พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาที่ถูกต้อง: การส่งหมายศาลไปยังสถานที่ทำงานที่จำเลยพักอาศัยเป็นภูมิลำเนาได้
จำเลยเป็นเจ้าของและได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงเรียน ม. ซึ่งไม่มีเลขที่ แต่โรงเรียนม. กับบ้านเลขที่ 788 ตั้งอยู่บนที่ดินของบริษัท ด. ซึ่งสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 788 มีจำเลยเป็นกรรมการคนหนึ่ง และเจ้าพนักงานศาลเคยไปส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องให้จำเลย ซึ่งระบุเลขที่ 788 ก็จะนำส่งที่โรงเรียน ม. น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ 788คือสถานที่ตั้งของโรงเรียน ม. ซึ่งเป็นที่ทำงานของจำเลยมาเป็นเวลา 12 ปี จนถึงปัจจุบันจำเลยพักอาศัยอยู่ในโรงเรียนนั้น ถือว่าโรงเรียน ม. เป็นถิ่นอันจำเลยมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลย การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ภูมิลำเนาดังกล่าวจึงเป็นการส่งโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาคดีแพ่งถึงที่สุดย่อมไม่เปลี่ยนแปลงตามคำพิพากษาคดีอาญาที่ฟ้องเรื่องเบิกความเท็จ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์แม้ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชนะคดีอาญาที่ฟ้องขอให้ลงโทษผู้รับมอบอำนาจโจทก์ฐานเบิกความเท็จ ศาลก็ลงโทษผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทางอาญาเท่านั้น คำพิพากษาคดีอาญาหามีผลทำให้คำพิพากษาคดีแพ่งซึ่งถึงที่สุดไปแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ไม่ ฉะนั้นการที่จำเลยที่ 2 ฟ้องผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นคดีอาญาฐานเบิกความเท็จ จึงหาเป็นเหตุเพียงพอให้งดการบังคับคดีแพ่งไว้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร่วมและการพิพากษาคดีเช็ค: การจำกัดความรับผิดเฉพาะผู้เสียหายโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออกเช็ครวม 3 ฉบับ และได้มอบเช็คสองฉบับ ให้แก่ ศ. ส่วนเช็คอีกฉบับ มอบให้แก่ พ. เพื่อชำระหนี้ที่จำเลยได้ยักยอกเงินของผู้เสียหายทั้งสองไป ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด อันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 เมื่อ ศ. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต จึงหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตามเช็คเพียงสองฉบับ ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงเช็คอีกหนึ่งฉบับซึ่งโจทก์ร่วมมิใช่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ร่วมฎีกาแต่เพียงฝ่ายเดียวคดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมเฉพาะสองฉบับที่โจทก์ร่วมเป็นผู้ได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้จากการยักยอกเงินลงทุน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยลงชื่อสั่งจ่ายเช็ค โดย ศ. เป็นผู้เขียนข้อความในเช็คตามที่จำเลยขอให้เขียนแทนเนื่องจากจำเลยอ้างว่าลายมือไม่สวยเมื่อ ศ. เขียนรายการในเช็คตามที่จำเลยขอให้เขียนให้ต่อหน้าจำเลยถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมและ ภ. ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องผิดสัญญาซื้อขายซ้ำหลังศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โดยอ้างเหตุบอกกล่าวใหม่ ถือเป็นการฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. ม.148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาซื้อขาย เรียกเงินคืน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยไม่ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยไม่น้อยกว่า 3 เดือน ตามข้อสัญญา พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวจำเลยก่อนบอกเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไม่ชอบ พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เท่ากับประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยถึงที่สุด ทั้งเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 3 เดือน แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา และฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโดยอ้างว่าโจทก์ได้บอกกล่าวจำเลยก่อนบอกเลิกสัญญาแล้ว อันเป็นการฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญา โดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การบอกกล่าวเป็นหนังสือก่อนบอกเลิกสัญญา เป็นเหตุใหม่ ทำให้ฟ้องครั้งหลังไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ต้องส่งหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยตามข้อสัญญาพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือถึงจำเลยก่อนบอกเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาจึงไม่ชอบ พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ เท่ากับประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ ยังไม่ได้มีการวินิจฉัยถึงที่สุด และเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาและฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายโดยอ้างว่าโจทก์ได้บอกกล่าวเป็นหนังสือถึงจำเลยทราบก่อนบอกเลิกสัญญา อันเป็นการฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาโดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องผิดสัญญาซื้อขายโดยอ้างเหตุใหม่ หลังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการบอกเลิกสัญญาแล้ว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องบริษัทจำเลยว่าผิดสัญญาซื้อขายและเรียกเงินคืนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ต้องส่งคำบอกกล่าวเป็นหนังสือถึงจำเลยไม่น้อยกว่า 3 เดือนตามสัญญา แล้วพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือถึงข้อที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารให้จำเลยทราบก่อนเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาจึงไม่ชอบ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวจึงยังไม่มีการวินิจฉัยให้เป็นที่สุด ภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาภายใน 3 เดือน แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าผิดสัญญาซื้อขาย โดยอ้างว่าโจทก์ได้บอกกล่าวถึงข้อที่จำเลยไม่สามารถก่อสร้างอาคารให้จำเลยทราบก่อนเลิกสัญญาแล้ว กรณีถือได้ว่าเป็นการฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาโดยอ้างเหตุขึ้นใหม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดและการบังคับใช้สัญญาเช่าที่ไม่ได้จดทะเบียน
สัญญาเช่าอาคารที่โจทก์ทำกับจำเลยมีกำหนดระยะเวลาเช่า 10 ปี โดยมิได้จดทะเบียนการเช่า สัญญาดังกล่าวจึงบังคับได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 และต้องถือว่าการเช่าใน 3 ปีแรก เป็นการเช่าที่มีกำหนดระยะเวลา การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าหลังจากเช่าไปแล้ว 1 ปีเศษ ถือว่าโจทก์ประสงค์บอกเลิกสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดให้สิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเลิกสัญญาได้ การที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนดจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7168-7172/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรั้วกีดขวางทางเข้าออกและอากาศถ่ายเทถือเป็นการละเมิด จำเป็นต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์สร้างความรำคาญให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยบอกกล่าวห้ามปรามแล้ว โจทก์ไม่เชื่อฟัง จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อขจัดความเดือดร้อน หามีสิทธิที่จะสร้างรั้วอิฐบล็อกปิดกั้นทางลมและแสงสว่างมิให้พัดและส่องสว่างเข้าทางประตูหน้าต่างตึกแถวของโจทก์ไม่
จำเลยเป็นผู้สร้างตึกแถวของโจทก์โดยผนังตึกแถวด้านหลังมีประตูและหน้าต่างติดกับเขตที่ดินของจำเลย แม้จะเป็นการผิดเทศบัญญัติก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิอ้างเหตุดังกล่าวก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกติดกับผนังตึกแถวด้านหลังของโจทก์ จนเป็นเหตุให้ปิดกั้นทางลมและแสงสว่างที่จะผ่านเข้าออกทางด้านหลังของตึกแถวของโจทก์โดยที่โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และแม้จำเลยจะก่อสร้างในเขตที่ดินของจำเลยก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421
จำเลยเป็นผู้สร้างตึกแถวของโจทก์โดยผนังตึกแถวด้านหลังมีประตูและหน้าต่างติดกับเขตที่ดินของจำเลย แม้จะเป็นการผิดเทศบัญญัติก็เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการแก่โจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิอ้างเหตุดังกล่าวก่อสร้างรั้วอิฐบล็อกติดกับผนังตึกแถวด้านหลังของโจทก์ จนเป็นเหตุให้ปิดกั้นทางลมและแสงสว่างที่จะผ่านเข้าออกทางด้านหลังของตึกแถวของโจทก์โดยที่โจทก์มิได้ยินยอมด้วย และแม้จำเลยจะก่อสร้างในเขตที่ดินของจำเลยก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6103/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญ + กลฉ้อฉล = นิติกรรมโมฆะ แม้ราคาทรัพย์สินไม่ใช่สาระสำคัญโดยตรง
การที่โจทก์ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ในราคา 4,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีเจตนาจะขายที่ดินพิพาทในราคา 52,000,000 บาท และจำเลยที่ 1 ก็ทราบอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทมีราคาท้องตลาดมากกว่า 36,000,000 บาท เป็นการทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดเพราะถูกนายหน้าขายที่ดินพิพาทหลอกลวง ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 กับพวกรู้ถึงการหลอกลวง การที่โจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันเช่นนี้ แม้มิใช่สำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีหรือทรัพย์สิน ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เช่นเดียวกัน เมื่อนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมและเกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมมีผลเป็นโมฆะตามมาตรา 156 แต่นิติกรรมที่เกิดจากการแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลมีผลเป็นโมฆียะ ตามมาตรา 159 จึงต้องถือว่านิติกรรมรายนี้เป็นโมฆะเพราะเป็นผลดีต่อผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมโดยบกพร่องยิ่งกว่าเป็นโมฆียะ