คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ แสนภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7370/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเป็นต้องมีหลักฐานแสดงพฤติการณ์ร่วมกระทำความผิด
ก่อนจับกุมจำเลยทั้งห้า เจ้าพนักงานตำรวจซุ่มดูเห็นจำเลยที่ 1เดินออกจากกระท่อมไปหยิบกระบอกไม้ไผ่ที่บริเวณข้างเปลที่จำเลยที่ 5นอนอยู่ แล้วนำไปซุกซ่อนในถังซีเมนต์ซึ่งอยู่ห่างจากกระท่อมประมาณ18 เมตร เมื่อตรวจค้นกระบอกไม้ไผ่พบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 82 เม็ดบรรจุอยู่ และพบจำเลยที่ 2 หลบซ่อนนอนหมอบอยู่ในสวนห่างจากถังซีเมนต์ประมาณ 15 เมตร มีถุงย่ามวางอยู่ห่างจากจำเลยที่ 2 ประมาณ2 เมตร ภายในถุงย่ามมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 600 เม็ด เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นภายในกระท่อมพบจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 3 นอนหลับอยู่ดังนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางนอกกระท่อมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดคือจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 5 ส่วนจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเพียงผู้มาอาศัยพักผ่อนภายในกระท่อมเท่านั้น พยานโจทก์มิได้เบิกความเลยว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้กระทำการอย่างใดอันแสดงให้เห็นว่ารู้เห็นและร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็อยู่ภายในกระท่อม พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอให้ฟังว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกระทำผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับศพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาเฉพาะส่วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ฉ.ผู้ตายอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไป เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า จำเลย 2 ถึงที่ 4 นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้ แต่โลงที่โจทก์กล่าวอ้างมีราคาเพียง 4,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์นำคดีส่วนนี้ไปฟ้องยังศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับศพผู้เสียชีวิตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่จำกัดตามมูลค่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นภริยา ฉ. ผู้ตายอันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไป เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์
ส่วนคำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 หากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้ แต่โลงที่โจทก์กล่าวอ้างมีราคาเพียง 4,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ศาลฎีกาเห็นสมควรให้โจทก์นำคดีส่วนนี้ไปฟ้องยังศาลแขวงที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7139/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดและการโต้แย้งสิทธิ: อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะการเอาโลงไปโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แสดงตนต่อโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 เพื่อขอรับศพ ฉ. ผู้ตาย โดยแสดงหลักฐานเพียงใบแทนบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 3 เท่านั้น ส่วนหลักฐานอื่นตามระเบียบของโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ที่แจ้งให้โจทก์นำมาแสดงไม่มี แต่โรงพยาบาลจำเลยที่ 1กลับมอบศพผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 โดยมีจำเลยที่ 4 เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับศพไป นอกจากนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ก่อนที่โจทก์จะกลับมาแต่โจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มีสิทธิในการรับศพผู้ตายออกจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 อย่างไร อันจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับศพผู้ตายไป จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ คงมีเฉพาะคำฟ้องของโจทก์ส่วนที่กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำศพผู้ตายใส่ในโลงที่โจทก์เป็นผู้เตรียมมานำออกไปจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 1 ซึ่งหากฟังได้เป็นความจริงย่อมเป็นการเอาโลงดังกล่าวไปโดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตามคำฟ้องส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7038/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระราคาซื้อขายทอดตลาดเกินกำหนด: สิทธิในทรัพย์สินและการได้รับเงินค่าทดแทน
คดีนี้แม้ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดจะชำระราคาทรัพย์ส่วนที่เหลือเกินเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้ในหมาย แต่เมื่อพิจารณาจากคำสั่งกรมบังคับคดีประกอบกับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ซื้อทรัพย์กับเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว เห็นได้ว่ามิได้มีการบังคับตายตัวว่าถ้าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่ชำระราคาภายในกำหนดเวลาแล้วให้ถือว่าสัญญาซื้อขายที่ดินต้องเลิกกันทันทีหรือผู้ซื้อทรัพย์หมดสิทธิซื้อที่ดินพิพาทและจะต้องริบเงินมัดจำเสมอไป หากแต่ให้อยู่ในดุลพินิจของอธิบดีกรมบังคับคดี เมื่อรองอธิบดีกรมบังคับคดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดีในขณะนั้นมีคำสั่งเห็นชอบกับบันทึกของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่เห็นควรให้รับเงินส่วนที่เหลือจากผู้ซื้อทรัพย์ และผู้ซื้อทรัพย์ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว จึงเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ได้ทำการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วนชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 515 แล้ว ย่อมได้สิทธิในที่ดินพิพาทแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 เมื่อที่ดินแปลงที่ซื้อถูกเวนคืนทั้งหมด และกรมทางหลวงได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีแล้ว ผู้ซื้อทรัพย์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินมือเปล่า: โอนการครอบครองได้แม้ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตั้งแต่วันทำสัญญาเพราะเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว อีกทั้งข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าจะไปทำการโอนที่ดินกันเมื่อใด จึงตกเป็นโมฆะตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 จำเลยได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 ก็ตาม แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมือเปล่าซื้อขายได้ แต่โอนได้เฉพาะสิทธิครอบครอง ไม่ตกเป็นโมฆะ
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตั้งแต่วันทำสัญญาเพราะเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว อีกทั้งข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าจะไปทำการโอนที่ดินกันเมื่อไร จึงตกเป็นโมฆะตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9จำเลยได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์แล้วซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วไม่อาจโอนกันได้ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 มาตรา 9 ก็ตาม แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้ โดยการส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 สัญญาซื้อขายจึงไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่า: โอนการครอบครองได้ แม้ตกเป็นโมฆะ
ที่จำเลยฎีกาว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตั้งแต่วันทำสัญญาเพราะเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งไม่มีคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว อีกทั้งข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าจะไปทำการโอนที่ดินกันเมื่อใด จึงตกเป็นโมฆะตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดินพ.ศ.2497 มาตรา 9 จำเลยได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์แล้ว ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3ไม่วินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทตามสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยจะเป็นที่ดินมือเปล่า ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ไม่อาจโอนกันได้ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 ก็ตาม แต่ย่อมโอนไปซึ่งการครอบครองได้โดยการส่งมอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดได้เฉพาะส่วนเกินจากอัตราดอกเบี้ยในสัญญา
++ เรื่อง ยืม จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ก่อนพิมพ์จริง++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์โจทก์ว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่โจทก์คิดขณะจำเลยทั้งสองผิดนัดเป็นเบี้ยปรับทั้งหมดและศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจากอัตราร้อยละ 21ต่อปี ลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี หรือไม่
++ ในปัญหาดังกล่าวตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 ได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปีและระบุด้วยว่า จำเลยทั้งสองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบและถือว่าจำเลยทั้งสองได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ15.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 21 ต่อปี นั้น แม้เป็นอัตราตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เอกสารหมาย จ.7 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่ก็ปรากฏว่าโจทก์ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดชำระหนี้ ดังปรากฏตามคำเบิกความของนายณัฐคม สุขสาคร ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ว่า จำเลยผิดนัดชำระตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2540 โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยอย่างลูกหนี้ผิดนัดในอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงมิใช่ปรับขึ้นหรือปรับปรุงตามความเหมาะสมตามที่ระบุในสัญญา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของโจทก์จึงเห็นเจตนาได้ว่าประสงค์จะให้เป็นค่าเสียหาย โดยกำหนดไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากเดิม ดังนั้น เฉพาะดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นจากที่ระบุในสัญญากู้เงินนี้จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 มิใช่เป็นเบี้ยปรับทั้งหมด ศาลจึงใช้ดุลพินิจลดดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราร้อยละ 15.5ต่อปี ตามที่ระบุในสัญญากู้เงินไม่ได้
++ การที่ศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 15 ต่อปี จึงไม่ชอบ แต่ที่โจทก์ฎีกาขอดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปีศาลฎีกาเห็นว่ายังสูงเกินส่วน เห็นควรกำหนดลดลงเป็นอัตราร้อยละ18 ต่อปี
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 466,580.97 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 463,909.97 บาท นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2540และดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ของต้นเงินจำนวน 2,671 บาทนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: นำยาเสพติดเข้าบริเวณศาล และการหลบหนีหลังถูกตรวจพบ
ผู้ถูกกล่าวหานำเมทแอมเฟตามีนเข้าไปที่หน้าห้องควบคุมตัวผู้ต้องขังของศาลซึ่งอยู่ในบริเวณศาลอันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1),33 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
of 36