พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของทายาทผู้จัดการมรดกในการไล่ที่บุกรุกหลังการซื้อขายแต่ยังไม่ได้จดทะเบียน
ที่ดินพิพาทเป็นของ อ. จำเลยไม่ได้ฝากให้ อ. ดูแลที่ดินพิพาทแทน และ ด. ได้ซื้อที่ดินพิพาทจาก อ. แล้ว แต่ ด. ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนโอนชื่อเป็นของ ด. เมื่อ อ. ตายเสียก่อน โจทก์เป็นทายาทผู้รับมรดกและในฐานะผู้จัดการมรดกของ อ. ผู้ตาย สิทธิในทางทรัพย์สินรวมทั้งหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ของ อ. ก็ตกทอดแก่โจทก์ทันทีรวมทั้งหน้าที่ในการโอนที่ดินพิพาทที่ขายด้วย เมื่อจำเลยเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5602/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินทับซ้อนกับผู้ครอบครองเดิม ศาลยืนตามสิทธิผู้ครอบครอง
จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินที่ขายให้แก่โจทก์ครอบครองแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นผู้ขายและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาไว้เป็นสาระสำคัญต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์รวมกับที่ดินของจำเลยที่ 2 แล้วจึงจะโอนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 แล้วครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะได้ซื้อที่ดินของจำเลยที่ 2 โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 ชอบที่จะแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 2 โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น เมื่อตามสัญญาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ระบุข้อความไว้เองว่า ซื้อที่นา ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทด้วย เนื่องจากที่ดินพิพาทมีสิ่งปลูกสร้าง อีกทั้งก่อนที่จำเลยที่ 1 จะซื้อก็ได้ไปดูที่ดินแล้วก็เห็นว่าโจทก์ปลูกบ้านอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อน และโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาโดยสุจริต เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองและร้องขอต่อศาลให้ปลดเปลื้องการรบกวนของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินพิพาท การใช้สิทธิของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยานเพิ่มเติมในคดีอาญาหลังสืบพยานไปแล้ว ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุสมควรและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ป.วิ.อ.มิได้บัญญัติเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่า เพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียงผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 แล้ว
โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่า เพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียงผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมในคดีอาญา แม้พ้นกำหนด หากมีเหตุสมควรและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มิได้บัญญัติเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมคือพันตำรวจเอกส.และพันตำรวจตรีป. หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งทราบจากคำพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจที่ร่วมสืบสวนและติดตามจับกุมจำเลยมาตั้งแต่ต้นว่า พันตำรวจเอกส. และพันตำรวจตรี ป.กับพวกที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมเป็นผู้สกัดจับจำเลยได้ ส่วนพยานโจทก์ที่นำเข้าสืบไปแล้วเป็นเพียง ผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลัง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุ พันตำรวจเอกส. และพันตำรวจตรี ป. เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองปากนี้ไม่ใช่พยานคู่ กับพยานโจทก์ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยย่อมมีโอกาสที่จะถาม ค้านและนำสืบหักล้างพยานที่โจทก์ขอระบุพยานเพิ่มเติมนี้ได้ อย่างเต็มที่จำเลยจึงไม่เสียเปรียบ และเมื่อเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงต้องสืบพยานทั้งสองปากนี้ การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมในคดีอาญา: เหตุอันสมควร & ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม คือ พันตำรวจเอก ส. และ พันตำรวจตรี ป.หลังจากสืบพยานโจทก์ไปแล้ว โดยอ้างเหตุว่า เพิ่งจะทราบจากคำพยานคือร้อยตำรวจเอก ฐ.และจ่าสิบตำรวจ จ.ที่โจทก์ส่งประเด็นไปสืบว่า พันตำรวจเอก ส.และพันตำรวจตรี ป.กับพวกเป็นผู้สกัดจับจำเลยทั้งสามได้ ส่วนร้อยตำรวจเอก ฐ.และจ่าสิบตำรวจ จ. เป็นเพียงผู้ติดตามเข้าสมทบในการจับกุมจำเลยทั้งสามภายหลังย่อมถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรอื่นใดที่โจทก์จะระบุพันตำรวจเอก ส. และพันตำรวจตรี ป.เป็นพยานเพิ่มเติมได้แม้จะพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว ประกอบกับพยานทั้งสองไม่ใช่พยานคู่กับร้อยตำรวจเอก ฐ.และจ่าสิบตำรวจ จ. ที่ได้เบิกความไปแล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 มีโอกาสที่จะถามค้านและนำสืบหักล้างพยานทั้งสองนี้ได้อย่างเต็มที่ จึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 และที่ 3เสียเปรียบแต่อย่างใด และเนื่องจากพยานทั้งสองเป็นพยานสำคัญ การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมจึงต้องสืบพยานทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคท้าย ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทพิกัดศุลกากรสินค้า: เครื่องแช่แข็งอาหาร (Freezing Tunnel) มิใช่เครื่องลำเลียง
เดิมสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร บริษัทผู้ผลิตเรียกชื่อสินค้าดังกล่าวว่า "Freezing Tunnel" หรือ "Food Freezer" ซึ่งแปลว่าเครื่องแช่แข็งอาหาร แต่โจทก์ได้ขอให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าพิพาทเปลี่ยนชื่อสินค้าพิพาทใหม่โดยใช้ชื่อว่า "Belt Conveyor" แปลว่า เครื่องสายพานลำเลียง แสดงว่าบริษัทผู้ผลิตต้องการให้สินค้าพิพาท เป็นเครื่องแช่แข็งอาหาร มิใช่เป็นเครื่องสายพานลำเลียงเท่านั้น และสาระสำคัญของสินค้าพิพาทก็เพื่อประโยชน์ ในการแช่แข็งอาหารโดยใช้สายพานและระบบขับเคลื่อนเป็นส่วนประกอบเพื่อลำเลียงอาหารสดให้ได้รับสารทำความเย็น สินค้าพิพาทจึงมิใช่เพียงเครื่องสายพานลำเลียงหรือเครื่องลำเลียงอาหารสดเท่านั้น และถึงแม้ว่าสินค้าพิพาทจะ ไม่สามารถผลิตสารทำความเย็นได้ด้วยตนเองและไม่มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ลิ้นลดความดัน คงมีแต่แผงกระจายความเย็นที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับอีแวโพเรเตอร์ก็ตาม แต่ก็สามารถทำความเย็นได้ด้วยการนำถังบรรจุสารทำความเย็นมาติดตั้งและต่อท่อส่งสารทำความเย็นไปที่ระบบหัวฉีดของเครื่องแล้วนำ สินค้าพิพาทแช่แข็งอาหารได้ ดังนี้ สินค้าพิพาทจึงจัดเป็นเครื่องอุปกรณ์ทำความเย็นหรือทำให้เย็นจนแข็งอื่น ๆ ซึ่งมิใช่แบบคอมเพรสชันที่คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อน อันเป็นสินค้าจัดอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69 มิใช่เป็นเครื่องลำเลียงอาหารสด ประเภทพิกัด 8428.33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4409/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภทพิกัดอัตราศุลกากร: สินค้าแช่แข็งใช้ไนโตรเจนเหลว จัดเป็นเครื่องทำความเย็น มิใช่เครื่องลำเลียง
เดิมสินค้าพิพาทที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักร บริษัท ผู้ผลิตเรียกชื่อสินค้าดังกล่าวว่า "FreezingTunnel" หรือ"FoodFreezer" ซึ่งแปลว่าเครื่องแช่แข็งอาหาร แต่โจทก์ได้ขอให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าพิพาทเปลี่ยนชื่อสินค้าพิพาทใหม่โดยใช้ชื่อว่า "BeltConveyor" แปลว่าเครื่องสายพาน ลำเลียง แสดงว่าบริษัทผู้ผลิตต้องการให้สินค้าพิพาทเป็นเครื่องแช่แข็งอาหาร มิใช่เป็นเครื่องสายพาน ลำเลียงเท่านั้นและลูกค้าทุกรายที่ซื้อสินค้าดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ถนอมอาหารโดยวิธีแช่แข็ง และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและกรมศุลกากรได้มีวินิจฉัยว่าสินค้าดังกล่าวอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69 แสดงให้เห็นว่าสาระสำคัญของสินค้าพิพาทก็เพื่อประโยชน์ในการแช่แข็งอาหารโดยใช้สายพาน และระบบขับเคลื่อนเป็นส่วนประกอบเพื่อลำเลียงอาหารสดให้ได้รับสารทำความเย็นสินค้าพิพาทจึงมิใช่เพียงเครื่องสายพาน ลำเลียงหรือเครื่องลำเลียงอาหารสดเท่านั้นและถึงแม้ว่าสินค้าพิพาทจะไม่สามารถผลิตสารทำความเย็นได้ ด้วยตนเองและไม่มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับคอมเพรสเซอร์ คอนเดนเซอร์ ลิ้นลดความดัน คงมีแต่แผงกระจายความเย็น ที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกับอีแวโพเรเตอร์ ก็ตาม แต่ก็สามารถ ทำความเย็นได้ด้วยการนำถังบรรจุสารทำความเย็นมาติดตั้ง และต่อท่อส่งสารทำความเย็นไปที่ระบบหัวฉีดของเครื่อง แล้วนำสินค้าพิพาทแช่แข็งอาหารได้ ดังนี้ สินค้าพิพาท จึงจัดเป็นเครื่องอุปกรณ์ทำความเย็นหรือทำให้เย็นจนแข็งอื่น ๆซึ่งมิใช่แบบคอมเพรสชันที่คอนเดนเซอร์เป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนอันเป็นสินค้าจัดอยู่ในประเภทพิกัด 8418.69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิด: การพิจารณาประเภทคดีและระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องโต้แย้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2นำข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องมาปรับเข้ากับตัวบทกฎหมาย โดยไม่ถูกต้อง มิใช่เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง แต่เป็น ฎีกาในข้อกฎหมาย ไม่ต้องห้ามฎีกา โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยปฏิบัติหน้าที่บกพร่องหรือประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยครอบครองหรือยึดถือทรัพย์ของโจทก์ไว้ แล้วโจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ดังกล่าวคืนดังที่โจทก์ฎีกาไม่ กรณีต้องปรับด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นับแต่เวลาที่จำเลยกระทำละเมิดจนถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความคดีเช็ค: ระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา แม้มีข้อยกเว้น
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการประนีประนอมยอมความในคดีเช็ค: สิทธิในการฟ้องอาญาและข้อยกเว้นที่โมฆะ
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทต่อมาโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาคดีตามยอมถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์คงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก เมื่อหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นเป็นอันระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีมาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด
แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ว่าการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่ถือว่าเป็นการยอมความตามกฎหมายในอันที่จะทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับเช็คพิพาทเป็นอันระงับข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 7 โดยชัดแจ้ง จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 และข้อตกลงดังกล่าวสามารถแยกออกต่างหากจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้ออื่นได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวตกเป็นโมฆะทั้งหมด