คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 326 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 โดยนัดส่งมอบและชำระเงินกันภายหลัง ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์มีจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายไปจอดอยู่ริมถนน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะไปจอดใกล้ ๆ แล้วเลื่อนกระจกรถลงพร้อมกับยื่นห่อบรรจุเมทแอมเฟตามีนจำนวน 380 เม็ดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเตรียมเงินมาพร้อมที่จะส่งมอบให้จำเลยที่ 1 เช่นกัน แต่จำเลยที่ 1 เห็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กำลังจะเข้าจับกุม จึงขับรถหลบหนีโดยยังไม่ได้ส่งมอบและรับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนและขว้างเมทแอมเฟตามีนทิ้ง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ใกล้ชิดกับความผิดสำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงมือกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะถูกจับกุมเสียก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีน และได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่ ล. จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำให้เกิดการรบกวนการสื่อสาร ความผิดแยกกระทง
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคม 6 เครื่อง มาทำให้เกิดคลื่นความถี่วิทยุและลักลอบใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบมือถือของบุคคลอื่นรวม 6 หมายเลข แล้วนำออกให้ประชาชนเช่าใช้บริการนาทีละ 3 บาท เป็นการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของคลื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้จำเลย
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดฐานทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมเป็นความผิด เพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม ซึ่งแม้จำเลยจะมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยได้รับหรือไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม หากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมก็เป็นความผิดฐานนี้แล้วความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันจำเลยจึงมีความผิด 2 กรรมต่างกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีที่ดินราชพัสดุ: คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์ แม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง
กระทรวงการคลังโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ธ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินราชพัสดุหรือทรัพย์สินในที่ดินราชพัสดุแทน เมื่อขณะที่ ธ. มีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์นั้น ธ. ยังเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 แม้ ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีไปแล้ว แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอนจึงยังคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เหตุที่ขณะฟ้อง ธ. พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีไปแล้วมิได้ทำให้ฐานะของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามไปด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี: คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์แม้ผู้มอบอำนาจพ้นตำแหน่ง
ขณะที่ ธ. มีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นธ. ยังเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 70 แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดี ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอน คำสั่งมอบอำนาจของ ธ. ดังกล่าวจึงยังคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หาทำให้ฐานะของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์สิ้นสุดตามการพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีของ ธ. ไปด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกระทรวงที่มอบอำนาจผู้ว่าฯ แม้รัฐมนตรีพ้นตำแหน่งแล้ว คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์
รัฐมนตรีมีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ นาย ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอน คำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวของนาย ธ. คงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ครบถ้วน โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้
การที่โจทก์และจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันโดยจำเลยชำระเงินบางส่วนแล้วเข้าทำนาในที่ดิน ครั้นถึงกำหนดโอนที่ดินจำเลยยังชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ไม่ครบตามจำนวนที่ระบุในสัญญา จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3081/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่เป็นหนังสือ & การคิดดอกเบี้ยผิดสัญญา: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำตามแบบอย่างใดบ้าง ผู้รับจำนองเพียงแต่มีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันควร ก็ถือได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยบทมาตราดังกล่าวแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะมอบอำนาจให้ ส. เป็นตัวแทนบอกกล่าวบังคับจำนองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือมอบอำนาจก็ไม่เป็นโมฆะ นอกจากนี้เมื่อโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ส. ได้กระทำการไปในนามของโจทก์โดยการฟ้องคดีนี้ ย่อมถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การบอกกล่าวบังคับจำนองนั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่ลูกหนี้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
สัญญาค้ำประกันมีข้อความให้สัญญาสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2541 ก็มีความหมายว่าจำเลยที่ 3 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2541 เมื่อหนี้รายนี้จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2541 จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนการนำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ภายในกำหนดอายุความ
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญา ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเกินได้ตามประกาศธนาคารโจทก์ ซึ่งตามประกาศธนาคารโจทก์ก็คืออัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด เท่ากับอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดีมีกำหนดเวลา (MLR) บวกส่วนต่าง (Margin) แต่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กลับคิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดนัดชำระหนี้ซึ่งสูงกว่าอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ผิดนัด จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการค้าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวกัน
การทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบแม่พิมพ์ (แสตมป์เปอร์) 21 แผ่น เพื่อเป็นต้นแบบของการผลิตแผ่นซีดีเกมส์เพลย์สเตชั่น 94 , 404 แผ่น ออกจำหน่ายเพื่อประสงค์ในทางการค้า ซึ่งการทำซ้ำทั้งสองครั้งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกันจึงมีเจตนาเดียวกัน การทำซ้ำทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการกระทำไม่ต่างกัน ถือเป็นความผิดกรรมเดียวกันและผิดต่อกฎหมายบทเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบและแผ่นซีดีเพื่อจำหน่ายเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวกัน
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยทำซ้ำทั้งสองครั้งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดเดียวกันและทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้นแบบแม่พิมพ์ 21 แผ่น ก็เพื่อเป็นต้นแบบของการผลิตซีดีเกมส์เพลย์สเตชั่น 94,404 แผ่น ออกจำหน่ายเพื่อประสงค์ในทางการค้าเช่นเดียวกัน จึงมีเจตนาเดียวกัน การทำซ้ำทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการกระทำไม่ต่างกัน ถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และเป็นความผิดต่อกฎหมายบทเดียวกันตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 30(1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากความผิดทางอาญา: การขอคืนทรัพย์สินหลังคำพิพากษาถึงที่สุด และข้อยกเว้นระยะเวลา
ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดที่จะตกเป็นของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1327 นั้น หมายถึงทรัพย์สินที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเก็บรักษาไว้โดยไม่มีการฟ้องร้องต่อศาล หรือหากมีการฟ้องร้องก็ต้องเป็นกรณีที่ศาลมิได้พิพากษาให้ริบหรือสั่งคืนทรัพย์สินของกลางให้แก่เจ้าของ ทั้งนี้เพราะมาตรา 1327 อยู่ภายในบังคับแห่งกฎหมายอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 35 และ 36 บัญญัติเรื่องนี้ว่า ทรัพย์สินซึ่งศาลพิพากษาให้ริบให้ตกเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่เจ้าของที่แท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดร้องขอคืนภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อการเรียกเอาทรัพย์สินตามมาตรา 1327 วรรคหนึ่ง กับการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอทรัพย์สินที่ถูกริบคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 มีหลักเกณฑ์และวิธีการแตกต่างกัน หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1327 วรรคหนึ่ง จึงมิใช่บทขยายระยะเวลายื่นคำร้องขอคืนทรัพย์สินของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเพิ่งทราบว่าทรัพย์สินของตนถูกศาลพิพากษาให้ริบหลังจากคดีถึงที่สุดแล้ว ระยะเวลายื่นคำร้องขอคืนของกลางก็ไม่ผ่อนเวลาออกไปเป็น 5 ปี
of 33