คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคำร้องขัดทรัพย์และการทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำร้องขัดทรัพย์เป็นเสมือนหนึ่งคำฟ้องโดยผู้ร้องมีฐานะเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์มีฐานะเป็นจำเลย คำร้องขัดทรัพย์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขัดทรัพย์แล้วมีคำสั่งว่าทรัพย์สินตามคำร้องขัดทรัพย์ยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ยกคำร้องค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับโดยลงชื่อผู้พิพากษา 2 คน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) แล้วหากผู้ร้องไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นผู้ร้องย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ได้ และต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องด้วย ถ้าทุนทรัพย์ที่เรียกร้องหรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์เป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้น ผู้อุทธรณ์ก็ต้องเสียตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเช่นเดียวกับในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคหนึ่งศาลจะต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดต่อเมื่อศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้องหรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์หรือฎีกาโดยยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นแห่งอุทธรณ์หรือฎีกาแต่คดีนี้ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาดังกล่าวมาแล้ว ศาลชั้นต้นจึงใช้ดุลพินิจสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(5) และ161 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาฎีกาและคำร้องขอเป็นคนอนาถา: ศาลชั้นต้นต้องพิจารณาค่าธรรมเนียมก่อนสั่งรับหรือไม่รับฎีกา
จำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณา คดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และ ยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกา อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่าง คนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีม่รับรองให้ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นจึงสั่งในคำฟ้องฎีกาว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีมีคำสั่งว่า ไม่มีเหตุสมควร ที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่รับรองฎีกา ให้ยกคำร้องแล้ว จึงไม่รับฎีกาของจำเลยส่วนคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีไม่รับรอง ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่จำต้องไต่สวน ดังนี้คำสั่ง ศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ชอบแล้วเพราะเมื่อเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ ก็ชอบที่สั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม แต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลย นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อนเมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ศาลชั้นต้นยัง ไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2) ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับหรือไม่รับฎีกา: ความถูกต้องตามขั้นตอนและอำนาจศาล
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) (2) ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา: ศาลต้องกำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนสั่งรับหรือไม่
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้อง ฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะ พิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสาม แต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลย นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น เห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ จึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกา ของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการฎีกา การพิจารณาคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา และการสั่งรับ/ไม่รับฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกา และคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดการฎีกาข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยค่าเสียหายที่ต่ำกว่า และผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ค่าเช่าไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง กับให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์คิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 50,000 บาท แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าอาจนำห้องพิพาทออกให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ10,500 บาท ต่อห้องแต่โจทก์ขอคิดค่าขาดประโยชน์จากจำเลยเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง ซึ่งหมายถึงห้องพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 10,000 บาท หรือมากกว่านี้ต่อห้องก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท ต่อห้อง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริงจึงยุติว่าห้องพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต่อห้อง กรณีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่าเพราะวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่ามีเพียงให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่า เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์สัญญาเช่าย่อมผูกพันโจทก์และจำเลย โดยโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทหรือได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3310/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลลดดอกเบี้ยเกินสมควร
เบี้ยปรับคือสัญญาที่ลูกหนี้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้ เงิน จำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ ถูกต้องสมควร แต่สัญญากู้เงินมีใจความชัดเจนว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี สัญญาจำนองที่ดินและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองก็มีใจความว่าผู้จำนองตกลงให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ ก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยเองจากจำเลยทั้งสองอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้อยู่แล้ว ข้อตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้ในสัญญา กู้เงินจึงไม่ใช่เบี้ยปรับแม้ทางปฏิบัติโจทก์จะผ่อนผันให้โดย คิดดอกเบี้ยไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี โดยเริ่มแรกคิดดอกเบี้ยเพียง ร้อยละ 9.5 ต่อปี และเมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์ได้ปรับอัตราดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 19 ต่อปี ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้ กลายเป็นเบี้ยปรับแต่อย่างใด ส่วนข้อตกลงในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้ไม่ว่างวดใดงวดหนึ่งผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดเมื่อใดได้นั้น หมายถึง กรณีผู้กู้ผิดนัด ไม่ชำระหนี้ที่ต้องชำระเป็นรายเดือน แล้วผู้ให้กู้เพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 19 ต่อปีดอกเบี้ยส่วนที่เกินกว่า ร้อยละ 19 ต่อปีเท่านั้นที่เป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าศาลเห็นว่าสูง เกินส่วนจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ แต่จะลดลงเหลือน้อยกว่า ร้อยละ 19 ต่อปีไม่ได้ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจาก อัตราร้อยละ 19 ต่อปี ลงมาเหลือเพียงร้อยละ 15 ต่อปี โดยอ้างว่าเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนชำระหนี้โดยไม่คิดราคาท้องตลาดเป็นโมฆะ – จำเป็นต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาตลาด
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาท ไว้ 2 ข้อ ดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการ แก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วย การบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่น แทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระ เป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สิน ในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2. ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลย รับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็น หนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาด แห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลย รับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยาน ตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริง ให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควร ที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาท ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานกรณีข้อพิพาทเรื่องการโอนชำระหนี้ด้วยทรัพย์สิน และผลกระทบต่อการพิพากษา
ในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 2 ข้อดังนี้ 1. ข้อตกลงโอนชำระหนี้ตามบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 15 และ 16 เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีจัดการแก่ทรัพย์จำนองผิดไปจากบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการบังคับจำนอง และเป็นกรณีที่จำเลยยอมรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้ โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ และ 2.ข้อตกลงการโอนชำระหนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 17 เป็นโมฆะ เพราะจำเลยรับเอาทรัพย์สินอื่นแทนการชำระหนี้เงินกู้โดยไม่ได้คิดเป็นหนี้เงินค้างชำระเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาททั้งสองข้อนี้คู่ความยังเถียงกันอยู่ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ทั้ง ๆ ที่โจทก์แถลงขอสืบพยานเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในขณะโอนนั้นทรัพย์ที่โอนมีราคาท้องตลาดสูงกว่าราคาที่จำเลยรับโอน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้ปฏิเสธไม่สืบพยานตามที่โจทก์ร้องขอแล้วพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนเสียก่อน เป็นการมิชอบ กรณีจึงมีเหตุอันสมควรที่จะให้มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยในประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (2) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3222/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า "ภาษี" ในสัญญาซื้อขายที่ดิน: ไม่รวมภาษีธุรกิจเฉพาะหากไม่มีระบุชัดเจน
โจทก์และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน มีข้อตกลงว่าค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าธรรมเนียม ค่าภาษี และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้นกรณีไม่เป็น การขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี ของประชาชน แต่เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างก็เป็นบริษัทจำกัด ประกอบอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจที่ดินโดยเฉพาะในการทำ สัญญาซื้อขายที่ดินโจทก์และจำเลยทั้งสองจะต้องรู้อยู่แล้วว่า โจทก์ผู้ขายที่ดินจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งจะต้องไปชำระ ณ สรรพากร มิใช่หัก ณ ที่จ่าย ที่สำนักงานที่ดิน ดังนั้น หากคู่กรณี มีเจตนาจะให้จำเลยทั้ง สองชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ก็น่าจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขายให้ชัดแจ้ง เพราะค่าภาษีดังกล่าว จะต้องไปชำระต่างหากจากที่สำนักงานที่ดินอีกทั้งถ้ามี ข้อผูกพันดังกล่าวจริง โจทก์คงไม่โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองโดยง่าย โดยที่ยังมิได้รับชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะก่อน การที่ โจทก์อ้างว่าจะต้องคำนวณค่าภาษีธุรกิจเฉพาะก่อนจึงไม่น่า เป็นไปได้ เพราะตามประมวลรัษฎากรฯ หมวด 5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ มาตรา 91/6 ได้ระบุอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้ว โจทก์และจำเลยทั้งสองดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับที่ดินมาโดยตลอด จึงน่าจะรู้เกี่ยวกับอัตราภาษีดังกล่าวและสามารถที่จะคำนวณ ได้ว่าจะต้องชำระค่าภาษีธุรกิจเฉพาะเท่าใด ฉะนั้น คำว่า "ภาษี" ตามสัญญาจึงไม่รวมถึงค่า "ภาษีธุรกิจเฉพาะ" ด้วย
of 33