คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ แสนภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นอายุความแม้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย หากมีการสืบพยานหลักฐานจนสิ้นกระแสความ
ศาลชั้นต้นตั้งปัญหาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วย แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าหนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ได้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ การที่โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์เห็นว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะมิได้ตั้งประเด็นเกี่ยวกับมูลหนี้เดิมไว้ด้วย และเมื่อปรากฏว่าคู่ความได้นำพยานหลักฐานเข้าสืบจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นเรื่องอายุความที่ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้พิจารณาและพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของผู้ร้องที่เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลย แม้จำเลยมีอำนาจกระทำการแทน
ประเด็นว่าผู้ร้องใช้สิทธิในการร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวโดยสุจริตหรือไม่นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยถึงแม้ว่าจำเลยจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้องโดยประทับตราของผู้ร้องก็ตาม แต่เงินตามบัญชีเงินฝากดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง มิใช่ของจำเลยตราบเท่าที่ผู้ร้องยังเป็นนิติบุคคลอยู่ การใช้สิทธิของผู้ร้องไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1133/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ให้เช่ารถบรรทุก กรณีลูกจ้างบรรทุกน้ำหนักเกินกฎหมาย ผู้ให้เช่าต้องรับผิดด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกของกลางให้ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องไม่ควบคุมดูแลโดยใกล้ชิดมิให้จำเลยบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ย่อมฟังได้ว่าเป็นการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องไม่อาจขอคืนรถยนต์บรรทุกของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานสนับสนุนการตัดสิน
แม้พยานโจทก์ทั้งสามคนจะเบิกความต่างกัน ทั้งในแง่ของจำนวนคนที่เข้าไปร่วมจับกุมจำเลย จำนวนคนที่พบในบ้านจำเลย และวิธีการหลบหนีของจำเลยว่าหลบหนีทางหน้าบ้านบ้างหลังบ้านบ้าง แต่ก็มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็น สาระสำคัญอันจะทำให้คำเบิกความของพยานโจทก์ทั้งสามมีน้ำหนักน้อยลงถึงกับรับฟังไม่ได้ทั้งหมด เพราะจำเลยเองก็เบิกความรับว่าในวันเกิดเหตุจำเลยอยู่ในบ้านเกิดเหตุและได้วิ่งหลบหนีจนเจ้าพนักงานตำรวจไล่ตามจับกุมได้ พยานหลักฐานโจทก์อื่น ๆ ก็มีเหตุผลและน้ำหนักรับฟังได้ว่าจำเลยกับพวกมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองจริง เมื่อเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 17.247 กิโลกรัม จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานเด็ดขาดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ที่ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ที่บัญญัติว่า "ผลิต..ให้หมายความรวมถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย" ดังนั้น พฤติการณ์ที่จำเลยกับพวกเอาเฮโรอีนอัดใส่ถุงพลาสติกเป็นแท่งยาวแล้วแบ่งแยกบรรจุลงในแผ่นไม้ฉำฉาที่ฉลุเป็นช่องไม้แล้วนำมาประกบติดกันเป็นคู่เพื่อจะนำไปประกอบเป็นลังไม้ เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยกับพวกร่วมกันผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันระงับมูลหนี้เช็คและการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลเป็นหนังสือระบุว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีทางแพ่งเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างที่เป็นมูลเหตุให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทคดีนี้อีก อันเป็นการะงับข้อพิพาท จึงบังคับกันได้ตามกฎหมายไม่ต้องทำต่อหน้าศาลเสมอไป แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงว่าหากจำเลยผิดนัดยอมให้โจทก์ดำเนินคดีอาญาต่อไปทันที และเมื่อจำเลยชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว ยอมให้หนี้ตามเช็คในคดีอาญาสิ้นผลผูกพัน โจทก์จะถอนฟ้อง ก็มิใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นผลให้มูลหนี้ระงับต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วน ดังนั้น มูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงได้สิ้นผลผูกพันไปแล้วคดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันระงับข้อพิพาทเช็ค ยุติคดีอาญาได้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่จำเป็นต้องกระทำต่อหน้าศาลหรือต่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเสมอไป อาจกระทำกันนอกศาลได้ เมื่อโจทก์และจำเลยสมัครใจได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย โดยมีข้อความระบุว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีทางแพ่งเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างอันเป็นมูลเหตุให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลหนี้ที่สั่งจ่ายเช็คพิพาท สัญญาประนีประนอมยอมความจึงบังคับกันได้ตามกฎหมาย มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องหนี้ตามเช็คที่โจทก์ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงว่าหากจำเลยผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้โจทก์ดำเนินคดีอาญาต่อไปทันที และเมื่อจำเลยชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ยอมให้หนี้ตามเช็คในคดีอาญาสิ้นผลผูกพันไปทั้งฉบับ โจทก์ตกลงว่าจะไปขอถอนฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้น ก็มิใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นผลให้มูลหนี้ระงับต่อเมื่อจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนไม่ ดังนั้น มูลหนี้ที่ออกเช็คตามฟ้องจึงได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดฐานบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน แม้กรรมต่างวาระ แต่หากเป็นพื้นที่แปลงเดียวกันและองค์ประกอบความผิดแตกต่างกัน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ศาลพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปก่นสร้างแผ้วถาง ตัดฟัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ขนาดเล็กและใหญ่ แล้วยึดถือครอบครองที่ดินเนื้อที่ 20 ไร่เศษ ซึ่งเป็นแปลงเดียวกับคดีก่อนที่มีเนื้อที่ 100 ไร่ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ. 2507 มาตรา 4,5,6,14 และ 31 อันเป็นการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกันทั้งองค์ประกอบแห่งความผิดก็แตกต่างกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 892/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในความผิดฐานบุกรุกป่าสงวนฯ แม้ฟ้องต่างกรรมต่างวาระและองค์ประกอบความผิดต่างกัน ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดคดีนี้เนื้อที่ 20 ไร่เศษเป็นที่ดินแปลงเดียวกับคดีก่อนซึ่งมีเนื้อที่ 100 ไร่ คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และเป็นที่ดินของรัฐ ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปก่นสร้าง แผ้วถางตัดฟัน ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ไม้ขนาดเล็กและใหญ่แล้วยึดถือครอบครองที่ดินแปลงเดียวกันเนื้อที่ 20 ไร่เศษ เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป. ที่ดิน มาตรา 9, 108 ทวิ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 4, 5, 6, 14 และ 31 อันเป็นการฟ้องในการกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกับคดีก่อน ทั้งองค์ประกอบแห่งความผิดก็แตกต่างกัน ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตามสัญญารักษาความปลอดภัยและการชดใช้ค่าเสียหายจากการโจรกรรม
จำเลยทำสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยกับบริษัท อ. โดยยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่บริษัท อ. ในกรณีที่ทรัพย์สินสูญหายเนื่องจากการโจรกรรม ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม จำเลยจึงต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญา เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายเป็นทรัพย์สินที่บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 กรณีสัญญาบริการรักษาความปลอดภัย
บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 880 เป็นการห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิเรียกค่าทดแทนต่อบุคคลภายนอก ในเมื่อตนได้รับค่าทดแทนจากผู้รับประกันภัยแล้ว แต่เพื่อมิให้บุคคลภายนอกที่ทำความเสียหายขึ้นหลุดพ้นจากความรับผิดไปลอย ๆ กฎหมายจึงบัญญัติให้สิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากบุคคลภายนอกนั้น ตกไปเป็นของผู้รับประกันภัยโดยวิธีการที่เรียกว่ารับช่วงสิทธิ โดยสิทธิของผู้เอาประกันภัยอันมีต่อผู้ทำความเสียหายนั้นอาจเป็นสิทธิเรียกร้องฐานละเมิดหรืออาจเป็นสิทธิตามสัญญาก็ได้ และผู้รับประกันภัยจะรับช่วงสิทธิก็ต่อเมื่อได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว
ทรัพย์สินของบริษัท อ. สูญหายไปเนื่องจากการโจรกรรม และจำเลยต้องรับผิดต่อบริษัท อ. ตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยที่ทำไว้ เมื่อทรัพย์สินที่สูญหายดังกล่าว บริษัท อ. ได้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัท อ. ไปแล้ว โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิของบริษัท อ. เรียกร้องเอาจากจำเลยตามสัญญาบริการรักษาความปลอดภัยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 แม้จำเลยจะมิใช่ผู้ทำละเมิดโดยตรงก็ตาม
of 36