พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 ทวิ: ความผิดต่อองค์รวมไม่ใช่รายบุคคล
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดให้ลงโทษปรับแก่ผู้กระทำความผิดเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงินสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยนั้นชอบแล้ว แต่ที่ให้แบ่งปรับคนละ 18,200 บาท นั้นไม่ชอบ เพราะแม้มาตรา 27 ทวิ จะมิได้บัญญัติข้อความเจาะจงลงไปว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเช่นเดียวกับมาตรา 27ก็ตาม แต่มาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้ายและเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27ดังนั้น ในเรื่องโทษนี้ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27 ว่าสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ นั่นเองไม่ใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคลคนละเท่า ๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5542/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี และผลของการไม่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 หาได้บัญญัติให้การเช่ามีกำหนดกว่าสามปีขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนการเช่าในทันทีหรือในขณะทำสัญญาไม่ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยสมัครใจทำสัญญาเช่ากันเป็นหนังสือมีกำหนด 20 ปี 5 เดือนนั้น ตราบใดที่ยังมิได้จดทะเบียนการเช่า สัญญาเช่าดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ 3 ปี และข้อกำหนดทุกข้อตามสัญญาโดยเฉพาะข้อที่ระบุให้ผู้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2536 โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าอากรในการจดทะเบียนการเช่านั้นก็ย่อมผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาภายในระยะเวลาดังกล่าวด้วย เพราะข้อตกลงไปจดทะเบียนการเช่าภายหลังเป็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามที่มาตรา 538 กำหนดไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าภายในกำหนดที่ระบุในสัญญาแล้ว จำเลยไม่ยอมไป โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับใช้สิทธิดังกล่าวภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าและข้อกำหนดยังมีผลบังคับได้ จำเลยจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5254/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการส่งหมายเรียก: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลที่ทำให้สืบพยานไม่ได้ก่อนสั่งขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์ในการกำหนดเป็นมาตรการให้ศาลนำมาใช้เพื่อให้สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาให้สำเร็จลุล่วงไปได้ในกรณีที่ศาลและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งพร้อมที่จะสืบพยานตามที่นัดได้ แต่โจทก์ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่ศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่พร้อมที่จะสืบพยานเช่น ศาลติดพิจารณาคดีอื่นหรือกรณีคดีนี้ที่ยังส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ แม้โจทก์และพยานโจทก์มาศาล ศาลก็ไม่สามารถจะสืบพยานโจทก์ตามที่นัดไว้ได้ ดังนั้น โดยเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งบทกฎหมายดังกล่าว และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลจึงยังไม่ควรด่วนสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ไม่ขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนไว้แทนโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ให้การปฏิเสธว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องภารจำยอมได้ และสิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภารจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ส. กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภารจำยอมไปแล้ว แม้ ส. กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภารจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภารจำยอมของ ส. กับโจทก์ได้ โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส. ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส. แล้ว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วย ย่อม ทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนด เลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมเกิดขึ้นได้จากการใช้ทางต่อเนื่อง 10 ปี แม้ยังมิได้จดทะเบียน ผู้ซื้อที่ดินต้องยอมรับสิทธิเดิม
ผู้จัดการมรดกมีอำนาจทำการแทนทายาทเกี่ยวกับทรัพย์มรดกได้การฟ้องคดีนี้ก็เพื่อปลดเปลื้องการรบกวนและเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อรักษาไว้ซึ่งภาระจำยอมแทนทายาทผู้เป็นเจ้าของสามยทรัพย์ ถือได้ว่าเป็นการทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ส.กับโจทก์ใช้ทางบนที่ดินที่พิพาทมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอม จำเลยเพิ่งซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจาก ส.กับโจทก์ได้ภาระจำยอมไปแล้ว แม้ ส.กับโจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมหรือ(จำเลย)รับโอนภารยทรัพย์มาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจต่อสู้กับสิทธิภาระจำยอมของ ส.กับโจทก์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องชัดแจ้งว่า ขอให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.ด้วย แม้ในคำขอท้ายฟ้องไม่ได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุเลขที่ดินของ ส.ไว้แล้ว ถือได้ว่าโจทก์มีคำขอบังคับให้ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ของ ส.แล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ส.กับโจทก์ แต่ในคำพิพากษามิได้ระบุที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ด้วยย่อมทำให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 11835 ดังกล่าวนั้นไร้ผล ถือว่าเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4062/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ในเวลากลางคืนและพยานหลักฐานที่ไม่ชัดเจนเพียงพอต่อการลงโทษ
เหตุเกิดในเวลากลางคืน คนร้ายอยู่รวมกลุ่มจำนวนมากถึง 5 คน ซึ่งพยานทั้งสองไม่เคยเห็นหน้าคนร้ายมาก่อน แม้จะมีแสงสว่างจากไฟฟ้าชนิดโคมกลมที่มีแสงสีขาวคล้ายแสงจากหลอดไฟฟ้าชนิดฟลูออเรสเซนต์ก็ตาม แต่โคมไฟดังกล่าวอยู่เยื้องไปด้านหลังและด้านข้างของกลุ่มคนร้าย ทั้งเหตุการณ์ขณะที่กลุ่มคนร้ายอยู่บริเวณขอบสระน้ำก็อยู่ในสภาวะของการใช้ขวดสุรากับไม้ขว้างปาซึ่งพยานทั้งสองต้องคอยหลบหลีกอาวุธดังกล่าวและขณะที่กลุ่มคนร้ายตามลงไปทำร้ายผู้เสียหายในสระน้ำแล้วจับหน้าผู้เสียหายกดน้ำจนผู้เสียหายดิ้นนั้น ก็เป็นเวลาที่สั้นและอยู่ในสภาวะชุลมุนและน่าตกใจกลัว ย่อมทำให้โอกาสและความสามารถของพยานทั้งสองที่จะสังเกตและจดจำหน้าคนร้ายทั้ง 5 คน ได้อย่างแม่นยำน่าจะเป็นไปได้น้อยมาก ประกอบกับพยานทั้งสองไม่ได้แจ้งลักษณะรูปพรรณของคนร้ายให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบหลังเกิดเหตุแต่อย่างใดและผู้เสียหายชี้ตัว ป. ที่ถูกจับในคืนเกิดเหตุก็โดยอาศัยเสื้อผ้า ป. ที่เปียกน้ำ นอกจากนี้การที่ร้อยตำรวจเอก ส. เบิกความว่าผู้เสียหายดูรูปถ่ายจำเลยกับ จ. แล้วยืนยันว่าเป็นคนร้าย แต่ผู้เสียหายไม่ได้เบิกความถึงเลยว่าได้ดูรูปถ่ายจำเลย พยานโจทก์จึงไม่สอดคล้องต้องกัน ส่วนการที่พยานทั้งสองชี้ตัวและชี้รูปถ่ายจำเลยได้ถูกต้องภายหลังจำเลยถูกจับเป็นเวลานานถึง 9 เดือน หลังเกิดเหตุก็น่าระแวงสงสัยเช่นกันว่าพยานทั้งสองจะจำหน้าจำเลยได้แม่นยำจริงหรือไม่ ดังนั้น การจับและกล่าวหาจำเลยจึงสืบเนื่องมาจากคำซัดทอดของ ป. ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะข้อเท็จจริงรับฟังยุติแล้วว่าจำเลยมิได้เป็นคนร้ายปล้นทรัพย์ โจทก์คงมีเพียงพยานบอกเล่าคือสำเนาบันทึกการจับกุม บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนที่จำเลยให้การรับสารภาพว่าร่วมกับพวกทำร้ายผู้เสียหาย แต่พยานดังกล่าวได้มาโดยไม่ชอบ เพราะเจ้าพนักงานตำรวจนำกระดาษเปล่ามาให้จำเลยเซ็น พยานหลักฐานโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน: ศาลไม่อนุญาตให้คิดค่าใช้ที่ดินหากฟ้องแต่ค่าเสียหายจากการรุกล้ำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจากจำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดิน การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1312
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน ศาลฎีกาพิพากษายกประเด็นค่าเช่าที่ดิน หากฟ้องไม่ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างไปจากที่ดินโจทก์แล้ว จำเลยทั้งสองเพิกเฉย เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่สามารถที่จะเข้าไปใช้หรือเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ได้ หากที่ดินพิพาทให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเอาเป็นค่าเสียหายของโจทก์ โดยโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าใช้ที่ดินจาก จำเลย จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้มีชื่อโดยมีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว เป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตและต่อสู้เรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องค่าใช้ที่ดินการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายเนื่องจากโรงเรือนของจำเลยทั้งสองรุกล้ำที่ดินโจทก์ เท่ากับโจทก์เรียกค่าใช้ที่ดินของโจทก์จากจำเลยจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ให้จำเลยชำระค่าใช้ที่ดินแก่โจทก์ แต่ไม่ ตัดสิทธิคู่ความที่จะไปว่ากล่าวกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312