คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ แสนภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีอาญาอื่น แม้ไม่ได้ระบุหมายเลขคดีในคำฟ้อง ศาลสามารถพิจารณาจากรายงานสืบเสาะและพินิจได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งที่ฟ้องมาพร้อมกัน ขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโจทก์จำเลยในคดีอาญาดังกล่าว แต่โจทก์มิได้ระบุหมายเลขคดีไว้เนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบหมายเลขคดีจนกว่าโจทก์จะได้ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น จำเลยให้การรับสารภาพและศาลชั้นต้นได้นัดฟังคำพิพากษาในวันอื่น ข้อเท็จจริงที่ได้จากรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติซึ่งศาลชั้นต้นให้คู่ความทราบแล้วคู่ความไม่ติดใจคัดค้านปรากฏว่าจำเลยถูกดำเนินคดีในความผิดตามคดีอาญาของศาลชั้นต้น เท่ากับจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงใน ข้อที่ว่าจำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยถูกฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งตามคำฟ้องของโจทก์แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีนี้ภายหลังจากที่มี คำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมนับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยในนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6989/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: เจ้าของสถานค้าประเวณีจัดหาหญิงเพื่ออนาจาร ใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด
ความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงอายุกว่า 18 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก กับฐานเป็นเจ้าของกิจการผู้ดูแล หรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503มาตรา 9 เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นทั้งเจ้าของกิจการร้านอาหารอันเป็นสถานการค้าประเวณีและเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงด้วย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีฯมาตรา 4 คำว่า จัดให้มีผู้ทำการค้าประเวณีไว้เพื่อการนั้นด้วย ก็หมายถึงการเป็นธุระจัดหา ล่อไปหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงตาม ป.อ.มาตรา 282วรรคแรก ทั้งการตั้งสถานการค้าประเวณีก็เห็นได้ชัดแจ้งว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
หลังจากจำเลยกระทำความผิดแล้ว ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.อ.(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2540 ให้ยกเลิกความในมาตรา 282 เดิม และให้ใช้ความใหม่แทน กับมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539ออกมาใช้บังคับโดย พ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิก พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 แต่ ป.อ.มาตรา 282 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ระวางโทษเท่าเดิมส่วน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และ 11ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษฐานเป็นธุระจัดหาหรือล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณีและฐานเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแลหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณี ระวางโทษสูงกว่าความผิดฐานดังกล่าวตาม พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 และ 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะจำเลยกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในขณะกระทำความผิดบังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย: ศาลฎีกาวินิจฉัยตามพยานหลักฐานและคำรับสารภาพ แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาผิดฐาน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยวินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบโดยโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและฟังได้ว่า โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนาแบบขอหมายจริง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายหรือไม่ และการวินิจฉัยความผิดของจำเลยสมควรเป็นไปตามลำดับก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาในปัญหาดังกล่าวประกอบกับได้มีการนำสืบพยานหลักฐานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
การจับกุมจำเลยเกิดจากเจ้าพนักงานตำรวจให้สายลับติดต่อล่อซื้อเมทแอมเฟตามีน เมื่อจำเลยนำเมทแอมเฟ -ตามีนมาส่ง จึงถูกจับกุมได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 100 เม็ด ซึ่งเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่บุคคลจะมีไว้เพื่อเสพประกอบกับจำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาว่า จำเลยซื้อเมทแอมเฟตามีนเพื่อนำไปให้ช่างซ่อมรถยนต์คน อื่นๆ อันเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่าย
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบในชั้นจับกุมก็เพื่อประสงค์จะให้จำเลยทราบและเข้าใจถึงการกระทำความผิด ของตน แม้ชั้นจับกุมผู้จับกุมแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่ามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ก็ไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์เป็นพิรุธ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6410/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานค้าประเวณีและจัดหาเพื่อให้มีการค้าประเวณี แม้มีการแก้ไขกฎหมาย แต่กฎหมายเดิมยังใช้บังคับย้อนหลังได้
ขณะจำเลยกระทำความผิด พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 ยังใช้บังคับอยู่ และ ป.อ. มาตรา 282 ยังมิได้มีการแก้ไข แม้ต่อมาก่อนคดีถึงที่สุด พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 และมีการแก้ไข ป.อ. มาตรา 282 แต่การเป็นเจ้าของกิจการค้าประเวณีหรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณีและการเป็นธุระจัดหาเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นก็ยังถือว่าเป็นความผิดอยู่ และกฎหมายที่บัญญัติใหม่ไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด จึงต้องใช้ พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 และ ป.อ. มาตรา 282 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดบังคับแก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อโต้เถียงข้อเท็จจริงที่รับสารภาพแล้ว และยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ทำร้ายร่างกายซึ่งกัน โดยจำเลยที่ 1 ใช้ไม้กระบองเป็นอาวุธตีทำร้ายจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้ขวดสุราเป็นอาวุธตีทำร้ายจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 จำคุก 2 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 จะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6270-6271/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางภารจำยอม-ทางจำเป็น: การใช้ที่ดินของผู้อื่นเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเกิน 10 ปี และการเสียหายจากการถูกปิดกั้น
ที่ดินของโจทก์ทั้งสองและจำเลยเป็นที่ดินแปลงเดียวกันมาก่อน ต่อมามีการแบ่งแยกที่ดินเป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ทั้งสองไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะส่วนที่ดินของจำเลยอยู่ติดถนนและอยู่ด้านหน้าที่ดินของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงเรียกร้องที่ดินของจำเลยให้เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่เคยยกข้อต่อสู้เรื่องทางจำเป็นในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ทั้งสองปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของจำเลยก็ตาม ก็หาทำให้ทางจำเป็นซึ่งเป็นผลโดยกฎหมายเสียไปไม่
การสร้างอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวต้องเว้นที่ว่างด้านหน้าอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวไม่น้อยกว่า 6 เมตรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ว่าด้วยกฎหมายเกี่ยวกับทางหลวง) แสดงว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจาก ว. และ ช. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมสามารถใช้ที่ดินของจำเลยที่เหลือจากการแบ่งแยก ซึ่งเป็นที่ดินที่เว้นไว้ห่างหน้าอาคารพาณิชย์ 6 เมตร ตามกฎหมาย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากผู้ใดและไม่ใช่เป็นการใช้ที่ดินดังกล่าวออกสู่ทางสาธารณะโดยถือวิสาสะด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินและอาคารพาณิชย์ดังกล่าวจึงสามารถใช้ที่ดินออกสู่ทางสาธารณะ เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้รับโอนที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์มาเมื่อกลางปี 2525 ส่วนจำเลยได้รับโอนที่ดินมาเมื่อปลายปี 2535 จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก่อนที่จำเลยจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 สำหรับโจทก์ที่ 2 รับโอนที่ดินมาในปี 2526 และ2527 แม้คำนวณระยะเวลาถึงวันที่จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่ถึง 10 ปี แต่เมื่อนับถึงปี 2538 ที่จำเลยปิดกั้นไม่ให้ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ที่ดินของจำเลยจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 ด้วย
การที่จำเลยปิดกั้นที่ดินมิให้โจทก์ที่ 2 ใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 เสียหายเพราะโจทก์ที่ 2 ค้าขายวัสดุก่อสร้าง จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้เดือนละ 10,000 บาท โดยคำนึงถึงการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะด้วย จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6171/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์และฎีกาของผู้เสียหายในคดีอาญา: การยุติสิทธิเมื่อไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียนและขับรถโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถ ส่วนฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนโจทก์ร่วมมีสิทธิอุทธรณ์ฐานความผิดนี้ได้ตามกฎหมาย แต่ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ คดีในส่วนของโจทก์ร่วมจึงยุติ โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิฎีกาขอไม่ให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอออกหมายจำคุกใหม่เพื่อหวังผลประโยชน์จากพระราชทานอภัยโทษ ศาลฎีกาเห็นพ้องกับศาลล่างว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิมได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษเฮโรอีนตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง,66 วรรคสองประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ก็ต้องออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดให้ตรงตามคำพิพากษาดังกล่าว ส่วนจำเลยจะได้รับการลดโทษจากพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2542 หรือไม่เพียงใด จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่จะทำการตรวจสอบผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ จำเลยจึงชอบที่จะไปร้องให้ถูกทาง จะขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกใหม่ระบุเฉพาะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เพื่อมีผลให้จำเลยได้รับอภัยโทษหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอออกหมายจำคุกใหม่เพื่อหวังผลประโยชน์จากพระราชทานอภัยโทษ ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง
จำเลยกระทำผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 เมื่อศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุด ตามคำพิพากษาแล้วย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ส่วนจำเลยจะได้รับการลดโทษตาม พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2542 หรือไม่เพียงใดนั้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2542 และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวที่จะตรวจสอบผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษ จำเลยชอบที่จะไปร้องให้ถูกทาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลต้องยกขึ้นต่อสู้ตั้งแต่ชั้นต้น หากไม่ทำ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงต้องนำคดีไปฟ้องยัง ศาลแรงงานนั้น เมื่อจำเลยมิได้ยกเรื่องอำนาจศาลขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ เพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งปัญหาเรื่องอำนาจของศาลชำนัญพิเศษกับอำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชั้นเดียวกันจะต้องยุติใน ศาลชั้นต้นเพื่อไม่ให้เป็นช่องทางแก่คู่ความประวิงคดี หากคู่ความไม่โต้แย้งหรือศาลชั้นต้นไม่ยกปัญหาขึ้นจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาล ปัญหาตามฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
of 36