พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4425/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดเสียดสี 'ทนายสกปรก' ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท หากไม่มีข้อความประกอบที่เจาะจง
ขณะโจทก์เดินอยู่ที่หน้าหอประชุม จำเลยชี้มือมาที่โจทก์แล้วพูดกับชาวบ้านที่เดินผ่านมาว่า "ระวังทนายสกปรกจะเอาเรื่อง" ซึ่งคำพูดดังกล่าวไม่มีข้อความประกอบให้เห็นว่า โจทก์มีอาชีพทนายความสกปรกในเรื่องอะไรแม้จะเป็นคำเสียดสีโจทก์ว่าเป็นคนน่ารังเกียจ แต่ไม่ถึงขนาดทำให้ผู้ที่รับฟังเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนคดโกงขาดความน่าเชื่อถือหรือน่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงไม่เป็นหมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ & สละมรดก: สิทธิในการจัดการมรดก & อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมที่ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ไว้ แม้จะมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ในขณะทำพินัยกรรม ก็ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ผู้ร้องซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกมีข้อความว่า ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกแล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีกนั้น เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ทั้งยังปรากฏว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับไปนั้นเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่เพียงบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613 ซึ่งมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกมีข้อความว่า ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกแล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีกนั้น เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ทั้งยังปรากฏว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับไปนั้นเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่เพียงบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613 ซึ่งมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ & การสละมรดกมีผลย้อนหลัง ทำให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีอำนาจขอเป็นผู้จัดการมรดก
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1656 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนกิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนกิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์-สละมรดก: ผลต่อการจัดการมรดกและการมีส่วนได้เสียของผู้ร้อง
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1615 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามป.พ.พ. มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังในถึงเวลาเข้ามรดกตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามป.พ.พ. มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังในถึงเวลาเข้ามรดกตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์และผลของการสละมรดกต่อการเป็นผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมที่มีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา 1705
บันทึกข้อตกลงที่มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของ ส. ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดก ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 นอกจากนี้เงิน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
บันทึกข้อตกลงที่มีข้อความว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกของ ส. ไปในวันนี้แล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดก ที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850 นอกจากนี้เงิน 10,000 บาท ที่ผู้ร้องจ่ายให้ผู้คัดค้านที่ 1 ก็เป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับเงินดังกล่าวไป แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก จึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกเพียงบางส่วนจึงมีผลเป็นการสละมรดกตามมาตรา 1612 และไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 สละมรดกแล้วมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีอำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการและสิทธิเรียกร้อง: ธนาคารรับโอนสิทธิฟ้องแทนโจทก์ได้ตามกฎหมาย
โจทก์โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯ และโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลย โดยขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการคือ สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้วและขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯทั้งโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 38 สัตตเช่นนี้ ธนาคาร ก. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไปตามกฎหมาย
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้วและขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯทั้งโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 38 สัตตเช่นนี้ ธนาคาร ก. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไปตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการโอนกิจการธนาคาร: สิทธิเรียกร้องโอนได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล
ธนาคารมหานคร จำกัด โจทก์ได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 14กันยายน 2541 และโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2541 ซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลังทั้งโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ซึ่งตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 มาตรา 38 สัตต บัญญัติไว้ว่า ในการโอนกิจการธนาคารพาณิชย์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่น ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามมาตรา 38 สัตต ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไป
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลังทั้งโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ซึ่งตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 มาตรา 38 สัตต บัญญัติไว้ว่า ในการโอนกิจการธนาคารพาณิชย์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่น ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามมาตรา 38 สัตต ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกลงซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยที่ 1 โดยนัดส่งมอบและชำระเงินกันภายหลัง ในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์มีจำเลยที่ 3 นั่งซ้อนท้ายไปจอดอยู่ริมถนน หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะไปจอดใกล้ ๆ แล้วเลื่อนกระจกรถลงพร้อมกับยื่นห่อบรรจุเมทแอมเฟตามีนจำนวน 380 เม็ดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเตรียมเงินมาพร้อมที่จะส่งมอบให้จำเลยที่ 1 เช่นกัน แต่จำเลยที่ 1 เห็นเจ้าพนักงานตำรวจที่กำลังจะเข้าจับกุม จึงขับรถหลบหนีโดยยังไม่ได้ส่งมอบและรับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนและขว้างเมทแอมเฟตามีนทิ้ง การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ใกล้ชิดกับความผิดสำเร็จ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ลงมือกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด เพราะถูกจับกุมเสียก่อน การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้เสพติดเมทแอมเฟตามีน และได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซื้อเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้แก่ ล. จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำให้เกิดการรบกวนการสื่อสาร ความผิดแยกกระทง
จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคม 6 เครื่อง มาทำให้เกิดคลื่นความถี่วิทยุและลักลอบใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบมือถือของบุคคลอื่นรวม 6 หมายเลข แล้วนำออกให้ประชาชนเช่าใช้บริการนาทีละ 3 บาท เป็นการแสวงหาประโยชน์ส่วนตน โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของคลื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นับเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้จำเลย
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดฐานทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมเป็นความผิด เพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม ซึ่งแม้จำเลยจะมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยได้รับหรือไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม หากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมก็เป็นความผิดฐานนี้แล้วความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันจำเลยจึงมีความผิด 2 กรรมต่างกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
ความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดฐานทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมเป็นความผิด เพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม ซึ่งแม้จำเลยจะมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยได้รับหรือไม่ได้รับใบอนุญาตก็ตาม หากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมก็เป็นความผิดฐานนี้แล้วความผิดทั้งสองฐานนี้จึงมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างกันจำเลยจึงมีความผิด 2 กรรมต่างกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเป็น 2 กรรม ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขในเรื่องโทษได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3160/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกระทรวงที่มอบอำนาจผู้ว่าฯ แม้รัฐมนตรีพ้นตำแหน่งแล้ว คำสั่งมอบอำนาจยังสมบูรณ์
รัฐมนตรีมีคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ นาย ธ. จะพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโจทก์ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อคำสั่งมอบอำนาจไม่ได้ถูกยกเลิกเพิกถอน คำสั่งมอบอำนาจดังกล่าวของนาย ธ. คงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้