พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน ศาลฎีกาพิพากษายกประเด็นค่าเช่าที่ดิน หากฟ้องไม่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจาก จำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดินการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการถอดถอนผู้จัดการมรดก และสิทธิผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
ผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีในการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องครั้งแรกฝ่ายเดียว และประเด็นในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นครั้งแรกเป็นเรื่องผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนประเด็นครั้งหลังเป็นเรื่องสมควรถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ซึ่งแตกต่างกัน ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เมื่อมีเหตุอันสมควรศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
ผู้ร้องร่วมดูแลจัดการในบ้านของผู้ตายหลายประการ ผู้ร้องเป็นภรรยาผู้ตาย อยู่กินกับผู้ตายมานาน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ครั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านได้ทราบแล้วไม่คัดค้าน จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยชอบแล้ว ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ภรรยาผู้ตาย มิได้ร่วมจัดการทรัพย์สินกับผู้ตาย ก็รับฟังไม่ได้ ทั้งทายาทโดยธรรมอื่นเช่นเดียวกับผู้คัดค้านก็เห็นว่าควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้ร้องร่วมดูแลจัดการในบ้านของผู้ตายหลายประการ ผู้ร้องเป็นภรรยาผู้ตาย อยู่กินกับผู้ตายมานาน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ครั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านได้ทราบแล้วไม่คัดค้าน จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยชอบแล้ว ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ภรรยาผู้ตาย มิได้ร่วมจัดการทรัพย์สินกับผู้ตาย ก็รับฟังไม่ได้ ทั้งทายาทโดยธรรมอื่นเช่นเดียวกับผู้คัดค้านก็เห็นว่าควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3511/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการถอดถอนผู้จัดการมรดก และสิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก
ผู้คัดค้านมิได้เป็นคู่ความในคดีในการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องครั้งแรกฝ่ายเดียว และประเด็นในการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นครั้งแรกเป็นเรื่องผู้ร้องเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนประเด็นครั้งหลังเป็นเรื่องสมควรถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ซึ่งแตกต่างกัน ทั้งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1727 เมื่อมีเหตุอันสมควรศาลมีอำนาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้ จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
ผู้ร้องร่วมดูแลจัดการในบ้านของผู้ตายหลายประการ ผู้ร้องเป็นภรรยาผู้ตาย อยู่กินกับผู้ตายมานาน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ครั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านได้ทราบแล้วไม่คัดค้าน จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยชอบแล้วที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ภรรยาผู้ตาย มิได้ร่วมจัดการทรัพย์สินกับผู้ตาย ก็รับฟังไม่ได้ ทั้งทายาทโดยธรรมอื่นเช่นเดียวกับผู้คัดค้านก็เห็นว่าควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ผู้ร้องร่วมดูแลจัดการในบ้านของผู้ตายหลายประการ ผู้ร้องเป็นภรรยาผู้ตาย อยู่กินกับผู้ตายมานาน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ครั้นผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านได้ทราบแล้วไม่คัดค้าน จนศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยชอบแล้วที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องมิใช่ภรรยาผู้ตาย มิได้ร่วมจัดการทรัพย์สินกับผู้ตาย ก็รับฟังไม่ได้ ทั้งทายาทโดยธรรมอื่นเช่นเดียวกับผู้คัดค้านก็เห็นว่าควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดีรื้อถอนและการดำเนินการแทน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่าถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 วรรคสองซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับคดี: ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ เป็นกฎหมายเฉพาะเหนือกว่า ป.พ.พ. มาตรา 213
โจทก์จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการรื้อถอนให้โจทก์หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้รื้อถอน โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดไม่ได้ เพราะเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะดำเนินการตามป.วิ.พ.มาตรา 296 ทวิ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาจึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 213 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติที่มิใช่บทบัญญัติในการบังคับคดี มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือที่ไม่สมบูรณ์ และผลต่อคำฟ้อง
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่ง ทนายความ ในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสองมีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองและการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการ เช่นให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาลแต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่ โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนิน กระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้น โดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และ 67(5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความไม่สมบูรณ์ และผลต่อคำฟ้อง การแก้ไขข้อบกพร่องโดยผู้รับมอบอำนาจ
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ การแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ ทนายความผู้นั้นจึงไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ซึ่งเท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18วรรคสองคดีนี้เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้วบุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย เมื่อได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกัน ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 และ 67(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือไม่สมบูรณ์ การแก้ไขคำฟ้อง และการดำเนินคดีแทนโจทก์
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 9 วรรคสอง มีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 18 วรรคสอง และการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการเช่น ให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาล แต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18 และ 67 (5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาล แต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18 และ 67 (5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองในคดีมรดก ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดาจำเลยทั้งสองซึ่งตกทอดแก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเพราะไม่ได้ฟ้องภายใน 1 ปี คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองนั้น จำเลยทั้งสองต้องยอมรับก่อนว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่จำเลยทั้งสองแย่งการครอบครองมา เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้สั่งการในสัญญาจัดอบรมสัมมนา
เมื่อฝ่ายจำเลยกับโจทก์ทำสัญญากันให้โจทก์จัดสถานที่ อบรมสัมมนาที่พักพร้อมอาหารเครื่องดื่มให้แก่ฝ่ายจำเลยซึ่งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ ส่วนโจทก์แม้จะยังไม่ได้ รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมก็เป็นการไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันไม่มีผลกระทบสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้มาติดต่อใช้โรงแรม ของโจทก์จัดอบรมสัมมนา และตกลงชำระค่าจัดอบรมสัมมนา เป็นเช็คโดยมีข้อตกลงกันว่า หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งห้าจะร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งต่อมาธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ก็ออกเช็คชำระหนี้ บางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งจำเลยที่ 5 ชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่โจทก์ด้วย ย่อมเป็นการบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 มีส่วนร่วมในการจัดอบรมสัมมนา นอกจากนี้ยังปรากฏว่า การดำเนินกิจการและการจ่ายเงินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งและตัดสินใจคนเดียว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะเป็น ข้าราชการแต่ก็ได้ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการ ของจำเลยที่ 1แทน แสดงว่าจำเลยที่ 4 ร่วมดำเนินกิจการกับ จำเลยที่ 1 ด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 และ ที่ 5 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดำเนินกิจการ อบรมสัมมนาและทำสัญญาตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยที่ 4 และ ที่ 5 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระหนี้ ให้แก่โจทก์