พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเรื่องสิทธิในที่ดิน การครอบครองตามสัญญาเช่า
ในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ และได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทก็โดยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย หาใช่เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนไม่ ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว จึงมีผลผูกพันถึงคดีแพ่งซึ่งพิพาทกันภายหลังเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ต่อศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายก็รับในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยโจทก์ตกลงประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อที่ดินพิพาทมิใช่เป็นที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์: นายอำเภอ vs. กรมที่ดิน และการไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาตกเป็นของอธิบดีกรมที่ดิน ตาม ป. ที่ดิน มาตรา 8 แต่สำหรับทางสาธารณประโยชน์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ได้บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษา ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 62 วรรคสาม ดังนั้น อำนาจในการกำหนดแนวเขตทางสาธารณะจึงมิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลย การที่เจ้าพนักงานที่ดินในสังกัดส่วนราชการของจำเลยได้รังวัดที่ดินและระบุว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะตามที่ผู้ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอนำชี้และระวังแนวเขตที่ดิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์อยู่ที่นายอำเภอ ไม่ใช่กรมที่ดิน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ดินที่ตกเป็นที่สาธารณประโยชน์ ถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาย่อมตกเป็นของอธิบดีกรมที่ดินตามที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดินฯ มาตรา 8 แต่สำหรับทางสาธารณประโยชน์นั้น พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ฯ มาตรา 122 ได้บัญญัติให้กรมการอำเภอเป็นผู้มีหน้าที่ตรวจตรารักษา ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ มาตรา 62 วรรคสาม เห็นได้ว่าอำนาจในการกำหนดแนวเขตทางหรืออำนาจในการดูแลรักษาทางอันเป็นสาธารณประโยชน์ มิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยและส่วนราชการของจำเลย เมื่อส่วนราชการของจำเลยไม่มีหน้าที่กำหนดให้ทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์ การที่เจ้าพนักงานที่ดินประจำส่วนราชการของจำเลยได้รังวัดที่ดินและระบุว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะตามที่ผู้ได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอหัวหินนำชี้และรังวัดแนวเขตที่ดิน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ แม้เชื่อโดยสุจริตก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ที่ดินที่จำเลยครอบครองอยู่เป็นที่สาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เจ้าพนักงานได้มีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยออกจากที่ดินที่ตนครอบครองอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยยังไม่ออกจากที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยจะเชื่อโดยสุจริตในขณะเข้าครอบครองว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของตนและที่ดินดังกล่าวมิใช่ที่ดินสาธารณประโยชน์ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) และ 108 ทวิ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10866/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำทรัพย์สินส่วนตัวลงเป็นหุ้นในห้างหุ้นส่วน ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของห้างหุ้นส่วน แม้จะยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์และ ธ. ซึ่งมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาทได้นำที่ดินพิพาทมาลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. แม้จะไม่มีการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดิน ที่ดินพิพาทก็ย่อมเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้าง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 จึงมีคำสั่งให้อายัดและยึดที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10855/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการซื้อขายและการรับสภาพหนี้: หนังสือรับสภาพหนี้ไม่ทำให้หนี้เดิมไม่ขาดอายุความ แต่สร้างอายุความใหม่
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2538 จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ว่าจำเลยค้างชำระค่าไม้แปรรูปที่ซื้อจากโจทก์ที่ 1 จำนวน 600,000 บาท และค้างชำระค่าวัสดุก่อสร้างที่ซื้อจากโจทก์ที่ 2 จำนวน 400,000 บาท จำเลยจะชำระเงินดังกล่าวให้โจทก์ทั้งสองเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2539 เมื่อถึงกำหนดจำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน ดังนี้ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ คือจำเลยเป็นหนี้โจทก์ทั้งสอง ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือหลักฐานหนังสือรับสภาพหนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อที่ว่าจำเลยซื้อสินค้าและค้างชำระตั้งแต่เมื่อใดเป็นเงินเท่าใด ส่งมอบสินค้าแก่ผู้ใด ล้วนเป็นรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จำเลยสั่งซื้อไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 จำเลยไม่ชำระค่าสินค้า ซึ่งอายุความให้ชำระหนี้ค่าของที่ได้ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มีกำหนด2 ปี และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 คือนับตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 ซึ่งเป็นเวลาส่งมอบสินค้า จำเลยทำบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เกินกำหนด2 ปี นับตั้งแต่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลย จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แต่เป็นหลักฐานที่จำเลยรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำบันทึกข้อตกลงตามมาตรา 193/35 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จำเลยสั่งซื้อไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 จำเลยไม่ชำระค่าสินค้า ซึ่งอายุความให้ชำระหนี้ค่าของที่ได้ส่งมอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มีกำหนด2 ปี และอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 193/12 คือนับตั้งแต่ปลายปี 2535 ถึงต้นปี 2536 ซึ่งเป็นเวลาส่งมอบสินค้า จำเลยทำบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2538 เกินกำหนด2 ปี นับตั้งแต่โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลย จึงไม่เป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ซึ่งจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามมาตรา 193/14 แต่เป็นหลักฐานที่จำเลยรับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับตั้งแต่วันทำบันทึกข้อตกลงตามมาตรา 193/35 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2539 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนตามขั้นตอนที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นไม่ถือเป็นทายาท
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627 บัญญัติไว้ด้วยว่า "? บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 ว่า เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตรต่อกำนันตำบลโคกปีบ จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย อันจะถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย: การจดทะเบียนตามกฎหมายครอบครัวเป็นสำคัญ
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627บัญญัติไว้ด้วยว่า ".....บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวหมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 เท่านั้น
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่าผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478โดยผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอต่อนายทะเบียนเพื่อขอให้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478 ข้อ 2 วรรคสอง ดังนั้น การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตร จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7507/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสัญญาค้ำประกัน แม้สัญญาไม่สมบูรณ์ด้านอากรแสตมป์ ศาลรับฟังได้จากพฤติการณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า สัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วน จึงไม่ชอบเท่านั้น จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธโดยแจ้งชัดว่าจำเลยไม่ได้ตกลงทำสัญญา ค้ำประกันกับโจทก์ จึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าได้มีการตกลงทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ตามฟ้องจริง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นหลักฐานในคดีแต่ประการใด แม้สัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ไม่เป็นกรณีต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7117/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความถึงแก่กรรมและไม่มีผู้ขอเข้าเป็นคู่ความแทนภายในกำหนด
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ถึงแก่กรรม ป. ได้รับอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ป. ถึงแก่กรรม ศาลชั้นต้นแจ้งให้หมายโจทก์ทราบเพื่อหาบุคคลเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะแล้ว ไม่ปรากฏว่าทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกของโจทก์ยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน และจำเลยก็มิได้มีคำขอให้ศาลมีหมายเรียกบุคคลดังกล่าวเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ ป. ถึงแก่กรรม กรณีจำต้องจำหน่ายคดี