พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ต้องห้ามและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรและป่าไม้
เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ยี่ห้อสติลพร้อมบาร์และโซ่ ซึ่งจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้แปรรูปไม้หวงห้ามในคดีนี้ เป็นสินค้าที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่สินค้าดังกล่าวได้บรรทุกในยานพาหนะเพื่อส่งจากต่างประเทศต้นทางมายังประเทศไทยก่อนวันที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ หรือได้รับหนังสืออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ พร้อมอุปกรณ์ของกลางในคดีนี้ เป็นสินค้าที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยถูกต้องเช่นนี้ก็ต้องฟังว่าเครื่องเลื่อยโซ่ยนต์พร้อมอุปกรณ์ของกลางเป็นสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย เพราะมีประกาศของกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 91 พ.ศ. 2521 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วกำหนดไว้อย่างชัดเจนโจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากร: การนำเข้าของต้องห้ามและการช่วยเหลือซ่อนเร้น ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาโดยยกข้อกล่าวหาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 27 ฐานนำของต้องห้ามที่ยังมิได้เสียภาษีอากรขาเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิได้ผ่านด่านศุลกากรให้ถูกต้องเป็นความผิดแยกต่างหากจากความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใดซึ่งของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 27 ทวิ ซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ ทั้งโจทก์มิได้ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 27 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดศุลกากรต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน หากโจทก์ไม่นำสืบพยาน ศาลลงโทษไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร เป็นผู้ลักลอบนำพาเลื่อยยนต์ ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศซึ่งยังมิได้เสียภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเรียกค่าภาษีอากรขาเข้า หรือมิฉะนั้น จำเลยได้ซื้อรับจำนำ รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ และช่วยพาเอาไปเสียช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำพาหนี้ศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นคนละความผิดกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองข้อหาดังกล่าวย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การว่า "ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ" ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจนและการสืบพยาน: ศาลไม่สามารถลงโทษฐานความผิดที่ไม่ปรากฏจากการสืบพยานได้
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าได้ร่วมกันลักลอบนำเลื่อยโซ่ยนต์ที่ยังมิได้เสียภาษีและมิได้ผ่านศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือจำเลยได้ร่วมกันซื้อรับจำนำ ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่ายหรือรับไว้ซึ่งเลื่อยดังกล่าว โดยรู้ว่าเป็นของที่ลักลอบหนีศุลกากร เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ หากโจทก์เห็นว่าคำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยรับสารภาพในความผิดฐานใด โจทก์ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานต่อไป เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยไม่ได้คดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ (หมายถึงย้อนไปจดคำให้การให้ชัดเจนใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2705/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพจำเลย, การอธิบายฟ้อง, และหน้าที่โจทก์ในการสืบพยานเพื่อพิสูจน์ความผิด
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลลงโทษจำเลยกับพวกฐานใดฐานหนึ่งระหว่างร่วมกันลักลอบนำเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางที่เจ้าพนักงานยึดไว้อันเป็นของที่ผลิตในต่างประเทศที่ยังมิได้ผ่านด่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรและโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี หรือร่วมกันซื้อ รับจำนำ ช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย หรือรับไว้ ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ของกลาง โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่มีผู้ลักลอบนำหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรที่ต้องเสียสำหรับของนั้น ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิ จำเลยทั้งสองให้การว่าได้รับทราบคำฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดและเป็นความจริงตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ไม่ขอต่อสู้และไม่ต้องการทนายความ ซึ่งคำว่าทราบหมายความว่ารู้หรือเข้าใจ แสดงว่าศาลได้อธิบายฟ้องให้จำเลยฟังเข้าใจแล้ว จำเลยจึงได้ให้การเท้าความว่าจำเลยได้ทราบคำฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว และโจทก์เองก็ได้ลงลายมือชื่อไว้ในคำให้การของจำเลยและรายงานกระบวนพิจารณาด้วย หากโจทก์เห็นว่า คำให้การของจำเลยที่ศาลจดไว้ไม่ชัดแจ้ง โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลง ขอสืบพยานต่อไปเพราะเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใดแน่ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ และคดีไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนและพิพากษาใหม่แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้กับความผิดฐานพยายามทำไม้ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) บัญญัติว่า"ทำไม้" หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อนผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่าหรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ " ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำว่า ตัด ฟัน และการกระทำอื่น ๆ อันเป็นการทำไม้ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของคำว่า "ตัด" ว่า ทำให้ขาดด้วยของมีคม ทอนคำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมเช่นดาบฟันลงไป เช่น ฟันคลื่นคือเอาหัวเรือตัดคลื่นไป "กาน" หมายถึงตัดเพื่อให้แตกใหม่ "โค่น"หมายถึง ล้มหรือทำให้ล้มอย่างต้นไม้ล้ม ทลายลง "ลิด" หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง "เลื่อย" หมายถึง ตัดด้วยเลื่อย ความหมายของคำว่า "ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธี ตัด ฟัน กานโค่นลิด เลื่อย ผ่าถาก ทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่ทำให้เห็นว่าต้องเป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และถือเป็นความเป็นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทางธรรมชาติไว้ เมื่อปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย สึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้น ต้นยางดังกล่าวมิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอดเป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่ความผิดสำเร็จ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบ จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ปรากฏว่า พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัลและปรากฏตามพระราชบัญญัติ ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ทั้งให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไขเพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาจึงยังไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับทางศุลกากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการจ่ายรางวัลเจ้าพนักงานจับกุม
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว คำว่า "ค่าอากร" ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยศาลอุทธรณ์นำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ที่จับกุมร้อยละสิบห้าของค่าปรับแต่คดีนี้เป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลางและไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคำนวณโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ค่าอากรเฉพาะศุลกากร ไม่รวมภาษีสรรพสามิตและมูลค่าเพิ่ม
พระราชบัญญัติ ญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้นคำว่า "ค่าอากร" หมายถึง ค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หารวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่จึงจะนำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับด้วยมิได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษปรับโดยให้ลงโทษจำคุกด้วย แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยให้หนักขึ้นโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ เมื่อเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลาง และไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละ 20 ของราคาของกลาง ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสองหาใช่ร้อยละ 15 ของค่าปรับไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์การนำเข้าสินค้าและการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรตกอยู่แก่ผู้ซื้อ จำเลยต้องพิสูจน์ว่าได้เสียภาษีถูกต้องแล้ว
หน้าที่พิสูจน์ว่าสินค้าผ้าของกลางที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ตกอยู่แก่จำเลยผู้ซื้อสินค้าผ้าของกลางจะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าได้มีการเสียภาษีถูกต้องแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 100 หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ศุลกากร: จำเลยต้องพิสูจน์การเสียภาษีของสินค้าที่ซื้อเข้ามา
ความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิจะต้องเป็นการซื้อของที่ตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ซึ่งหน้าที่พิสูจน์ในกรณีนี้ตกอยู่แก่จำเลยที่จะต้องมีภาระการพิสูจน์ว่าสินค้าของกลางซึ่งได้นำเข้ามาจากต่างประเทศได้เสียภาษีโดยถูกต้องแล้ว ดังที่มาตรา 100 บัญญัติไว้หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะนำสืบไม่ เมื่อจำเลยไม่นำสืบ เพียงแต่อ้างว่าเป็นสินค้าที่จำหน่ายโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะขายในตลาดสุขาภิบาลโดยเปิดเผย จึงเป็นความเข้าใจของจำเลยที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวกับกรณีนี้ และไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิด จึงต้องฟังว่าจำเลยซื้อสินค้าของกลางโดยรู้ว่ายังไม่ได้เสียค่าภาษี