พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท – ลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร – การลงโทษตามบทหนักสุด – ความผิดหลายกรรมต่างกัน
ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยในข้อนี้ให้
พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไป แล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทน และนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวและเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่จำเลยจะมีความผิดตาม บทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากัน และเป็นความผิดสำเร็จ แต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็น ความผิด 3 กรรมต่างกัน ซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ไปตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไป แล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทน และนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวและเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่จำเลยจะมีความผิดตาม บทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากัน และเป็นความผิดสำเร็จ แต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็น ความผิด 3 กรรมต่างกัน ซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ไปตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม เป็นกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 264, 268,335, 91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม 3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆ ก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากันการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.มาตรา 91
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆ ก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากันการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม: การพิจารณาความผิดหลายกรรม และบทลงโทษที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268,335,91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกทรัพย์: ฟ้องไม่เคลือบคลุมหากบรรยายรายละเอียดการกระทำได้ชัดเจน แม้ไม่ระบุวันเวลาที่แน่นอน
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่า จำเลยได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2539 ถึงเดือนตุลาคม 2540 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดทั้งเวลากลางวันและกลางคืนติดต่อกัน ได้ร่วมกันยักยอกเงินของบริษัท พ. โดยร่วมกันเบิกถอนเงินของบริษัทจากธนาคาร ก. หลายครั้งหลายคราวแล้วเบียดบังเอาเงินที่ถอนดังกล่าวไปเป็นของตนเองหรือพวกของจำเลยรวมเป็นเงินประมาณ 100,000,000 บาท โดยเจตนาทุจริตอันเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยกระทำผิดเป็นช่วงวัน เวลาใดและจำนวนเงินที่อ้างว่าจำเลยได้ร่วมกันเบียดบังยักยอกไปหลายครั้งในระหว่างวันเวลาที่โจทก์ได้ระบุไว้ในคำฟ้องนั้นรวมเป็นเงินเท่าใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 แล้ว กรณีหาจำต้องระบุวันเวลาให้แน่นอนไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ทุนการศึกษา: การปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหลังสำเร็จการศึกษาถือเป็นการชดใช้ทุนได้หากเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนศึกษาต่อต่างประเทศจากโจทก์ โดยได้ทำสัญญาว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะเข้ารับราชการในกระทรวง ทบวง กรม ตามที่โจทก์กำหนด โดยต้องรับราชการต่อไปไม่น้อยกว่าสองเท่าของระยะเวลาที่ศึกษาต่อหากไม่ครบกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดชดใช้ทุนที่โจทก์จ่ายไปแล้วพร้อมเบี้ยปรับ การที่จำเลยที่ 1ไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สืบเนื่องมาจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้ขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี แม้จะมีการสั่งให้จำเลยที่ 1 ออกจากราชการ แต่ก็มิใช่สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ทำหนังสือแจ้งความประสงค์ขอลาออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจดังกล่าว ทั้งงานที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยรวมอันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทางราชการที่ส่งจำเลยที่ 1 ไปศึกษาวิชาในต่างประเทศ ระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ไปปฏิบัติงาน ณ หน่วยงานดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติราชการสามารถนำมารวมนับระยะเวลาชดใช้ทุนตามสัญญาด้วย ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้รับราชการครบกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 ไม่ได้ผิดสัญญาจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ทุนและเบี้ยปรับจำนวนตามฟ้องให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3447-3448/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็ค: สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งทำให้สิทธิฟ้องคดีอาญาในความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คระงับ
ในคดีแพ่งโจทก์ร่วมกับจำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามเช็คพิพาท อันเป็นผลให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 สิทธิของโจทก์และโจทก์ร่วมในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่งที่มิใช่กรณีคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)ส่วนการที่สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งไม่มีข้อตกลงอันจะถือว่าเป็นการยอมความในคดีส่วนอาญาก็ดี และโจทก์ร่วมยังไม่ถอนคำร้องทุกข์ก็ดีก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) เท่านั้นซึ่งเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกันกับคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายโดยตัวแทนเชิดและการบังคับคดีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าและชำระหนี้บางส่วน
บริษัทจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ การซื้อขายรายนี้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่กันแล้วเป็นการชำระหนี้บางส่วน โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ และเมื่อเป็นตัวแทนเชิดแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องให้กรรมการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายโดยตัวแทนเชิด: ความรับผิดของผู้สั่งซื้อ
บริษัทจำเลยที่ 1 เชิดจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์การซื้อขายรายนี้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่กันแล้วเป็นการชำระหนี้บางส่วน โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ และเมื่อเป็นตัวแทนเชิดแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องให้กรรมการจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระราคาให้โจทก์เพราะจำเลยที่ 2เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการซื้อ เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เพียงผู้เดียวเป็นผู้ซื้อไม่ใช่การวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยโดยศาลอุทธรณ์เกินอำนาจเมื่อโจทก์ไม่เคยอุทธรณ์เรื่องการบวกโทษ
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติว่า จำเลยกระทำความผิดในระหว่างที่ศาลรอการลงโทษจำคุกในคดีก่อน ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจเป็นไม่รอการลงโทษให้จำเลย โดยไม่นำโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ โจทก์ไม่อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์การพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212 บัญญัติว่า คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2983/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยโดยศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ไม่ลงโทษ
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยของพนักงานคุมประพฤติว่า จำเลยกระทำความผิดในระหว่างที่ศาลรอการลงโทษจำคุกในคดีก่อน ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบการใช้ดุลพินิจเป็นไม่รอการลงโทษให้จำเลย โดยไม่นำโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้มาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้ โจทก์ไม่อุทธรณ์ ถือว่าโจทก์พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์การพิจารณาพิพากษาชั้นอุทธรณ์ ป.วิ.อ.มาตรา 212 บัญญัติว่า คดีที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาที่ให้ลงโทษ ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้น ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้นำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีนี้จึงไม่ชอบ