คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำรูญ แสนภักดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างศาสนสมบัติของวัด โดยผู้แทนของวัด มีผลผูกพันจำเลย
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีข้อความว่า "พระครู ก. ได้ยืมเงินสดเพื่อจะจ่ายค่าก่อสร้างวัดให้ลุล่วงไปด้วยดี....บาท กำหนดคืนให้หลังทอดกฐินวัดเรียบร้อยแล้ว" เป็นเพียงหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อพระครู ก. ผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่สัญญากู้ยืมเงินจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
หนี้สินที่พระครู ก. ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เป็นหนี้ที่ใช้ในการก่อสร้างกุฏิอันเป็นศาสนสมบัติของวัดจำเลย มิใช่เป็นการกู้ยืมเพื่อตนเอง พระครู ก. กระทำการดังกล่าวแทนจำเลยได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 และ 39 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อีกทั้งเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเงินให้พระครู ก. ซึ่งกระทำแทนจำเลยไปแล้ว สัญญากู้ย่อมบริบูรณ์ การที่จะต้องให้ไวยาวัจกรเป็นผู้เก็บรักษาเงินหรือต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎกระทรวงข้อ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ไม่เกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญากู้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2721/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างวัด โดยตัวแทนของวัด จำเลยมีหน้าที่รับผิดชดใช้เงินกู้
หนังสือสัญญากู้ยืมที่มีข้อความว่า "พระครู ก. ได้ยืมเงินสดเพื่อจะจ่ายค่าก่อสร้างวัดให้ลุล่วงไปด้วยดี....บาท กำหนดคืนให้หลังทอดกฐินวัดเรียบร้อยแล้ว" เป็นเพียงหลักฐานในการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อพระครู ก. ผู้ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เท่านั้น มิใช่สัญญากู้ยืมเงินจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
หนี้สินที่พระครู ก. ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสจัดจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์เป็นหนี้ที่ใช้ในการก่อสร้างกุฎิอันเป็นศาสนสมบัติของวัดจำเลย มิใช่เป็นการกู้ยืมเพื่อตนเอง พระครู ก. กระทำการดังกล่าวแทนจำเลยได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 37 และ 39 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 อีกทั้งเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบเงินให้พระครู ก. ซึ่งกระทำแทนจำเลยไปแล้ว สัยญากู้ย่อมบริบูรณ์ การที่จะต้องให้ไวยาวัจกรเป็นผู้เก็บรักษาเงินหรือต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามกฎกระทรวงข้อ 6 ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ไม่เกี่ยวกับความบริบูรณ์ของสัญญากู้ จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของนิติบุคคล และการนับอายุความเมื่อทราบถึงการตายของลูกหนี้
โจทก์เป็นนิติบุคคล ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุให้คณะกรรมการดำเนินการของโจทก์มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการทั้งปวงให้เป็นไปตามข้อบังคับและตามมติของที่ประชุมใหญ่ ซึ่งรวมทั้งให้ฟ้องต่อสู้คดีหรือดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการมีมติที่ประชุมให้ ณ รองประธานกรรมการเป็นผู้แทนของโจทก์ในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของโจทก์ เท่ากับว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีเอง กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 801 (5) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจให้ ณ ดำเนินการแต่อย่างใด
บ. เป็นเพียงกรรมการคนหนึ่งของโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่ามีมติที่ประชุมใหญ่ของโจทก์แต่งตั้ง บ. เป็นผู้แทนโจทก์ในกิจการใด ๆ แม้ บ. จะรู้ถึงการตายของ ว. สามีจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2541 ก็หาใช้เป็นการรับรู้ของโจทก์ไม่ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ประชุมกันเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 โดยมีวาระการประชุมเกี่ยวกับการตายของ ว. ด้วย ถือได้ว่าโจทก์เพิ่งรู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ว. ในวันดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7865/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตยาเสพติดโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย และการริบทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง
ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พนักงานสอบสวนว่า เมทแอมเฟตามีนของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้เป็นของจำเลยทั้งสองที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โดยซื้อมาจาก ธ. ซึ่งเป็นผู้ที่จำเลยทั้งสองระบุชื่อและที่อยู่ไว้ แม้ตามคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 เป็นเสมือนคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่คำซัดทอดดังกล่าวมิได้เป็นเรื่องการปัดความผิดของจำเลยที่ 1 ให้เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียว โดยจำเลยที่ 1 คงให้การแจ้งเรื่องราวความเป็นมาของการกระทำความผิดของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลยที่ 2 จึงรับฟังประกอบคำเบิกความพยานโจทก์และพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
การที่จำเลยทั้งสองที่ร่วมกันแบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางใส่ในหลอดเครื่องดื่มถือว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และเมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองร่วมกันผลิตเป็นเมทแอมเฟตามีนที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการผลิตโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายเป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทหนักฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนโดยการแบ่งบรรจุเพื่อจำหน่าย เมทแอมเฟตามีนของกลางมีน้ำหนักเพียง 4.86 กรัม เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคท้าย
เทียนไข ไฟแช็ก กรรไกร หลอดเครื่องดื่ม และถุงพลาสติกของกลางนั้น ตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมระบุว่าวางอยู่ใกล้เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองกำลังแบ่งบรรจุ ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวไว้ทั้งจำเลยที่ 1 รับว่า ทรัพย์ดังกล่าวใช้สำหรับการบรรจุเมทแอมเฟตามีน ประกอบกับไฟแช็กและกรรไกรของกลางโดยสภาพสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนได้ ทรัพย์ของกลางเหล่านั้นจึงเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองที่ต้องริบเสียทั้งสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7846/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่านาและการฟ้องขับไล่หลังสัญญาหมดอายุ ผู้เช่าสืบแทนมีสิทธิ/หน้าที่ตามสัญญาเดิม
เมื่อการเช่านาของ ข. ซึ่งอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะครบกำหนดระยะเวลาการเช่านาในวันที่ 6 มกราคม 2541 โจทก์ทั้งเจ็ดบอกเลิกการเช่านาและ ค.ช.ก. ประจำแขวงบางชันมีมติยับยั้งการบอกเลิกการเช่าจำนวน 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี มีผลให้ ข. ผู้เช่านามีสิทธิเช่านาถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 และเมื่อ ข. ผู้เช่านาถึงแก่ความตายในวันที่ 10 ธันวาคม 2540 โดยมีจำเลยเป็นผู้เช่านาสืบแทนต่อมา ผู้เช่าสืบแทนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ข. ผู้เช่าเดิมที่มีต่อผู้ให้เช่า ตามมาตรา 29 วรรคสองแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยจึงมีสิทธิเช่านาพิพาทต่อไปจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว โดยโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งบอกเลิกการเช่านาแก่จำเลยพร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ ค.ช.ก. ประจำแขวงบางชันทราบตามเงื่อนไขและวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 อีก เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากนาที่พิพาท โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7846/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดและสืบต่อสัญญาเช่าที่ดินเกษตรกรรม ผลกระทบจากการยับยั้งการบอกเลิกสัญญา และสิทธิของผู้เช่าสืบแทน
เมื่อการเช่านาพิพาทของ ข. ซึ่งเดิมอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านาฯ และต่อมาอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ฉบับใหม่ ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาการเช่านาในวันที่ 6 มกราคม 2541 ครั้นเมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้บอกเลิกการเช่านาและ คชก. ตำบล ประจำแขวงบางชัน มีมติยับยั้งการบอกเลิกการเช่านาพิพาทไว้จำนวน 1 ครั้ง เป็นเวลา 2 ปี จึงมีผลให้ ข. ผู้เช่านามีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปอีกเป็นเวลา 2 ปี จนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของ ข. ผู้เช่านา ย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว ผู้เช่านาไม่มีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไป และเมื่อ ข. ผู้เช่านาถึงแก่ความตายในวันที่ 10 ธันวาคม 2541 โดยมีจำเลยเป็นผู้เช่านาสืบแทน ข. ต่อไป โดยในการเช่าสืบแทนผู้เช่าสืบแทนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้เช่าที่มีต่อผู้ให้เช่าตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ บัญญัติไว้ จำเลยจึงมีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปจนถึงวันที่ 6 มกราคม 2543 หลังจากนั้นกำหนดระยะเวลาการเช่านาของจำเลยย่อมสิ้นสุดลงไปในตัว และจำเลยไม่มีสิทธิเช่านาหรือทำนาพิพาทต่อไปเช่นเดียวกัน โดยโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งบอกเลิกการเช่านาแก่จำเลย พร้อมทั้งมีหนังสือแจ้งให้ คชก. ประจำแขวงบางชันทราบตามเงื่อนไขและวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ อีก เมื่อการเช่านาพิพาทสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคม 2543 แล้ว จำเลยยังไม่ยอมออกจากที่นาพิพาท โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่นาพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824-7825/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน และผลกระทบเมื่อผู้จัดการมรดกถึงแก่ความตาย
กรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการร่วมกันโดยถือเอาเสียงข้างมากตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 หากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาย ศ. ผู้จัดการมรดกตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ตั้งนาย ศ. เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไป การเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของนาย ศ. ไม่อาจรับมรดกความกันได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องฎีกาขอตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับนาย ศ. ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7824-7825/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน และผลของการเสียชีวิตของผู้จัดการมรดก
การที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันนั้น การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการร่วมกันโดยถือเอาเสียงข้างมากตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 และหากปรากฏว่าผู้จัดการมรดกร่วมคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ผู้จัดการมรดกที่เหลือย่อมไม่อาจจัดการมรดกต่อไปได้ เมื่อ ศ. ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ตั้ง ศ. เป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีผลต่อไป ทั้งการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นการเฉพาะตัวของ ศ. ไม่อาจรับมรดกความกันได้ ไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาตามที่ผู้ร้องฎีกาขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับ ศ. อีกต่อไป จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7525/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งทนายความให้อำนาจฎีกา และหน้าที่ของทนายความในการยื่นฎีกา
ใบแต่งทนายความให้อำนาจทนายจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาด้วย ทนายจำเลยจึงสามารถลงชื่อในคำฟ้องฎีกาแทนจำเลยได้โดยไม่ต้องสอบถามจำเลยก่อน ข้ออ้างของทนายจำเลยที่ว่า หลังจากศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วจำเลยไม่เคยมาติดต่อทนายจำเลย ทำให้ไม่ทราบว่าจำเลยประสงค์จะว่าจ้างให้เป็นทนายความในชั้นฎีกาอีกต่อไปหรือไม่นั้น ข้ออ้างด้งกล่าวเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของทนายจำเลยเอง ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษอันจะพึงขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้องและหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 หากหนังสือมอบอำนาจไม่ได้ระบุ
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์มีข้อความว่า บริษัทไอบีเอ็มประเทศไทย จำกัด โดยนายพงศ์ศักดิ์ ตัณสถิตย์ ขอมอบอำนาจให้ นาย ว. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนในกิจการดังต่อไปนี้ คือ ข้อ 1. ให้มีอำนาจดำเนินคดีแพ่ง อาญา และคดีล้มละลายกับบริษัทโรงแรมรอยัลเลควิล จำกัด ข้อ 2. ฟ้องคดีในเรื่อง ข้อหา ฐานความผิด กับบุคคลดังกล่าว ข้อ 1. ต่อศาลทั่วราชอาณาจักร? ข้อความตามที่ระบุดังกล่าวเป็นเรื่องโจทก์มอบอำนาจเฉพาะการมิใช่มอบอำนาจทั่วไปและระบุให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น นาย ว. ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจแต่งตั้งทนายความให้ดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 การที่ทนายโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วยจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกเหนือขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมายไว้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
of 36