พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องผิดฐานทางสิทธิ ศาลปรับข้อเท็จจริงตามกฎหมายได้ แม้เป็นทางสาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์และจำเลยอยู่ติดกันโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์มานานกว่า 10 ปี ไม่มีบุคคลใดคัดค้าน ต่อมาจำเลยได้รื้อเสารั้วแนวเขตเดิมแล้วนำมาปักไว้ในทางพิพาท ทำให้ทางพิพาทแคบลงเป็นเหตุให้โจทก์ใช้รถยนต์ผ่านเข้าออกที่ดินของโจทก์ไม่ได้ตามปกติ ขอให้จำเลยรื้อถอนเสารั้วออกไป แม้โจทก์ระบุในคำฟ้องผิดพลาดว่า เป็นทางภารจำยอมก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้คำฟ้องเสียไป ส่วนทางพิพาทที่ถูกต้องจะเป็นทางอะไรนั้น เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องปรับข้อเท็จจริงเข้ากับตัวบทกฎหมายเอง ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วางเพลิงทรัพย์สินราคาไม่สูง ผู้เสียหายดับไฟได้ทัน การกระทำไม่น่าเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
ทรัพย์ที่เป็นอันตรายจากการวางเพลิงของจำเลยเป็นเพียงประตูบ้านซึ่งทำด้วยไม้มะค่าและต้นไม้ประดับ คิดเป็นเงินประมาณ 5,000 บาท ถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่มีราคาน้อย และขณะเกิดเหตุผู้เสียหายก็อยู่ในที่เกิดเหตุและสามารถดับไฟได้ทัน การกระทำของจำเลยจึงไม่น่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น กรณีเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218(1) ประกอบด้วยมาตรา 223
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีและการย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาปัญหาที่ศาลล่างยังไม่ได้วินิจฉัย
ปัญหาข้อเท็จจริงตามฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อใดนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2536 โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้าน ว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ถูกต้อง จึงเป็นอันยุติ
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะเหตุใด
ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาตามฎีกาของโจทก์และคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะเหตุใด
ศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยในปัญหาตามฎีกาของโจทก์และคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์, อายุความมิใช่สภาพแห่งข้อหา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2536 เมื่อโจทก์อุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่อย่างไร ปัญหาที่ว่าโจทก์ได้ทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อใดจึงเป็นอันยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ที่ว่า โจทก์เพิ่งทราบถึงการตายของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2540 นอกจากจะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามแล้วยังเป็นฎีกาในข้อที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง อีกด้วย
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความจึงมิใช่เรื่องฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น
อายุความไม่ใช่สภาพแห่งข้อหา โจทก์จึงไม่ต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ต่อโจทก์คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่ขาดอายุความจึงมิใช่เรื่องฎีกานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดวงเงินทุนทรัพย์อุทธรณ์-ฎีกา: ศาลอุทธรณ์-ฎีกาต้องห้ามหากทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้เงิน 150,194 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากต้นเงิน 139,716 บาท นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ 112,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระหนี้เต็มตามฟ้อง ดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เท่ากับจำนวนเงินตามที่โจทก์ฟ้อง 150,194 บาท หักด้วยจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระ 112,000 บาทกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันฟ้องอีก 8,400 บาท แล้ว คือ 29,794 บาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9846/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาและการบังคับคดี: กำหนดระยะเวลาการเฉลี่ยเงิน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยสั่งอายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจาก ส. ผู้ถูกอายัด และผู้ถูกอายัดได้ส่งเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นตามคำสั่งอายัด ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2541 ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณา คำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260(2) เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีให้ อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีนับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว จึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินดังกล่าวก่อนสิ้นระยะเวลา14 วัน นับแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดี อันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตามมาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9846/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์หลังศาลออกหมายบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยสั่งอายัดเงิน 450,000 บาท ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากเทศบาลเมือง ส. และเทศบาลเมือง ส. ได้ส่งเงินจำนวนดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นตามคำสั่งอายัด ต่อมา ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ โดยในคำพิพากษามิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลได้สั่งไว้ในระหว่างการพิจารณาคำสั่งอายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260(2) เมื่อโจทก์ยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดีแล้วเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2541 ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2541 อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่จำเป็นเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลได้ จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้แทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และได้มีการชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี นับตั้งแต่วันที่ศาลออกหมายบังคับคดีแล้ว ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ดังกล่าวก่อนสิ้นระยะเวลา14 วันนับแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ศาลออกหมายบังคับคดีอันถือได้ว่าเป็นวันที่มีการชำระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคห้า หาใช่นับแต่วันที่ 14 มกราคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือขอให้ศาลชั้นต้นส่งเงินอันเป็นทรัพย์สินตามที่อายัดไว้ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ผู้ร้องอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้ และเริ่มนับใหม่เมื่อศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของโจทก์เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ เมื่อโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ในที่ดินพิพาทและได้ยื่นคำร้องต่อศาลในคดีดังกล่าวยอมรับว่าที่ดินพิพาทที่นำยึดเป็นของโจทก์ ไม่ใช่ที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยและขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ถือได้ว่าจำเลย ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทนั้นแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(1) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้นตาม มาตรา193/15 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย วันที่ 18 กรกฎาคม 2539 เป็นเหตุที่ทำให้ อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดในวันดังกล่าวตาม มาตรา 193/15 จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2539โจทก์มาฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ วันที่ 4 กันยายน 2539 ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 448 วรรคหนึ่ง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดก vs. สัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก: ผลต่ออำนาจการเป็นผู้จัดการมรดก
บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านและ ว. ทำกันหน้าเจ้าพนักงานตำรวจมีข้อความชัดแจ้งว่า ผู้ร้องและ ว. ขอสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านและยอมให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกแต่เพียงผู้เดียว แต่การเจาะจงให้ทรัพย์มรดกแก่ผู้คัดค้านเช่นนี้เป็นการยกทรัพย์มรดกส่วนของตนให้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่ง ไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 อย่างไรก็ดีแม้ข้อตกลงระหว่างผู้ร้องและ ว. ฝ่ายหนึ่งกับผู้คัดค้านอีกฝ่ายหนึ่ง ดังกล่าว จะไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมายแต่ก็มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดก เมื่อทั้งสองฝ่ายลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือดังกล่าวแล้ว ย่อมผูกพันคู่สัญญาตามมาตรา 1750 วรรคสองผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกและไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ตั้ง ว. เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9088/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้คำร้องขอคืนของกลางไม่เป็นไปตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ประเภทบริษัทจำกัด ช.เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจทำการแทนผู้ร้อง และผู้ร้องโดย ช.มอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้องตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.2 แต่หนังสือรับรองของสาธารณรัฐปานามาที่ผู้ร้องอ้างส่งต่อศาล กลับมีข้อความระบุว่าบริษัทผู้ร้องก่อตั้งเป็นบริษัทจำกัด ตามกฎหมายฉบับที่ 32 ค.ศ. 1927 ของสาธารณรัฐปานามา ไม่ใช่ประเทศสิงคโปร์ดังที่ ส.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความ นอกจากนี้จากหนังสือดังกล่าวกรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งมีอำนาจทำการแทนผู้ร้องตามกฎหมายคือ อ.ไม่ใช่ ช. การที่ช.ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.2 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 1998มีนายเตียว เอง เหลียง (TEO ENG LEONG) โนตารีปับลิก (NOTARY PUBLIC)ประเทศสิงคโปร์รับรองว่าบุคคลที่มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจได้ทำหนังสือมอบอำนาจด้วยความสมัครใจ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 1998 (พ.ศ.2541)ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าได้ทำการมอบอำนาจกันที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ แม้หนังสือรับรองของโนตารีปับลิกจะมีตราสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ประทับอยู่ ก็เป็นการประทับรับรองว่านายเตียว เอง เหลียง เป็นโนตารีปับลิกเท่านั้น ไม่ได้รับรองหนังสือมอบอำนาจว่าถูกต้องใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่
ช.ลงลายมือในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้อง โดยช.ไม่มีอำนาจทำการแทนผู้ร้อง ส.ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจแต่งทนายความยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้อง ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์จึงยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม
คดีนี้เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบในคดีหลัก ประเด็นในคดีจึงมีเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของที่แท้จริงหรือไม่เท่านั้น สำหรับประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลสั่งริบของกลางไม่ได้นั้น ได้ยุติไปแล้วตามคำสั่งของศาลในคดีหลัก ผู้ร้องจึงฎีกาในประเด็นนี้ไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย ร.2 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 1998มีนายเตียว เอง เหลียง (TEO ENG LEONG) โนตารีปับลิก (NOTARY PUBLIC)ประเทศสิงคโปร์รับรองว่าบุคคลที่มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจได้ทำหนังสือมอบอำนาจด้วยความสมัครใจ ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 1998 (พ.ศ.2541)ไม่ปรากฏข้อความตอนใดที่แสดงว่าได้ทำการมอบอำนาจกันที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสิงคโปร์ แม้หนังสือรับรองของโนตารีปับลิกจะมีตราสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ประทับอยู่ ก็เป็นการประทับรับรองว่านายเตียว เอง เหลียง เป็นโนตารีปับลิกเท่านั้น ไม่ได้รับรองหนังสือมอบอำนาจว่าถูกต้องใช้ได้ตามกฎหมายหรือไม่
ช.ลงลายมือในหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ดำเนินคดีแทนผู้ร้อง โดยช.ไม่มีอำนาจทำการแทนผู้ร้อง ส.ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจแต่งทนายความยื่นคำร้องขอคืนของกลางแทนผู้ร้อง ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย โจทก์จึงยกขึ้นอ้างได้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นก็ตาม
คดีนี้เป็นสาขาคดีที่เจ้าของทรัพย์ร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบในคดีหลัก ประเด็นในคดีจึงมีเพียงว่าศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของที่แท้จริงหรือไม่เท่านั้น สำหรับประเด็นที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลสั่งริบของกลางไม่ได้นั้น ได้ยุติไปแล้วตามคำสั่งของศาลในคดีหลัก ผู้ร้องจึงฎีกาในประเด็นนี้ไม่ได้