พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสนับสนุนการยึดครองที่ดินในเขตป่าสงวนฯ จำเลยทราบพื้นที่ แต่ช่วยเอื้อประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ติดต่อหารถแทรกเตอร์ไปไถที่ดินที่เกิดเหตุเพื่อได้รับค่าตอบแทนจากเจ้าของรถแทรกเตอร์เท่านั้น จะถือว่าจำเลยที่ 1 ร่วมยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุร่วมกับจำเลยที่ 2 หาได้ไม่ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 2 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า เขตป่าสงวนแห่งชาติมีลำน้ำเป็นแนวเขตและมีหลักเขต พร้อมแผ่นป้ายแสดงแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตป่าสงวนแห่งชาติไว้ชัดเจน โดยอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 1 กิโลเมตรเท่านั้น จึงเชื่อว่า จำเลยที่ 1 ทราบว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยที่ 1 ติดต่อหารถแทรกเตอร์ไปไถที่ดินที่เกิดเหตุ แม้จะทำเพื่อหวังประโยชน์ตอบแทนจากเจ้าของรถแทรกเตอร์ดังที่จำเลยที่ 1 นำสืบ ก็ถือได้ว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิดจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8232/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วม การชำระหนี้บางส่วน และสิทธิบังคับคดี ศาลยืนยึดสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีกับลูกหนี้ร่วมรายอื่น
คำพิพากษาระบุไว้ชัดเจนว่าให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 3นำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อไถ่ถอนจำนองและโจทก์ตกลงรับชำระหนี้ จึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วกรณีไม่จำต้องนำที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายตลาด
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยการนำที่ดินมาจัดตั้งบริษัทและแบ่งหุ้นให้ทายาท ถือเป็นการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์แล้ว
การนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนจัดตั้งบริษัทขึ้นมาแล้วให้ทายาททุกคนเป็นผู้ถือหุ้นเพื่อดำเนินกิจการทำเหมืองแร่ในที่ดิน เป็นการจัดการตามที่จำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกซึ่งอยู่ในขอบอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719และ 1736 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการให้ทายาทเข้าครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดได้ เพราะทายาททุกคนจะเอาแต่ที่ดินที่อยู่ติดกับทะล ดังนั้นแม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมาเป็นทุนของบริษัท ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามป.พ.พ. มาตรา 1556 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หรือมาตรา 1574 (ใหม่)กรณีไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนเป็นประจำทุกเดือนจากบริษัทที่ตั้งขึ้นเรื่อยมา จนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ผู้ซื้อไปโดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย แสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้ว ถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการนำทรัพย์สินมาจัดตั้งบริษัทให้ทายาทถือหุ้น ถือเป็นการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์
ที่ดินประทานบัตรทำเหมืองแร่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกนำมาเป็นทุนจัดตั้งเป็นบริษัทจำเลยที่ 8 แล้วให้ทายาททุกคนเป็นผู้ถือหุ้นตามส่วนสัดที่ทายาทแต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดก การนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8ดังกล่าวเป็นการจัดการตามที่จำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกซึ่งอยู่ในขอบอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการให้ทายาทเข้าครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดได้
แม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนของบริษัทจำเลยที่ 8 ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง
เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทจำเลยที่ 8 เรื่อยมาจนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ อ. ไปในปี 2509 โดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายแสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้วถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2503 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก
แม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนของบริษัทจำเลยที่ 8 ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง
เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทจำเลยที่ 8 เรื่อยมาจนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ อ. ไปในปี 2509 โดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายแสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้วถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2503 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8150/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีร่วมกันครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 ไม่มีส่วนร่วมโดยตรง
สิบตำรวจตรี พ. ตกลงล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 จำนวน 11 ถุง ถุงละ 200 เม็ด นัดส่งมอบที่บ้านของจำเลยที่ 1 ต่อมาหลังจากมีการล่อซื้อตามนัดและสายลับส่งสัญญาณแสดงว่ามีเมทแอมเฟตามีนแล้ว พยานโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเดินทางไปยังบ้านของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นจึงวิ่งหลบหนีแต่ถูกจับกุมและตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนรวม 11 ถุง ซุกซ่อนอยู่ในกางเกงด้านหน้าของจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมได้อยู่ชั้นบนของบ้าน ดังนี้ โจทก์ไม่มีพยานคนใดเบิกความยืนยันว่าจำเลยที่ 2 มีพฤติการณ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เมทแอมเฟตามีนของกลางจับได้ที่ตัวจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่นอกบ้านส่วนจำเลยที่ 2 อยู่บนบ้าน พฤติการณ์เพียงเท่านี้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8138/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำพิพากษาอย่างชัดเจน มิใช่เพียงโอกาสชนะคดี
คำขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคสอง ต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งทั้งเหตุที่ขาดนัดและทั้งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยในข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นกล่าวไว้เพียงว่า หากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีและนำพยานหลักฐานเข้าสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์แล้ว จำเลยมีโอกาสชนะคดีเนื่องจากโจทก์จำเลยไม่เคยมีมูลหนี้ต่อกันตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องเท่านั้น กรณีจึงเป็นเพียงการชี้แจงข้อเท็จจริงให้ศาลทราบ มิใช่ข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นเพราะมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบประการใดเพราะเหตุใด และเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงสนับสนุนให้เห็นได้ชัดแจ้งว่า หากให้มีการพิจารณาใหม่แล้ว ศาลอาจพิจารณาให้ผิดแผกแตกต่างไปจากที่ได้พิจารณาไปแล้ว ซึ่งจะเป็นผลให้จำเลยชนะคดีได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7930/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัว: พนักงานสอบสวนมีอำนาจฟ้องได้ในฐานะเจ้าพนักงาน และประเด็นการให้ความยินยอมของภริยา
แม้พนักงานสอบสวนจะไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้มีอำนาจทำสัญญาประกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 และ มาตรา 113 ฉะนั้น จึงย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันในฐานะเจ้าพนักงานตามอำนาจแห่งหน้าที่โดยชื่อตำแหน่งหน้าที่ของตน ดังนี้ เมื่อจำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112และจำเลยผิดสัญญาประกันดังกล่าว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร บ. ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประกันได้ กรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย จะฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องจำเลยทำสัญญาประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8หยิบยกปัญหาข้อนี้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทั้งปัญหาเกี่ยวกับการให้ความยินยอมก็ไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องจำเลยทำสัญญาประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8หยิบยกปัญหาข้อนี้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทั้งปัญหาเกี่ยวกับการให้ความยินยอมก็ไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7929/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน - อายุความ - พินัยกรรมสมบูรณ์ - สิทธิในที่ดิน
จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา แม้จำเลยที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต มิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียปรียบก็ตาม กรณีเพียงแต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว นิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ก็ย่อมถูกเพิกถอนเสียได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อ 10 ปีมาแล้ว โดยหวังจะให้จำเลยเลี้ยงดู แต่จำเลยที่ 1 ได้ด่าว่า บ. บ. จึงต้องไปอาศัยอยู่กับโจทก์ที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1ไม่เคยดูแลเวลาป่วยก็ไม่พาไปโรงพยาบาล จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนที่ บ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณเพียง 1 เดือนเพื่อจะไม่ให้ บ. เรียกคืนโดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้ บ. เสียเปรียบ หาก บ. ไม่ถึงแก่ความตายในขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 บ. ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อสิทธิเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ ขณะที่ บ. ทำพินัยกรรม บ. มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการให้ที่ดินระหว่าง บ. กับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความตามมาตรา 145 วรรคหนึ่งแห่ง ป.วิ.พ. นอกจากนี้ บ. ยังมีสิทธิในการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 อันทำให้ บ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ สิทธิทั้งสองดังกล่าวเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของ บ. การที่ บ. มีเจตนาทำพินัยกรรมให้โจทก์มีสิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อน รวมทั้งสิทธิในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทด้วย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามที่ระบุในพินัยกรรมจึงถือไม่ได้ว่า บ. ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อื่น พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองจึงมีผลสมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย สิทธิตามที่กล่าวในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาจากวันที่โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
บ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อ 10 ปีมาแล้ว โดยหวังจะให้จำเลยเลี้ยงดู แต่จำเลยที่ 1 ได้ด่าว่า บ. บ. จึงต้องไปอาศัยอยู่กับโจทก์ที่ 1 หลังจากนั้นจำเลยที่ 1ไม่เคยดูแลเวลาป่วยก็ไม่พาไปโรงพยาบาล จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนที่ บ. ฟ้องจำเลยที่ 1 ขอถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณเพียง 1 เดือนเพื่อจะไม่ให้ บ. เรียกคืนโดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้ บ. เสียเปรียบ หาก บ. ไม่ถึงแก่ความตายในขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 บ. ย่อมขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
บ. ได้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อสิทธิเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ ขณะที่ บ. ทำพินัยกรรม บ. มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการให้ที่ดินระหว่าง บ. กับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความตามมาตรา 145 วรรคหนึ่งแห่ง ป.วิ.พ. นอกจากนี้ บ. ยังมีสิทธิในการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 อันทำให้ บ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ สิทธิทั้งสองดังกล่าวเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของ บ. การที่ บ. มีเจตนาทำพินัยกรรมให้โจทก์มีสิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อน รวมทั้งสิทธิในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทด้วย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามที่ระบุในพินัยกรรมจึงถือไม่ได้ว่า บ. ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อื่น พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองจึงมีผลสมบูรณ์บังคับได้ตามกฎหมาย สิทธิตามที่กล่าวในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ในฐานะผู้รับพินัยกรรมตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ในวันที่ไปติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาจากวันที่โจทก์รู้เรื่องจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้ ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7929/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน - อายุความ - การรู้ข้อเท็จจริง - สิทธิในพินัยกรรม
ขณะที่ บ. ทำพินัยกรรม บ. มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการให้ที่ดินระหว่าง บ. กับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด แต่คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนย่อมผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งนอกจากนี้ บ. ยังมีสิทธิในการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 อันทำให้ บ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบสิทธิทั้งสองดังกล่าวเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของ บ.
การที่ บ. ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองโดยมีข้อความในข้อ 1 ยกบรรดาทรัพย์สินที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าให้โจทก์ทั้งสอง เห็นได้ว่า บ. มีเจตนาทำพินัยกรรมให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนรวมทั้งสิทธิในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทด้วย สิทธิตามที่กล่าวในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับพินัยกรรมตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
การที่ บ. ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองโดยมีข้อความในข้อ 1 ยกบรรดาทรัพย์สินที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้าให้โจทก์ทั้งสอง เห็นได้ว่า บ. มีเจตนาทำพินัยกรรมให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีก่อนรวมทั้งสิทธิในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทด้วย สิทธิตามที่กล่าวในที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับพินัยกรรมตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ได้รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7910/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่กระทบสิทธิผู้อื่น: สิทธิในที่ดินตาม น.ส.3 ยังคงอยู่
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงมีประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยแต่เพียงว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องหรือไม่เท่านั้น แม้ศาลจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดมีสิทธิในที่ดินตาม น.ส.3 อยู่อย่างไร ก็คงมีอยู่อย่างนั้น จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องร้องสอดเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)