยานหลักฐานที่พิจารณาได้ความเช่นนี้ ศาลล่างทั้งสองหาได้ลงโทษโดยนำข้อสันนิษฐานของกฎหมายมาปรับใช้ไม่ ดังนี้ คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว
of 10