พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีลิขสิทธิ์: ผู้รับมอบอำนาจรู้ความผิด ถือว่าโจทก์รู้ด้วย
ร. เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยรู้เรื่องการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69 และ 70 ประกอบมาตรา 30 และ 31 ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมา ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิดเมื่อ ร. มีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แทนโจทก์ เช่นเดียวกับผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ ร. ก็ดี ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นของโจทก์ก็ดีต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรกแม้โจทก์จะเพิ่งรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2542 ก็ไม่ทำให้อายุความขยายออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์: เริ่มนับจากวันที่ทราบเรื่องและตัวผู้กระทำผิด
โจทก์มอบอำนาจให้ ร. เป็นตัวแทนและผู้รับมอบอำนาจเพื่อโจทก์และในนามโจทก์ในประเทศไทย ในอันที่จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อยับยั้งและจำกัดการเลียนแบบ การละเมิดและการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเกี่ยวกับชื่อทางการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และอื่น ๆ ที่ใช้เกี่ยวกับการค้าของโจทก์ให้ป้องกันการค้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้มีอำนาจร้องทุกข์ ฟ้องร้องดำเนินคดีและต่อสู้ในนามของโจทก์ ร. จึงมีอำนาจร้องทุกข์และฟ้องร้องผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ในประเทศไทยในนามของโจทก์ได้ตามกฎหมาย ร. ได้รู้เรื่องการกระทำความผิด และรู้ตัวผู้กระทำความผิดคดีนี้แล้ว ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ส่วนการตรวจสอบคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ซื้อมาโดย ส. ก็เพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ในการฟ้องคดี ไม่ใช่เพื่อให้รู้ถึงการกระทำความผิด ดังนั้น ร. ต้องดำเนินการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 ซึ่งเป็นวันที่ ร. รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นครั้งแรก เมื่อโจทก์นำคดีนี้ ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้มาฟ้องเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ประกอบการไฟฟ้าต่อความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
การไฟฟ้านครหลวงจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของและผู้ครอบครองเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า และอุปกรณ์ไฟฟ้าในการส่งจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเมื่อกระแสไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าดังกล่าว เกิดการลัดวงจรเป็นเหตุให้เพลิงลุกไหม้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ผู้ต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 นำสืบว่าได้ดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างดีแล้ว แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าหรือทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลย 2 ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้ทรัพย์สินเสียหาย แม้บำรุงรักษาดีแล้ว
การไฟฟ้านครหลวงจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อกระแสไฟฟ้าที่จำเลยที่ 2จัดให้มีขึ้นเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชนเกิดการลัดวงจรเป็นเหตุให้เพลิงลุกไหม้ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายได้โดยสภาพ จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของโจทก์ ผู้ต้องเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 2 นำสืบว่าได้ดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างดีแล้ว แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเป็นความผิดของโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่พ้นความรับผิด ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ครอบครองกระแสไฟฟ้าหรือทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการส่งมอบสินค้าผิดบุคคล ไม่เวนคืนใบตราส่ง ผู้รับประกันภัยมีสิทธิรับช่วง
สำเนาเอกสารที่ผู้ส่งเอกสารส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสาร เมื่อจำเลยถูกโจทก์อ้างมาเป็นพยานหลักฐานยันตน จำเลยมิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอม หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จึงต้องห้ามมิให้จำเลยคัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้ โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93(2) แล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยมิได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ธนาคารผู้รับตราส่งหรือ ช. ผู้ซื้อสินค้า การส่งมอบสินค้าแก่บุคคลอื่นโดยมิได้มีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบโดยชอบทำให้ผู้รับตราส่งหรือผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า เป็นเหตุให้ผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้าเสียหายไม่ได้รับชำระราคาสินค้าจากผู้รับตราส่งหรือผู้ซื้อ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ส่ง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยได้ตามอำนาจแห่งกฎหมายโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยได้ทราบถึงการประกันภัยหรือไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายไป
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรมซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตรใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ธนาคารผู้รับตราส่งหรือ ช. ผู้ซื้อสินค้า การส่งมอบสินค้าแก่บุคคลอื่นโดยมิได้มีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบโดยชอบทำให้ผู้รับตราส่งหรือผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้า เป็นเหตุให้ผู้ขายหรือผู้ส่งสินค้าเสียหายไม่ได้รับชำระราคาสินค้าจากผู้รับตราส่งหรือผู้ซื้อ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ส่ง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้าได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยย่อมรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อจำเลยได้ตามอำนาจแห่งกฎหมายโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยได้ทราบถึงการประกันภัยหรือไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้จ่ายไป
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรมซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตรใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าจากการส่งมอบสินค้าผิดพลาดและไม่ถูกต้องตามสัญญา
เมื่อจำเลยที่ 2 ตกลงรับจ้างขนส่งสินค้า จำเลยที่ 2 ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ท่าอากาศยานปลายทาง จำเลยที่ 2 ได้ออกใบตราส่งอันถือได้ว่าเป็นหลักฐานแห่งสัญญาขนส่งของให้แก่ผู้ส่งตามใบตราส่ง โดยระบุในใบตราส่งว่าผู้รับตราส่งคือธนาคารซิตี้แบงก์ มี ซ. เป็นผู้ที่จะต้องแจ้งให้ทราบ จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ ซ. ที่ท่าอากาศยานเมืองไมอามีซึ่งเป็นท่าอากาศยานปลายทาง โดยการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งซึ่งธนาคารซิตี้แบงก์ได้สลักหลังให้ เมื่อสินค้าถึงท่าอากาศยานเมืองไมอามี ตัวแทนของจำเลยที่ 2 กลับปล่อยสินค้าให้แก่บุคคลอื่นโดยมิได้มีการเวนคืนต้นฉบับใบตราส่งทางอากาศ ถือไม่ได้ว่าเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบ
เอกสารที่โจทก์อ้างแม้จะเป็นสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นเอกสารที่ผู้ส่งได้ส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสารซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ตามปกติผู้ส่งจะนำต้นฉบับเอกสารไปลงในเครื่องโทรสารแล้วส่งโดยวิธีโทรสารไปยังเครื่องโทรสารของผู้รับ และผู้ส่งเป็นผู้เก็บต้นฉบับไว้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์อ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จำเลยที่ 2 เพียงแต่โต้แย้งคัดค้านไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและความเห็นของพยานจำเลยที่ 2 กับยื่นคำแถลงคัดค้านไว้ภายหลังการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) แล้ว สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรม ซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
เอกสารที่โจทก์อ้างแม้จะเป็นสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นเอกสารที่ผู้ส่งได้ส่งให้แก่โจทก์โดยวิธีโทรสารซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ตามปกติผู้ส่งจะนำต้นฉบับเอกสารไปลงในเครื่องโทรสารแล้วส่งโดยวิธีโทรสารไปยังเครื่องโทรสารของผู้รับ และผู้ส่งเป็นผู้เก็บต้นฉบับไว้ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์อ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานยันตนก็มิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือต้นฉบับปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นแล้วเสร็จ และไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านต่อศาลในภายหลัง จำเลยที่ 2 เพียงแต่โต้แย้งคัดค้านไว้ในบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงและความเห็นของพยานจำเลยที่ 2 กับยื่นคำแถลงคัดค้านไว้ภายหลังการสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเท่านั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้วินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) แล้ว สำเนาเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
สินค้าที่ขนส่งเป็นเพียงพรม ซึ่งเป็นสิ่งของธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า และอัญมณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจำนองและทรัพย์สินอื่นร่วม: การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้แม้ทรัพย์จำนองมีราคาน้อยกว่าหนี้
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยออกขายทอดตลาดชำระหนี้จนครบ การยึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำนองไว้แต่ยังไม่นำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดที่ดินจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้จึงจะนำที่ดินนั้นออกขายย่อมไม่เป็นการขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1515/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ยึดทรัพย์เพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ แม้ทรัพย์จำนองมีราคาไม่เพียงพอ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยึดทรัพย์เพิ่มเติมได้
หนี้ตามคำพิพากษาคำนวณถึงวันที่โจทก์ขอยึดที่ดินพิพาททั้งต้นและดอกเบี้ยรวมมากกว่า 10,000,000 บาท แต่ทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงมีราคาตามราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีรวมไม่ถึง 1,000,000 บาท ที่ดินพิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาที่ดิน 98,119,440 บาท แม้ปัจจุบันเป็นชื่อจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยที่ 3 รับมรดกมาจากผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม ที่ดินจึงอยู่ในขอบเขตที่อาจถูกบังคับคดีได้ตามคำพิพากษา แม้การบังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองก่อน หากไม่ครบจำนวนหนี้จึงจะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินอื่น แต่การยึดทรัพย์ที่ดินพิพาทสืบเนื่องจากศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ยึด หากเพิกถอนการยึดโจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการยึดทรัพย์โดยไม่มีการขายอัตราร้อยละ 3.5 ซึ่งจะเป็นเงินค่าธรรมเนียมจำนวนมาก เนื่องจากจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองทั้งสามแปลงยังไม่เสร็จสิ้น ก็ยังไม่ทราบจำนวนหนี้ที่เหลือที่จะบังคับคดีต่อไป และนำมาเป็นเกณฑ์คำนวณค่าธรรมเนียมได้ และจากสภาพราคาทรัพย์จำนองเป็นที่เห็นได้ว่าไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อขายทรัพย์จำนองเสร็จก็ต้องกลับมายึดที่ดินพิพาทใหม่ การยึดที่ดินพิพาทไว้แต่ยังไม่ต้องนำออกขายจนกว่ามีการขายทอดตลาดจำนองเสร็จสิ้นและได้เงินไม่พอชำระหนี้ จึงค่อยนำที่ดินพิพาทออกขายนั้นไม่ขัดต่อขั้นตอนการบังคับคดีตามคำพิพากษาและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นในที่ดินร่วม: สิทธิผ่านทาง, ขนาดทาง, อำนาจฟ้องเจ้าของรวม
ทางซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่ไปออกสู่ถนน เป็นทางที่โจทก์และประชาชนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาได้ ทั้งไม่ใช่ทางสาธารณะ เพราะเป็นทางที่ต้องผ่านที่ดินของบุคคลอื่น เมื่อที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดมีที่ดินของบุคคลอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงถนนสาธารณประโยชน์ซึ่งเป็นทางสาธารณะได้ โจทก์ทั้งเจ็ดย่อมมีสิทธิผ่านทางพิพาทซึ่งอยู่ภายในเขตที่ดินของจำเลยไปออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวได้ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349วรรคแรก
รถยนต์เป็นพาหนะจำเป็นที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง การที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทให้เหลือขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ เป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.30เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงเหมาะสมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่ง ผลแห่งคดีที่จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ย่อมต้องผูกพัน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดไม่จำต้องฟ้อง จ. ด้วย แต่สามารถฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้
รถยนต์เป็นพาหนะจำเป็นที่ประชาชนใช้ในการเดินทาง การที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทให้เหลือขนาดความกว้างประมาณ 1 เมตร ย่อมทำให้รถยนต์ไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ เป็นการไม่เหมาะสมแก่สภาพการณ์ความเจริญของบ้านเมืองในปัจจุบันและในอนาคต การกำหนดให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นมีขนาดกว้าง 2.30เมตร เพื่อให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้จึงเหมาะสมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ด เป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ทั้งเจ็ด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่ง ผลแห่งคดีที่จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ย่อมต้องผูกพัน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดไม่จำต้องฟ้อง จ. ด้วย แต่สามารถฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น-อำนาจฟ้อง: เจ้าของรวมใช้สิทธิแทนกันได้-ทางออกสู่สาธารณะ
จำเลยเป็นเจ้าของรวมในที่ดินร่วมกับ จ. การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็น จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและถือเป็นการยกข้อต่อสู้แทน จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินอีกคนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 แล้ว ผลแห่งคดีแม้จำเลยเจ้าของรวมคนเดียวถูกฟ้อง ก็ย่อมต้องผูกพันถึง จ. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยแต่ผู้เดียวให้เปิดทางจำเป็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้อง จ. ด้วย