พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์: อำนาจสั่งและหน้าที่ของโจทก์ในการดำเนินการส่งหมาย
คดีแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ การที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันเพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในตรายางประทับซึ่งมีข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 6 มิถุนายน 2542 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พนักงานเดินหมายรายงานเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2542 ว่านำสำเนาอุทธรณ์เพื่อส่งให้แก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2542 ไม่พบจำเลยทั้งสองจึงส่งไม่ได้ ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน 2542 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้แถลงขอให้ปิดหมายและเสียค่าธรรมเนียมในการปิดหมายให้แก่เจ้าหน้าที่แล้วไม่อาจรับฟังได้ เมื่อโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยด้วยตนเองแต่ส่งให้จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตามป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วันเพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในตรายางประทับซึ่งมีข้อความว่า ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 6 มิถุนายน 2542 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พนักงานเดินหมายรายงานเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2542 ว่านำสำเนาอุทธรณ์เพื่อส่งให้แก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2542 ไม่พบจำเลยทั้งสองจึงส่งไม่ได้ ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน 2542 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้แถลงขอให้ปิดหมายและเสียค่าธรรมเนียมในการปิดหมายให้แก่เจ้าหน้าที่แล้วไม่อาจรับฟังได้ เมื่อโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยด้วยตนเองแต่ส่งให้จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตามป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์และการส่งสำเนาคำฟ้อง/อุทธรณ์ที่ไม่สำเร็จ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้
คดีแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ การที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในตรายางประทับซึ่งมีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 6 มิถุนายน 2542 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พนักงานเดินหมายรายงานเมื่อวันที่ 29 มีนาคม2542 ว่านำสำเนาอุทธรณ์เพื่อส่งให้แก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 2มีนาคม 2542 ไม่พบจำเลยทั้งสองจึงส่งไม่ได้ ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน2542 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้แถลงขอให้ปิดหมายและเสียค่าธรรมเนียมในการปิดหมายให้แก่เจ้าหน้าที่แล้วไม่อาจรับฟังได้เมื่อโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยด้วยตนเอง แต่ส่งให้จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งในตรายางประทับซึ่งมีข้อความว่าให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 6 มิถุนายน 2542 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว พนักงานเดินหมายรายงานเมื่อวันที่ 29 มีนาคม2542 ว่านำสำเนาอุทธรณ์เพื่อส่งให้แก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 2มีนาคม 2542 ไม่พบจำเลยทั้งสองจึงส่งไม่ได้ ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน2542 เจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์มิได้ยื่นคำแถลงภายในเวลาที่ศาลกำหนด ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ได้แถลงขอให้ปิดหมายและเสียค่าธรรมเนียมในการปิดหมายให้แก่เจ้าหน้าที่แล้วไม่อาจรับฟังได้เมื่อโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยด้วยตนเอง แต่ส่งให้จำเลยไม่ได้ การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์และการดำเนินคดีไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีแพ่ง ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้วต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ การที่จะสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ต้องเป็นผู้สั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งแล้ว และโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองด้วยตนเองแต่ส่งให้จำเลยทั้งสองไม่ได้การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน15 วัน เพื่อดำเนินการต่อไป มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โจทก์เซ็นชื่อรับทราบคำสั่งแล้ว และโจทก์ยอมรับในฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้นำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองด้วยตนเองแต่ส่งให้จำเลยทั้งสองไม่ได้การที่โจทก์ไม่แถลงต่อศาลภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์ทิ้งอุทธรณ์และสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบเพชรไปขายและการชำระหนี้: ความผิดฐานยักยอกทรัพย์หรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง
โจทก์ร่วมและจำเลยค้าขายเพชรด้วยกัน และโจทก์ร่วมเป็นหนี้จำเลย การที่โจทก์ร่วมมอบแหวนเพชรให้จำเลยไปจำหน่าย จำเลยจะต้องนำเงินมาชำระค่าแหวนเพชรตามที่ได้ตกลงกัน กรณีมิใช่จำเลยได้รับมอบหมายให้รับแหวนเพชรไว้ในฐานะตัวแทนโจทก์ร่วม แต่เป็นกรณีที่โจทก์ร่วมให้นำไปจำหน่ายแม้เมื่อถึงกำหนดชำระราคาจำเลยไม่นำเงินไปชำระให้โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง จึงไม่มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งเอกสารพยานหลักฐาน และผลกระทบต่ออายุความคดีละเมิด
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานและมิได้ส่งสำเนาของหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 และ 90 ซึ่งศาลมีอำนาจรับฟังได้ตามมาตรา 87 แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้อ้างส่งในขณะสืบพยานโจทก์ กลับนำมาอ้างส่งในขณะถามค้านพยานจำเลยทั้งสองปากสุดท้ายหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ทั้ง ๆ ที่เอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์ เป็นการเอาเปรียบกันในเชิงคดีไม่ให้จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว ฉะนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่สมควรรับฟังหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นพยาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตอกเสาเข็มเป็นการละเมิดโจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ละเมิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความแม้จำเลยจะเบิกความตอบคำถามค้านว่าเคยมีหนังสือรับสภาพหนี้ถึงโจทก์ แต่เมื่อไม่รับฟังเอกสารดังกล่าว จึงเท่ากับไม่มีหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตอกเสาเข็มเป็นการละเมิดโจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ละเมิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความแม้จำเลยจะเบิกความตอบคำถามค้านว่าเคยมีหนังสือรับสภาพหนี้ถึงโจทก์ แต่เมื่อไม่รับฟังเอกสารดังกล่าว จึงเท่ากับไม่มีหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4620-4621/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษคดีต่างสำนวน แม้โทษจำคุกตลอดชีวิตก็ทำได้หากคดีไม่เกี่ยวพันกัน
คดีสำนวนแรกและสำนวนหลังมิได้เกี่ยวพันกันไม่อาจฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ แม้ทั้งสองคดีศาลต่างลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ก็สามารถนับโทษต่อกันได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
การนับโทษต่อหาจำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยซึ่งต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีสำนวนแรกจะถึงแก่ความตายในเวลาต่อไปอันเป็นเหตุให้โทษเป็นอันระงับไปหรือไม่ ศาลล่างนับโทษจำเลยที่ 1 สำนวนหลังต่อจากโทษจำเลยสำนวนแรกไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 และ 91(3)
การนับโทษต่อหาจำต้องคำนึงถึงว่าจำเลยซึ่งต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีสำนวนแรกจะถึงแก่ความตายในเวลาต่อไปอันเป็นเหตุให้โทษเป็นอันระงับไปหรือไม่ ศาลล่างนับโทษจำเลยที่ 1 สำนวนหลังต่อจากโทษจำเลยสำนวนแรกไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 38 และ 91(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดินจัดสรร: การลดทอนประโยชน์ใช้สอยและอำนาจฟ้องของเจ้าของสามยทรัพย์
การจัดสรรที่ดิน ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 หมายความว่า การจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปไม่ว่าด้วยวิธีใด โดยมิได้มีข้อกำหนดว่าผู้จัดสรรที่ดินที่ทำการจัดสรรที่ดินต้องเป็นบุคคลคนเดียวกันกับผู้ที่ทำการแบ่งแยกที่ดินที่นำมาจัดสรร แม้เจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อย แล้วต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ซื้อที่ดินที่เจ้าของเดิมแบ่งแยกไว้ทั้งหมดนำมาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ก็หาทำให้การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวไม่ ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เป็นการจัดสรรที่ดิน ทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคดังกล่าวก่อสร้างในที่ดินย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินในโครงการทุกแปลง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ซ. ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ตามที่จำเลยนำสืบอันเป็นทำนองอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมนั้นสิ้นไป จำเลยจึงต้องรับภาระตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคก่อสร้างในที่ดินเป็นภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ในที่ดินจัดสรรดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม และเมื่อมีการกั้นรั้วสังกะสี บนถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างในที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้สร้างเป็นกำแพงคอนกรีตยาวตลอดแนวทำให้ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กดังกล่าวแคบลง ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องให้ปลดเปลื้องความเสียหายดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่ายังมีผู้อื่นทำให้โจทก์เสื่อมประโยชน์ในการใช้ภารยทรัพย์และโจทก์ได้ฟ้องบุคคลเหล่านั้นหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1477 ได้บัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แม้จะเกี่ยวด้วยการจัดการสินสมรส โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส
การดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. เป็นการจัดสรรที่ดิน ทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้าและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคดังกล่าวก่อสร้างในที่ดินย่อมตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินในโครงการทุกแปลง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจากบริษัท ซ. ซึ่งซื้อที่ดินดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ตามที่จำเลยนำสืบอันเป็นทำนองอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ทำให้ภาระจำยอมนั้นสิ้นไป จำเลยจึงต้องรับภาระตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่สาธารณูปโภคก่อสร้างในที่ดินเป็นภาระจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 โจทก์ซึ่งซื้อที่ดินพร้อมอาคารพาณิชย์ในที่ดินจัดสรรดังกล่าวย่อมมีสิทธิใช้ประโยชน์แห่งภาระจำยอม และเมื่อมีการกั้นรั้วสังกะสี บนถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ก่อสร้างในที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้สร้างเป็นกำแพงคอนกรีตยาวตลอดแนวทำให้ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กดังกล่าวแคบลง ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ทำให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก โจทก์ในฐานะเจ้าของสามยทรัพย์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องให้ปลดเปลื้องความเสียหายดังกล่าวได้ โดยมิต้องคำนึงว่ายังมีผู้อื่นทำให้โจทก์เสื่อมประโยชน์ในการใช้ภารยทรัพย์และโจทก์ได้ฟ้องบุคคลเหล่านั้นหรือไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1477 ได้บัญญัติให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ แม้จะเกี่ยวด้วยการจัดการสินสมรส โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4300/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอม – การรุกล้ำภารยทรัพย์ – อายุความ – สิทธิเรียกร้อง – เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิฟ้อง
อ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเดิมเป็นผู้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยจำนวน 158 แปลง แล้วต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ซื้อที่ดินที่ อ. แบ่งแยกไว้มาจัดจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป การขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. จะได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก การที่ไม่ได้ขออนุญาตจัดสรรที่ดินไม่ทำให้การดำเนินการขายที่ดินดังกล่าวกลับไม่เป็นการจัดสรรที่ดิน
เมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.เป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นไป
แม้ฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส แต่ตามมาตรา 1477 บัญญัติให้คู่สมรสฟ้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตราบใดที่กำแพงคอนกรีตหรือวัสดุอื่นใดในภารยทรัพย์ยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของสามยทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ย่อมฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ได้แม้จะเกินหนึ่งปีนับแต่ก่อสร้างก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อการดำเนินการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด น.เป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้า ท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งเป็นสาธารณูปโภคในที่ดินพิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. ถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายก็ไม่ทำให้ภารจำยอมนั้นสิ้นไป
แม้ฟ้องของโจทก์จะเกี่ยวกับการจัดการสินสมรส แต่ตามมาตรา 1477 บัญญัติให้คู่สมรสฟ้องหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตราบใดที่กำแพงคอนกรีตหรือวัสดุอื่นใดในภารยทรัพย์ยังเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกแก่เจ้าของสามยทรัพย์ เจ้าของสามยทรัพย์ย่อมฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ได้แม้จะเกินหนึ่งปีนับแต่ก่อสร้างก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นข้างมาก กรณีพิพาทเกี่ยวกับอำนาจกรรมการ
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คนให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการบริษัทชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมากระหว่างการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามรายงานการประชุมดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คน ให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้าน ที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งที่เกี่ยวกับการกำหนดวิธีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้าน ที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งที่เกี่ยวกับการกำหนดวิธีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา