พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพาทเปิดทางภารจำยอม รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง คดีใหม่ยกเหตุเดิม ศาลฎีกายืนฟ้องซ้ำ
คดีก่อนจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยให้เปิดทางภารจำยอมและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์ออกไปให้มีขนาดกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร ตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนไว้เนื่องจากผู้เช่าช่วงที่ดินจาก ย. ซึ่งเช่าที่ดินของโจทก์ได้ทำการรอนสิทธิภารจำยอม ทำให้ใช้ประโยชน์ได้เพียงกว้าง 3 เมตรโจทก์ให้การว่า จำเลยใช้ทางกว้างเพียง 3 เมตร เกิน 10 ปีแล้วภารจำยอมในส่วนที่เกินกว่านั้นเป็นอันขาดอายุความ ประเด็นจึงมีว่าโจทก์ต้องเปิดทางภารจำยอมให้กว้าง 8 เมตร หรือไม่ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เหตุที่โจทก์ไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภารจำยอมเพราะการรอนสิทธิ มิใช่โจทก์ไม่ประสงค์จะใช้ภารจำยอมจึงไม่ได้สิ้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่า จำเลยไม่ได้ใช้ภารจำยอมเต็มตามสิทธิ คงใช้กว้างเพียง 3 เมตรเป็นการอ้างเหตุอย่างเดียวกันและที่อ้างอีกว่าจำเลยไม่มีความจำเป็นใช้ภารจำยอมเนื่องจากมีทางอื่นเดินก็เป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ให้การในคดีก่อน แต่หาได้ยกขึ้นไม่ ส่วนที่โจทก์เสนอชดใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยมาด้วยนั้นจะวินิจฉัยได้ต่อเมื่อได้วินิจฉัยว่า โจทก์ต้องเปิดทางภารจำยอมให้มีขนาดกว้าง8 เมตร หรือไม่ก่อน คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีภาระจำยอมที่ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว การฟ้องร้องประเด็นเดิมจึงเป็นฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
โจทก์และจำเลยในคดีนี้ต่างเป็นจำเลยและโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นคู่ความเดียวกัน คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ให้เปิดทางภาระจำยอมและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนที่ดินและใต้พื้นดินออกไปเสียจากบริเวณภาระจำยอมให้มีขนาดกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร ตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้ และปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบตามเดิม โจทก์ให้การว่าจำเลยใช้ทางภาระจำยอมเดินเข้าออกกว้างเพียง 3 เมตร ลึก 30 เมตร ตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว หากจำเลยจะมีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมก็ไม่ควรกว้างเกิน 3 เมตร ลึก 30 เมตร สิทธิเรียกร้องภาระจำยอมในส่วนที่เกินกว่าความกว้าง 3 เมตร ลึก 30 เมตร จึงเป็นอันขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ประเด็นสำคัญแห่งคดีก่อนจึงมีว่า โจทก์ต้องเปิดทางภาระจำยอมให้มีความกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร ตามที่จดทะเบียนต่อเจ้านักงานที่ดินไว้หรือไม่ คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เหตุที่จำเลยไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภาระจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ มิใช่เพราะจำเลยไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภาระจำยอม ภาระจำยอมส่วนที่เกินความกว้าง 3 เมตร ลึก 30 เมตร จึงหาได้สิ้นไปไม่ พิพากษาให้โจทก์และบริวารเปิดทางภาระจำยอมและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนพื้นดินและใต้ดินออกไปจากบริเวณภาระจำยอมให้มีขนาดกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร และปรับสภาพพื้นดินให้เรียบตามเดิม คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนและต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวอันถึงที่สุดมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นคดีนี้ โดยอ้างเหตุว่านับแต่วันที่จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากภาระจำยอมเต็มตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้ โดยจำเลยคงใช้ประโยชน์จากภาระจำยอม กว้างเพียง 3 เมตร ลึก 30 เมตร เท่านั้น เป็นการอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวข้างต้น และที่โจทก์อ้างเหตุอีกว่าจำเลยไม่มีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ภาระจำยอม เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ติดกันอยู่ก่อนและมีทางอื่นเดินเข้าออกอีก 2 ทาง นั้น ก็เป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำให้การในคดีก่อนแล้ว ดังนั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนและต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวอันถึงที่สุดมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นคดีนี้ โดยอ้างเหตุว่านับแต่วันที่จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากภาระจำยอมเต็มตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้ โดยจำเลยคงใช้ประโยชน์จากภาระจำยอม กว้างเพียง 3 เมตร ลึก 30 เมตร เท่านั้น เป็นการอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวข้างต้น และที่โจทก์อ้างเหตุอีกว่าจำเลยไม่มีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ภาระจำยอม เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ติดกันอยู่ก่อนและมีทางอื่นเดินเข้าออกอีก 2 ทาง นั้น ก็เป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำให้การในคดีก่อนแล้ว ดังนั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1762/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันทายผลฟุตบอล: ความผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน และอำนาจศาลในการแก้ไขฐานความผิด
การเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ต้องมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบซึ่งอยู่ในบัญชี ข. หมายเลขเดียวกันด้วย
จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล ซึ่งเป็นการเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง อันเป็นการพนันประเภทต้องขออนุญาตตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ แต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 4
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า "คำว่า "การเล่น" ในวรรคก่อนให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย" การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 และมิใช่การเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยจากการกระทำนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยเล่นการพนันดังกล่าวจริง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 ซึ่งมิได้ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่มาตรา 4 ทวิ ไม่ใช่บทมาตราที่บัญญัติองค์ประกอบความผิดและความผิดตามมาตรา 4 ทวิ ก็มีบทลงโทษรวมอยู่ในมาตรา 12 ซึ่งโจทก์อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล ซึ่งเป็นการเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง อันเป็นการพนันประเภทต้องขออนุญาตตามบัญชี ข. หมายเลข 16 ตาม พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ แต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 4
พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ทวิ วรรคสอง บัญญัติว่า "คำว่า "การเล่น" ในวรรคก่อนให้หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วย" การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 และมิใช่การเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง จึงเป็นความผิดตามมาตรา 4 ทวิ
โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนันทายผลฟุตบอล พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต และประสงค์ให้ลงโทษจำเลยจากการกระทำนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลยเล่นการพนันดังกล่าวจริง อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้โจทก์มิได้บรรยายว่า การเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 ซึ่งมิได้ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่มาตรา 4 ทวิ ไม่ใช่บทมาตราที่บัญญัติองค์ประกอบความผิดและความผิดตามมาตรา 4 ทวิ ก็มีบทลงโทษรวมอยู่ในมาตรา 12 ซึ่งโจทก์อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนฯ แม้ฟ้องต่างกรรมต่างวาระและองค์ประกอบความผิดต่างกัน ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดคดีนี้เนื้อที่ 20 ไร่เศษเป็นที่ดินแปลงเดียวกับคดีก่อนซึ่งมีเนื้อที่ 100 ไร่ คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นที่ดินของรัฐ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปก่นสร้าง แผ้วถางตัดฟัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ขนาดเล็กและใหญ่แล้วยึดถือครอบครองที่ดินแปลงเดียวกันเนื้อที่ 20 ไร่เศษ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป. ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 4, 5, 6, 14 และ 31 อันเป็นการฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับคดีก่อน ทั้งองค์ประกอบแห่งความผิดก็แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในความผิดฐานบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน แม้กรรมต่างวาระ แต่หากเป็นพื้นที่แปลงเดียวกันและองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปก่นสร้างแผ้วถาง ตัดฟัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ขนาดเล็กและใหญ่ แล้วยึดถือครอบครองที่ดินเนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งเป็นแปลงเดียวกับคดีก่อนที่มีเนื้อที่ 100 ไร่ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 4,5,6,14 และ 31 อันเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันทั้งองค์ประกอบแห่งความผิดก็แตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนถึงแก่ความตาย ความรับผิดทางอาญา และการใช้ดุลพินิจของศาล
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในการวิวาทนั้น จำเลยที่ 1 ไม่พอใจที่ผู้ตายเร่งเครื่องรถจักรยานยนต์ ส่งเสียงดังจึงไปนำอาวุธปืนจากบ้านแม่ยายแล้วยิงขึ้นฟ้า 1 นัด จากนั้นก็พกอาวุธปืนไว้กับตนเองเพื่อรอที่จะต่อสู้กับฝ่าย ผู้ตาย การพาอาวุธปืนและยิงปืนของจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควร
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางพกติดตัวอยู่ เมื่อผู้ตายมาถึง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมชกต่อยทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้าทำร้ายผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ยิง เป็นการกระทำโดยเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้ปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันทำร้ายผู้ตายดังกล่าวมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงต้องร่วมรับผิดในผล แห่งความตายที่เกิดขึ้นด้วย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางพกติดตัวอยู่ เมื่อผู้ตายมาถึง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมชกต่อยทำร้ายผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้าทำร้ายผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1 ยิง เป็นการกระทำโดยเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้ปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันทำร้ายผู้ตายดังกล่าวมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงต้องร่วมรับผิดในผล แห่งความตายที่เกิดขึ้นด้วย จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: การรับผิดชอบของผู้ร่วมกระทำความผิด แม้ผู้ตายเสียชีวิตจากบาดแผลจากการถูกยิง
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในการวิวาทนั้น จำเลยที่ 1ไม่พอใจที่ผู้ตายเร่งเครื่องรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดัง จึงไปนำอาวุธปืนจากบ้านแม่ยายแล้วยิงปืนขึ้นฟ้า 1 นัด จากนั้นก็พกอาวุธไว้กับตนเองเพื่อรอที่จะต่อสู้กับฝ่ายผู้ตาย การพาอาวุธปืนและยิงปืนของจำเลยที่ 1จึงไม่ใช่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนตามสมควร
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางพกติดตัวอยู่ เมื่อผู้ตายมาถึง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมชกต่อยทำร้ายผู้ตายส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 5 เข้าทำร้ายผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1ยิง เป็นการกระทำโดยมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้จะปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันทำร้ายผู้ตายดังกล่าวมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งความตายที่เกิดขึ้นด้วย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนของกลางพกติดตัวอยู่ เมื่อผู้ตายมาถึง จำเลยที่ 2 ได้ร่วมชกต่อยทำร้ายผู้ตายส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 5 เข้าทำร้ายผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถูกจำเลยที่ 1ยิง เป็นการกระทำโดยมีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แม้จะปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะบาดแผลจากการถูกกระสุนปืนที่จำเลยที่ 1 ยิงก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ร่วมกันทำร้ายผู้ตายดังกล่าวมีผลให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งความตายที่เกิดขึ้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายค้นและการไต่สวนคำร้องคัดค้าน: ศาลมีอำนาจงดไต่สวนหากไม่เกิดประโยชน์ และไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหากยังไม่มีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศออกหมายค้นบ้านเลขที่ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านเนื่องจากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอให้ออกหมายค้นโดยอ้างว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวมีเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมซุกซ่อนอยู่โดยผิดกฎหมาย ขั้นตอนการขอออกหมายค้นดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้การค้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เจ้าพนักงานทำการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามกฎหมาย อันจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และศาลได้ออกหมายค้นโดยมีข้อกำหนดไว้ชัดเจนเพื่อค้นหาและตรวจยึดเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นตามวันเวลาดังกล่าวในหมายค้นแล้วแต่ไม่พบของผิดกฎหมาย กระบวนการในการขอออกหมายค้น การออกหมายค้น รวมทั้งอำนาจในการปฏิบัติตามหมายค้นที่เป็นมาตรการป้องกันการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรดังกล่าวจึงเสร็จสิ้นยุติไปแล้ว การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานอันเป็นที่มาในการขอออกหมายค้น จึงไม่เกิดประโยชน์ ถ้าผู้คัดค้านติดใจสงสัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นโดยไม่มีหลักฐานและเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้คัดค้านตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้คัดค้านสามารถฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง เพื่อเยียวยาความเสียหายได้ ดังนั้น แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะได้นัดไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านไว้แล้ว แต่ต่อมาเห็นว่า การไต่สวนคำร้องดังกล่าวจะไม่เกิดประโยชน์แก่การพิจารณาคดีก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขคำสั่งเดิมได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม
ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่า ศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94ถึง 105 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังกล่าวบังคับแก่คดี จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264
ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่า ศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94ถึง 105 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังกล่าวบังคับแก่คดี จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายค้นและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ: ศาลมีอำนาจแก้ไขคำสั่งไต่สวนที่ไม่เกิดประโยชน์ได้
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศออกหมายค้นบ้านเลขที่ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านเนื่องจากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอให้ออกหมายค้นโดยอ้างว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวมีเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมซุกซ่อนอยู่โดยผิดกฎหมาย ขั้นตอนการขอออกหมายค้นดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้การค้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 238 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เจ้าพนักงานทำการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามกฎหมาย อันจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และศาลได้ออกหมายค้นโดยมีข้อกำหนดไว้ชัดเจนเพื่อค้นหาและตรวจยึดเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าเท่านั้น เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นตามวันเวลาดังกล่าวในหมายค้นแล้ว แต่ไม่พบของผิดกฎหมาย กระบวนการในการขอออกหมายค้น การออกหมายค้น รวมทั้งอำนาจในการปฏิบัติตามหมายค้นที่เป็นมาตรการป้องกันการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรดังกล่าวจึงเสร็จสิ้นยุติไปแล้วการที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานอันเป็นที่มาในการขอออกหมายค้น จึงไม่เกิดประโยชน์ ถ้าผู้คัดค้านติดใจสงสัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นโดยไม่มีหลักฐานและเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้คัดค้านตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้คัดค้านสามารถฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง เพื่อเยียวยาความเสียหายได้ ดังนั้น แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะได้นัดไต่สวนคำร้องของผู้คัดค้านไว้แล้ว แต่ต่อมาเห็นว่า การไต่สวนคำร้องดังกล่าวจะไม่เกิดประโยชน์แก่การพิจารณาคดีก็ย่อมมีอำนาจแก้ไขคำสั่งเดิมได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม
ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่า ศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ป.วิ.อ.มาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ป.วิ.อ.ดังกล่าวบังคับแก่คดี จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264
ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่า ศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ป.วิ.อ.มาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ป.วิ.อ.ดังกล่าวบังคับแก่คดี จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกหมายค้นและการไต่สวนคำร้องคัดค้าน: ศาลมีอำนาจงดไต่สวนหากไม่เกิดประโยชน์ และไม่จำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญหากไม่มีปัญหากับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางออกหมายค้นบ้านของผู้คัดค้าน เนื่องจากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอให้ออก โดยอ้างว่าบ้านดังกล่าวมีเครื่องมือแพทย์ที่มีเครื่องหมายการค้าของบริษัท ด. ปลอม ซุกซ่อนอยู่โดยผิดกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนการขอออกหมายค้นดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อให้การค้นเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ซึ่งเป็นบทบัญญัติกำหนดมาตราการเพื่อป้องกันมิให้เจ้าพนักงานทำการค้นโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามกฎหมาย อันจะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล เมื่อศาลออกหมายค้นและเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นเสร็จสิ้นแล้ว แต่ไม่พบของผิดกฎหมาย กระบวนการในการขอออกหมายค้น การออกหมายค้นรวมทั้งอำนาจในการปฏิบัติตามหมายค้นได้เสร็จสิ้นยุติไปแล้ว การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนเพื่อทราบสาเหตุและหลักฐานอันเป็นที่มาในการขอออกหมายค้น ซึ่งศาลได้นัดไต่สวนคำร้องไว้นั้น จึงไม่เกิดประโยชน์แก่การป้องกันการตรวจค้นโดยปราศจากเหตุสมควรตามกฎหมายเพราะการตรวจค้นได้ยุติไปแล้ว ถ้าผู้คัดค้านติดใจสงสัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นโดยไม่มีหลักฐานและเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้คัดค้านตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้คัดค้านสามารถเรียกร้องความยุติธรรมจากศาลได้โดยการฟ้องร้องว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่ง ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อเยียวยาความเสียหายได้ ดังนั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้งดไต่สวนได้ไม่ถือว่าเป็นการปฏิเสธความยุติธรรม
คำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาบังคับแก่คดีแต่ประการใดจึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264
คำร้องของผู้คัดค้านที่ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าศาลจะนำเอามาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับในการออกหมายค้นไม่ได้ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 238 ทั้งที่รูปคดียังไม่มีปัญหาที่ศาลจะใช้บทบัญญัติมาตรา 69 และมาตรา 94 ถึง 105แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาบังคับแก่คดีแต่ประการใดจึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 264