พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้เลี้ยงช้างต่อความเสียหายที่เกิดจากช้าง การแบ่งแยกความรับผิดระหว่างเจ้าของและผู้เลี้ยง
จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของช้างพลายนวล จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นบุตรจำเลยที่ 3 และเป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษาช้างพลายนวลไว้แทนเจ้าของ จำเลยที่ 4 และที่ 5 นำช้างพลายนวลเข้ามาแห่ในงานขบวนแห่นาคกับช้างอื่น ๆ ซึ่งมีช้างของโจทก์รวมอยู่ด้วย ช้างพลายนวลชนช้างของโจทก์ได้รับบาดเจ็บและตายในเวลาต่อมา จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 5 นำช้างมาร่วมในขบวนแห่นาคเพราะอยู่คนละหมู่บ้านกัน แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้รับเลี้ยงรับรักษาช้างพลายนวลโดยเด็ดขาด โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รับประโยชน์และเกี่ยวข้องด้วย ความรับผิดย่อมตกแก่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 433 จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร
โจทก์นำสินค้าผ้าฝ้ายจากเมืองฮ่องกงเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเพื่อผลิตเป็นสินค้าเสื้อผ้าส่งออกไปยังต่างประเทศซึ่งการส่งออกดังกล่าวต้องมีโควตาและรับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์เป็นหนังสือ แต่โจทก์ไม่มีโควตา จึงมอบให้บริษัท ว. เป็นผู้ส่งออกในนามของบริษัทดังกล่าว แม้ว่าตามมาตรา 19 ทวิ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 จะเพียงแต่บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้าดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออกดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตาม พ.ร.บ. ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วย การที่บริษัท ว. ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุในใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2473/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งออกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้เสียสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า แม้ผู้นำเข้าจะอ้างว่าไม่ทราบการกระทำของผู้ส่งออก
แม้มาตรา 19 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ประกอบมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อ 19 และ ข้อ 9 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 จะเพียงแต่ บัญญัติให้ผู้นำเข้าต้องส่งสินค้าที่ผลิตด้วยของที่นำเข้า ดังกล่าวออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันนำเข้า จึงจะได้รับคืนเงินอากรขาเข้าก็ตาม แต่การส่งออก ดังกล่าวต้องเป็นการส่งออกโดยชอบตามมาตรา 45แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัติศุลกากรและกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรและยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องด้วยการที่บริษัทว.ส่งสินค้าของโจทก์ไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งยังระบุใน ใบกำกับสินค้าว่าส่งออกไปยังเมืองฮ่องกงนั้น ถือเป็นการส่งออกที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 45 ซึ่งการกระทำดังกล่าวผูกพันโจทก์ด้วย โจทก์จะอ้างว่าตนไม่ทราบถึงการกระทำของบริษัทดังกล่าวหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยคืนเงินอากรขาเข้าตาม พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 19 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินที่ให้เพื่อสร้างสถานีตำรวจ เมื่อทางราชการไม่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และกฎหมายกำหนด
โจทก์ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ที่ดินมีโฉนดแก่จำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2512 โดย มีเงื่อนไขเพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจภูธร ต่อมาเมื่อ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2522 จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อ เจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุจึงขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นกระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้จะระบุในสารบัญจดทะเบียนว่าสงวนไว้เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจภูธรแต่เวลาล่วงเลยมานับแต่โจทก์ให้ที่ดินถึงวันฟ้องเป็นเวลา 27 ปีเศษ ทางราชการยังไม่มีการปลูกสร้างในที่ดินที่โจทก์ ยกให้ ครั้นโจทก์ขอที่ดินคืน จำเลยที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 12 มกราคม 2539 ตอบโจทก์ว่า เนื้อที่ดินที่ทางราชการได้มา ไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสร้างสถานีตำรวจได้ปรากฏว่ามีกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุฯ ข้อ 8 กำหนดว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุคืนให้แก่ผู้ยกให้ หรือทายาทของผู้ยกให้จะกระทำได้เมื่อ (2) ทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ หรือมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในสิบปี นับแต่วันที่ยกที่ดินนั้นให้แก่ทางราชการ (3) ผู้ยกให้หรือทายาท ของผู้ยกให้ได้ยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายในสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์หรือนับแต่ วันที่ครบระยะเวลาตาม (2) ดังนี้ จึงฟังได้ว่า ทางราชการ ไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ ของโจทก์ อีกทั้งมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ภายในสิบปีนับแต่วันที่โจทก์ให้ที่ดินแก่ทางราชการตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 8(2) และเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 ก็ยังอยู่ในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ตามหนังสือลงวันที่ 12 มกราคม 2539 ที่จะไม่ใช้ ประโยชน์ ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 3 จำเลยทั้งสองจึงต้องจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินราชพัสดุเมื่อไม่ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ที่ดินมีโฉนดแก่จำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจ ต่อมาจำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ราชพัสดุ จึงขอเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นกระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้จะระบุในสารบัญจดทะเบียนว่าสงวนไว้เพื่อประโยชน์ใช้ปลูกสร้างสถานีตำรวจ แต่เวลาล่วงเลยมานับตั้งแต่โจทก์ให้ที่ดินถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นเวลา 27 ปีเศษแล้ว ทางราชการยังไม่มีการปลูกสร้างสถานีตำรวจในที่ดินโจทก์ จึงฟังได้ว่า ทางราชการไม่ประสงค์จะใช้ประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ อีกทั้งมิได้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ภายในสิบปีนับแต่วันที่โจทก์ให้ที่ดินแก่ทางราชการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อ 8 (2) ซึ่งจำเลยทั้งสองตกอยู่ในฐานะผู้ที่จะต้องคืนที่ดินนับแต่เวลาที่ถูกโจทก์เรียกคืน เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเสนอคดีฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลในวันที่ยังอยู่ในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่ทางราชการแจ้งความประสงค์ที่จะไม่ใช้ประโยชน์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2537) ข้อ 3 จำเลยทั้งสองจึงต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพยายามฆ่า แม้จำเลยรับสารภาพ แต่พยานหลักฐานมีน้ำหนักมั่นคง ศาลไม่ลดโทษ
เหตุเกิดเวลาเช้า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่โล่งผู้เสียหายเป็นญาติจำเลยรู้จักกันมาเป็นเวลา 10 ปีเศษในระยะห่างกันเพียง 11 เมตร ผู้เสียหายย่อมจะเห็นและจดจำ จำเลยได้นอกจากนี้หลังจากนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลแล้ว ผู้เสียหายก็โทรศัพท์แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจในทันทีว่าจำเลยเป็นคนร้าย วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยและคงยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายตลอดมา ทั้งยังได้ความว่า ขณะนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลผู้ตายก็บอกผู้เสียหายว่า จำเลยเป็นคนยิง พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคง รับฟังได้แน่ชัดปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนคำรับสารภาพ ในชั้นศาลของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา แต่อย่างใด นอกจากนี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยก็มิได้ ให้การรับสารภาพเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้สำนึกผิด ในการกระทำ การที่จำเลยเพิ่งจะมาให้การรับสารภาพภายหลัง ในชั้นศาลแสดงให้เห็นว่าเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน ประกอบกับ พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะร้ายแรงและโหดเหี้ยม กรณีจึง ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน ทางออกสู่ถนนสาธารณะสำคัญ จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดได้หากรู้เห็น
ข้อตกลงรับรองว่าที่ดินที่ซื้อขายมีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ สามารถแยกต่างหากจากสัญญาซื้อขายที่ดินได้ และไม่มีกฎหมาย บัญญัติให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะใช้บังคับกันได้ ดังนั้นแม้ ในสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ได้ระบุข้อตกลง เรื่องทางออกสู่ถนนสาธารณะไว้ ก็หาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นจาก ความรับผิดตามข้อตกลงดังกล่าว เมื่อปรากฏภายหลังว่า ที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะตามข้อตกลงเป็นผลให้ ที่ดินพิพาทมีราคาต่ำลง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแต่จำเลยที่ 2 ก็รับว่าที่ดินพิพาทได้มาหลังจากจำเลยทั้งสองแต่งงานกัน อันถือได้ว่าเป็นสินสมรส ซึ่งในวันทำสัญญาจะซื้อขายและวันจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2ได้ร่วมไปด้วย แสดงว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นให้ความยินยอมในการ ที่จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องผูกพันร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินเท่าใดแน่แต่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทอย่างที่ดินที่มีทางออกสู่ ถนนสาธารณะ เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ ย่อมทำให้คุณค่าหรือราคาที่ดินพิพาทตกต่ำลง ศาลย่อมกำหนดค่าเสียหาย ในส่วนนี้ให้ตามความเหมาะสม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้นในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดย ไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึง วันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าว ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้น ในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมายศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากร ที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออก ถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็น เงินอากร ดังนั้น ในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้อง นับเป็นหนึ่งเดือนด้วย