คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ แสนภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมเฉพาะเจาะจง: เจตนาผู้ตายยกทรัพย์เฉพาะแปลงที่ระบุ ผู้รับพินัยกรรมไม่มีสิทธิในทรัพย์นอกพินัยกรรม
แม้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้ตายทำไว้มีข้อความสำคัญกำหนดไว้ดังนี้ "ข้อ 1 ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ (1) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 เนื้อที่จำนวน 60 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ขอยกให้ ย. หลานสาว (ผู้คัดค้าน) จำนวน 50 ไร่ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 10 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ขอยกให้กับมัสยิดสมาคมอิสลาม" แต่ข้อเท็จจริงผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือ ที่ดิน 3 แปลง ได้แก่ ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมกับที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 และตามพฤติการณ์มีข้อบ่งชี้ให้เห็นเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 ให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรม คือผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลามเท่านั้น ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 นั้น ผู้ตายมิได้ประสงค์จะทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลาม ดังนี้เมื่อผู้คัดค้านได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 แล้ว ทั้งผู้คัดค้านมิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายอันจะมีสิทธิรับมรดกนอกพินัยกรรมคือที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านขอให้เพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรม: เจตนาผู้ตายในการยกทรัพย์สินเฉพาะที่ดินแปลงระบุ ผู้รับพินัยกรรมไม่มีสิทธิในทรัพย์นอกพินัยกรรม
ตามพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้ตายทำไว้มีข้อความสำคัญกำหนดไว้ ดังนี้ "ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ (1) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 เนื้อที่จำนวน 60 ไร่ 2 งาน33 ตารางวา ขอยกให้ ย. หลานสาว (ผู้คัดค้าน) จำนวน 50 ไร่ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 10 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ขอยกให้กับมัสยิดสมาคมอิสลาม"ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือ ที่ดินเพียง 3 แปลง เท่านั้น ได้แก่ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมกับที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 และตามพฤติการณ์มีข้อบ่งชี้ให้เห็นเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 ให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรม คือผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลามเท่านั้น ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 นั้น ผู้ตายมิได้ประสงค์จะทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลาม ดังนี้เมื่อผู้คัดค้านได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 แล้ว ทั้งผู้คัดค้านมิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายอันจะมีสิทธิรับมรดกนอกพินัยกรรมคือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านขอให้เพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาอาญา: การพิจารณาโทษฐานฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่า และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
ความผิดฐานมีและพาอาวุธติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้เป็นไม่ลดโทษให้จำเลยทุกข้อหา จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังลงโทษจำเลยได้ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ก่อนเกิดเหตุจำเลยกับพวกพบผู้ตายและผู้เสียหายโดยบังเอิญที่ปั๊มน้ำมัน โดยต่าง ไม่เคยรู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน และขณะเติมน้ำมันรถไม่ปรากฏว่าจำเลย กับพวกเกิดทะเลาะโต้เถียงกับผู้ตายและผู้เสียหายแต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การว่าเมื่อจำเลย ถามพวกว่าจะเอาอย่างไร จะยิงยางแล้วจี้ใช่ไหม พวกบอกว่าให้ยิงคนขับทิ้งก็เป็นการตกลง เพื่อความสะดวกในการจะชิงทรัพย์ อันเป็นการมุ่งกระทำต่อทรัพย์นั้นเอง พฤติการณ์ตาม รูปคดียังไม่หนักแน่นมั่นคงพอจะฟังว่า จำเลยกับพวกฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาให้ยกเอาคำให้การของจำเลยดังกล่าวขึ้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยคดี ถือว่าคำให้การของจำเลยนั้นเป็นการให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ สมควรลดให้ และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาประกันตัวจำเลยและการสิ้นสุดของกระบวนการลดค่าปรับ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกัน ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ต่อมาผู้ประกันผิดสัญญาประกันโดยไม่ส่งตัวจำเลยตามนัด ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเต็มตามสัญญาแล้ว ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับให้บางส่วน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น ให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีของผู้ประกันดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ไม่อาจที่จะฎีกาต่อมาอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวจำเลยผิดเงื่อนไข ศาลมีอำนาจบังคับตามสัญญา และคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกัน ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ต่อมาผู้ประกัน ผิดสัญญาประกันโดยไม่ส่งตัวจำเลยตามนัด ศาลชั้นต้นสั่งปรับ ผู้ประกันเต็มตามสัญญาแล้ว ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ ลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับให้บางส่วน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง คำสั่งเป็นอย่างอื่น ให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีของ ผู้ประกันดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ไม่อาจที่ จะฎีกาต่อมาอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้ไม่มีหน้าที่จัดทำบัญชีตามกฎหมาย ผู้รับอนุญาตต่างหากที่มีหน้าที่
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความจริงอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามประการหนึ่ง กับเมื่อผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นตัวการได้มอบอำนาจให้จำเลยตัวแทนมีอำนาจเฉพาะสั่งให้คนงานหรือผู้รับจ้างหยุดทำการแปรรูปไม้หยุดขนหรือเคลื่อนย้ายไม้เมื่อได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ อำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถาม และรับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบกิจการที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ลงนามในหนังสือกำกับไม้แปรรูปและลงนามในคำขอใบเบิกทางเพื่อขอนำไม้เคลื่อนที่ และลงนามในหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์และลงนามในคำขอประทับรอยตราประจำต่อหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ติดต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับโรงงานแปรรูปไม้ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตั้งตัวแทนเท่านั้น อันมีลักษณะเป็นกรณีที่จำเลยตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้จัดทำบัญชีดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตามมาตรา 58ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ และตามข้อกำหนดฉบับที่ 18(พ.ศ.2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อ 14 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตต้องอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเอง หากไม่อาจอยู่ดูแลกิจการด้วยตนเองได้ต้องจัดให้มีตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และวรรคสามระบุว่า หากฝ่าฝืนให้สั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามข้อกำหนดดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่อาจอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเองได้ ต้องจัดให้มีตัวแทนเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนไม่จัดให้มีตัวแทนเพื่อการดังกล่าวไว้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้: ความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและการดูแลกิจการตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความจริงอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้าม จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับใบอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามประการหนึ่ง กับเมื่อผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นตัวการได้มอบอำนาจให้จำเลยตัวแทนมีอำนาจเฉพาะสั่งให้คนงานหรือผู้รับจ้างหยุดทำการแปรรูปไม้ หยุดขนหรือเคลื่อนย้ายไม้เมื่อได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ อำนวยความสะดวก ตอบข้อซักถาม และรับทราบคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ทำการตรวจสอบกิจการที่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ลงนามในหนังสือกำกับไม้แปรรูปและลงนามในคำขอใบเบิกทางเพื่อขอนำไม้เคลื่อนที่ และลงนามในหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์และลงนามในคำขอประทับรอยตราประจำต่อหนังสือกำกับสิ่งประดิษฐ์ติดต่อเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับโรงงานแปรรูปไม้ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือตั้งตัวแทนเท่านั้นอันมีลักษณะเป็นกรณีที่จำเลยตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใด บรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดดังนี้ แม้จำเลยไม่ได้จัดทำบัญชีดังกล่าว จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตามมาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ และตามข้อกำหนดฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ ข้อ 14 ระบุว่า ผู้รับอนุญาตต้องอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเอง หากไม่อาจอยู่ดูแลกิจการด้วยตนเองได้ต้องจัดให้มีตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนด เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ และวรรคสามระบุว่า หากฝ่าฝืนให้สั่งพักใช้ใบอนุญาต ตามข้อกำหนดดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่อาจอยู่ดูแลกิจการแปรรูปไม้ด้วยตนเองได้ ต้องจัดให้มีตัวแทนเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบคำถามแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หากผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนไม่จัดให้มีตัวแทนเพื่อการดังกล่าวไว้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งพักใช้ใบอนุญาตของผู้รับอนุญาตได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้: ผู้รับอนุญาตต้องรับผิดชอบการจัดทำบัญชี ไม่ใช่ตัวแทน
พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 58 ประกอบมาตรา 73 ทวิ และกฎกระทรวงฉบับที่ 27(พ.ศ. 2530) ข้อ 5 วรรคหนึ่ง และข้อกำหนดฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2526)ข้อ 5 ประกอบกันความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความเป็นจริงอันเป็นความผิดตามมาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามดังจะเห็นได้จากข้อกำหนดฉบับที่ 18(พ.ศ. 2532) ข้อ 8 และข้อ 11 จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามแม้จำเลยเป็นตัวแทนของผู้รับอนุญาตแต่หนังสือตั้งตัวแทนก็มิได้ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามที่กล่าวมาข้างต้นอันเป็นหน้าที่ของผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด จำเลยไม่จัดทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 58 ประกอบมาตรา 73 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ศาลยืนความผิดมาตรา 326 แม้เกินอำนาจศาลแขวงตามมาตรา 328
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่ เมื่อเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับมาลงโทษอีกดังนี้ เมื่อศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษาและได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้ว เมื่อจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ด้วยการโฆษณาที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4249/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: ศาลแขวงปรับบทลงโทษตามมาตรา 328 มิได้ แม้เป็นบทหนักกว่า
ความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 เป็นบทความผิดลักษณะฉกรรจ์ของความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กฎหมายหาได้บัญญัติแยกการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 326 กับความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาตามมาตรา 328 ออกต่างหากจากกันไม่
ศาลแขวงไม่มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 328 เพราะเกินอำนาจพิจารณาพิพากษา และได้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดตามมาตรา 328 ไปแล้วเท่านั้น หาใช่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 326 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดตามมาตรา 326 จึงชอบแล้ว
of 36