คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ แสนภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการแบ่งมรดกเป็นเรื่องเดียวกันกับฟ้องเดิม สามารถพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า มิได้ปิดบังพินัยกรรมโจทก์และจำเลยรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยได้ที่ดินพิพาท และจำเลยเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยเข้าครอบครองมรดกที่ดินพิพาทเป็นส่วนสัดแล้วทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6868/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการรับมรดกและการแบ่งมรดกเป็นเรื่องเดียวกัน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้รับฟ้องแย้ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาทเพราะปิดบังพินัยกรรม ห้ามจำเลยทั้งสองยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่ามิได้ปิดบังพินัยกรรม โจทก์และจำเลยทั้งสองรวมทั้งทายาทอื่นตกลงแบ่งมรดกโดยจำเลยทั้งสองได้ที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองเป็นส่วนสัดแล้ว โจทก์ไม่มีส่วนในที่ดินพิพาทอีก คดีโจทก์ขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้องและห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท ดังนี้เห็นได้ว่าเป็นเรื่องพิพาทกันเกี่ยวกับการรับมรดกที่ดินพิพาทนั่นเอง คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้กำจัดจำเลยทั้งสองมิให้รับมรดกที่ดินพิพาท จึงเป็นการฟ้องเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ฝ่ายเดียว ส่วนฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองที่ว่ามีการตกลงแบ่งมรดกและจำเลยทั้งสองเข้าครอบครองมรดกที่พิพาทเป็นส่วนสัดแล้ว ทั้งคดีโจทก์ขาดอายุความ หากเป็นจริงโจทก์ก็สิ้นความเป็นทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเอามรดกที่ดินพิพาทรวมทั้งไม่มีสิทธิยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ดังนี้ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองก็เพื่อจะได้มรดกที่ดินพิพาทแต่ฝ่ายเดียวเช่นกัน ฟ้องแย้งจำเลยทั้งสองจึงเป็นเรื่องเดียวกับฟ้องเดิม พอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินถือเป็นการ 'โอน' ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทำให้ผู้รับเวนคืนต้องชำระสินน้ำใจตามสัญญา
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของคำว่า โอนหมายถึง ยอมมอบให้ ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการที่ต้องยอมมอบให้เนื่องจากการเวนคืนอันเป็นผลของกฎหมายด้วย เมื่อที่ดินของโจทก์ถูกโอนเปลี่ยนมือจากโจทก์เป็นของทางราชการ ทั้งโจทก์ก็ได้รับค่าทดแทนการเวนคืนจากทางราชการจึงเป็นการโอนให้ผู้อื่นซึ่งโจทก์จะต้องให้สินน้ำใจ 1,700,000 บาท แก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินถือเป็นการโอนตามสัญญายอม ความผิดสัญญาและผลบังคับคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมว่า หากโจทก์ขายหรือโอนที่ดินพิพาทของโจทก์ให้ผู้อื่น โจทก์จะให้สินน้ำใจแก่จำเลย 1,700,000 บาท และจะแจ้งการขายหรือโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยทราบ ดังนั้นเมื่อที่ดินพิพาทถูกเวนคืนแม้จะเป็นไปโดยผลของกฎหมาย แต่โจทก์ก็ได้รับค่าทดแทนจากทางราชการ จึงถือว่าเป็นการโอนให้ผู้อื่นตามสัญญายอมดังกล่าว ซึ่งโจทก์ต้องชำระสินน้ำใจ 1,700,000 บาท แก่จำเลย เมื่อโจทก์ไม่ชำระ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว ศาลฎีกายกฟ้องในส่วนดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานประกอบโรคศิลปะ สาขาเวชกรรม โดยฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 11 ซึ่งความผิดดังกล่าวมีบัญญัติไว้แล้วใน พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 21 จึงถือว่าความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ในส่วนที่เกี่ยวกับสาขาเวชกรรมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2544 เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดฐานประกอบโรคศิลปะ สาขาเวชกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 , 11 , 21 ที่แก้ไขแล้ว เท่ากับเป็นการขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายที่ถูกยกเลิกแล้ว ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างกฎหมายอันใดมาเลย ไม่ใช่เรื่องอ้างกฎหมายผิด ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 ไม่ได้ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดก – การฟ้องคดีซ้ำที่มีประเด็นวินิจฉัยเดียวกันกับคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อนโจทก์เคยให้พนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุทองดี โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านในคดีก่อนว่า ทรัพย์ที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นของวัดจำเลยที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทองดี คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นว่า พระภิกษุทองดีได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่ และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นของวัดจำเลยที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทองดี ไม่มีเหตุที่จะตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อนว่า ทรัพย์มรดกพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุทองดีได้มาก่อนบวชเป็นพระภิกษุที่วัดจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุทองดีได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย เมื่อในคดีก่อนพนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรีร้องขอแทนโจทก์ ศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยฟ้องของโจทก์คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดกที่ศาลเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องคดีซ้ำจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้าม
คดีแพ่งเรื่องก่อนพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ท. โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยคดีนี้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ท. ที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย จึงมีประเด็นว่า พระภิกษุ ท. ได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อน แม้คดีก่อนพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้อยู่แล้วให้พนักงานอัยการร้องขอแทน จึงถือได้ว่าเป็นการร้องขอแทนโจทก์ เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทย่อมถือได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4171/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินต้องมีฟ้องความผิดฐานใช้หรือมีไว้เพื่อกระทำความผิด และต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 คำว่า "มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด" บ่งชี้ว่าต้องมีความผิดเกิดขึ้นศาลจึงจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินได้ นอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18(5) การริบทรัพย์สินเป็นโทษอย่างหนึ่งสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดศาลจะสั่งริบทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดได้ต่อเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น และโจทก์ต้องฟ้องขอให้ลงโทษในความผิดนั้นด้วย แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องเพียงว่าจำเลยมีกัญชาอัดแท่งและมีกัญชาผสมยาเส้นไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเท่านั้น โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานผลิตกัญชาและฐานเสพกัญชาโจทก์จึงขอให้ศาลสั่งริบถุงพลาสติกใส มีด เขียงพลาสติก และบ้องกัญชาด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3962/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสนับสนุนการฉ้อโกงและใช้เอกสารปลอม: พยานหลักฐานรับสารภาพและพฤติการณ์สนับสนุน
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่บ้านผู้เสียหายเพื่อให้จำเลยที่ 2ที่ 3 กู้เงินผู้เสียหายโดยใช้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนปลอมเป็นหลักฐานการขอกู้เงิน และไปจอดรถรออยู่ริมบึง ซึ่งพันตำรวจตรี บ. ผู้ร่วมจับกุมจำเลยทั้งสามได้วางกำลังเจ้าพนักงานตำรวจไว้รอบบึงเจ้าพนักงานตำรวจได้วิทยุแจ้งเหตุการณ์ให้ทราบ ตั้งแต่ขณะจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วไปจอดรถรออยู่ระหว่างจับกุมจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 1รู้ตัวจึงขับรถยนต์หลบหนี เจ้าพนักงานตำรวจวิทยุสกัดจับกุมไว้ได้ ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 รับว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการปลอมเอกสารนำเอกสารที่ช่วยกันทำปลอมขึ้นไปถ่ายสำเนาหลายครั้งและขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตั้งแต่วันแรกและไปนอนค้างคืนที่โรงแรมในอำเภอ และวันรุ่งขึ้นก็ยังขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่บ้านผู้เสียหายอีก และขณะถูกจับกุมเจ้าพนักงานตำรวจค้นในรถก็พบกระเป๋าเสื้อผ้าของจำเลยที่ 2 และที่ 3 พยานหลักฐานโจทก์จึงปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานร่วมกันพยายามฉ้อโกงและฐานร่วมกันใช้เอกสารราชการและเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษคดีเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 97: การคำนวณโทษและการปรับบทกฎหมาย
ในเรื่องการเพิ่มโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 นั้น โทษกึ่งหนึ่งที่จะนำมาคำนวณในการเพิ่มโทษที่จะลงโทษแก่จำเลยหมายถึงโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลได้กำหนดไว้สำหรับความผิดครั้งหลัง ซึ่งก็คือโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลได้กำหนดไว้สำหรับความผิดในคดีนี้ มิใช่เป็นโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลได้กำหนดไว้สำหรับความผิดครั้งก่อนหรือความผิดในคดีอาญาของศาลชั้นต้นทั้งสองคดีรวมกัน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 2 กระทง จำคุก 10 ปี การที่ศาลล่างทั้งสองเพิ่มโทษจำเลยอีกกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 เป็นจำคุก 15 ปี นั้น เป็นการเพิ่มโทษที่ถูกต้องและชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว และเมื่อมีการลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามเพราะเหตุจำเลยให้การรับสารภาพชั้นจับกุม คงจำคุก 10 ปี ย่อมเป็นการชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน
of 36