พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากอายุและเพศขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญและหลักความเท่าเทียม
แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับบำเหน็จพนักงาน กำหนดให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วนไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขัดแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้ แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานหญิงก่อนอายุเกษียณโดยอาศัยระเบียบที่ไม่เป็นธรรม ขัดต่อหลักความเท่าเทียมทางเพศ
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 เป็นบทบัญญัติทั่วไป รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะพ้นจากตำแหน่งพนักงานนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแทรกแซงเข้าถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบเดิม ส่วนในข้อที่เกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่างการเกษียณอายุของพนักงานที่เป็นหญิงและเป็นชายตามระเบียบดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 กำหนดให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบรูณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน ไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง แต่การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งโจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และในเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางจะต้องใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: โจทก์มีสิทธิวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของ ศ. ลูกจ้างและก่อนถึงแก่ความตาย ศ. ไม่ได้เลี้ยงดูโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนกรณีเสียชีวิตของ ศ. เนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ซึ่งจำเลยก็วินิจฉัยเฉพาะในปัญหานี้ว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในชั้นพิจารณาของจำเลยจึงไม่มีปัญหาว่าโจทก์ซึ่งเป็นบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ศ. มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหรือไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของจำเลยและนำคดีไปสู่ศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. หรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะได้วินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินทดแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7785/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คดีเงินทดแทน: ศาลแรงงานต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น
การนำคดีไปสู่ศาลแรงงานกรณีผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน ฯ มาตรา 53 วรรคหนึ่ง ผู้อุทธรณ์สามารถกระทำได้เฉพาะในปัญหาที่ผู้อุทธรณ์ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเท่านั้น ผู้อุทธรณ์จะนำปัญหาอื่นที่ตนมิได้อุทธรณ์ไปสู่ศาลแรงงานย่อมมิได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่วินิจฉัยคำร้องที่โจทก์ขอรับเงินทดแทนกรณี ศ. เสียชีวิตว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. และโจทก์ไม่ใช่ผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ก่อน ศ. ถึงแก่ความตาย โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเพียงปัญหาเดียวว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินทดแทนเนื่องจากโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยเฉพาะปัญหาที่ว่าโจทก์เป็นผู้อยู่ในอุปการะของ ศ. ก่อน ศ. ถึงแก่ความตายหรือไม่อันเป็นปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเท่านั้น แม้ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยมาด้วยว่าโจทก์ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ศ. จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนก็เป็นการไม่ชอบ โจทก์จะรื้อฟื้นปัญหาเรื่องโจทก์เป็นบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานเจ้าหน้าที่มาอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442-5468/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากการจ่ายเงินบำเหน็จเกินสิทธิ และการหักภาษี ณ ที่จ่าย
จำเลยได้รับเงินบำเหน็จซึ่งโจทก์คำนวณจ่ายให้ตามระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2536 แต่มีมติคณะรัฐมนตรีให้โจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดี ทำให้สิทธิของจำเลยที่จะได้รับเงินบำเหน็จต้องเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี โจทก์ต้องคำนวณเงินบำเหน็จให้แก่จำเลยตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเงินบำเหน็จส่วนต่างที่โจทก์จ่ายเกินไปเพราะการคำนวณตามระเบียบเดิมที่จำเลยได้รับไปย่อมเป็นการได้ไปซึ่งทรัพย์เพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 อายุความในการฟ้องเรียกให้คืนเงินบำเหน็จที่โจทก์จ่ายเกินไปและต้องคืนเป็นจำนวนเท่าใดย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องลาภมิควรได้ กรณีมิใช่จำเลยได้ยึดถือเงินบำเหน็จส่วนที่เกินไว้ โดยไม่มีสิทธิอันจะทำให้โจทก์สามารถติดตามเอาคืนได้ทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336
จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการได้รับเงินบำเหน็จที่โจทก์ให้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยป. รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร หากโจทก์หักและนำส่งภาษีเงินได้ไปเกินกว่าที่จำเลยผู้มีเงินได้ต้องชำระ จำเลยผู้มีเงินได้ก็มีสิทธิไปขอเงินส่วนที่จ่ายเกินไปคืนจากกรมสรรพากรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิไปขอคืน จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จส่วนที่รับไปเกินสิทธิให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจนำจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่โจทก์หักไว้ ณ ที่จ่ายมาหักออกได้
จำเลยเป็นผู้มีเงินได้จากการได้รับเงินบำเหน็จที่โจทก์ให้จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยป. รัษฎากร มาตรา 50 กำหนดให้โจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายแล้วนำส่งกรมสรรพากร หากโจทก์หักและนำส่งภาษีเงินได้ไปเกินกว่าที่จำเลยผู้มีเงินได้ต้องชำระ จำเลยผู้มีเงินได้ก็มีสิทธิไปขอเงินส่วนที่จ่ายเกินไปคืนจากกรมสรรพากรได้ โจทก์ไม่มีสิทธิไปขอคืน จำเลยจึงต้องคืนเงินบำเหน็จส่วนที่รับไปเกินสิทธิให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจนำจำนวนเงินภาษีเงินได้ที่โจทก์หักไว้ ณ ที่จ่ายมาหักออกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) คือ 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่นๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา ให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี ดังนั้น การที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญจึงมีอายุความ 5 ปี ซึ่งไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินได้ แต่เมื่อโจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (4) คือ 5 ปี
ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาให้มีกำหนดอายุความ 5 ปี เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญ จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี กรณีไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มาบังคับได้เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1842/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) กำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4)
โจทก์มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) จากจำเลย ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์ถูกให้ออกจากงาน แต่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 ซึ่งการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ดังกล่าว เป็นการเรียกร้องเงินในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ซึ่งกำหนดให้มีอายุความ 5 ปี เมื่อโจทก์เรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี กรณีไม่อาจนำอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 มาใช้บังคับได้ เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว โจทก์จึงต้องยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจใช้สิทธิเรียกร้องขอรับเงินดังกล่าวได้ซึ่งคือวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2536 แต่โจทก์ยื่นเรื่องราวขอรับเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11394-11547/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: เหตุผลอันสมควรล่าช้าการยื่นคำขอ
วันที่มีการคลอดบุตรหรือตายแล้วแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ยังมิได้จ่ายเงินสมทบให้แก่จำเลยครบถ้วนตามกฎหมาย อันจะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เพราะอยู่ในระหว่างที่มีการโต้แย้งขององค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายเพียงใด ดังนั้น โจทก์จึงยังมิอาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายแล้วแต่กรณีตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า องค์การค้าของคุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ว่าจะต้องหักเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพิ่มเติมในกรณีคลอดบุตรและกรณีตาย โดยจะหักย้อนหลังไปจนถึงเดือนเมษายน 2538 และองค์การค้าของคุรุสภาได้สำรองจ่ายแทนเงินสมทบส่วนของลูกจ้างส่งไปให้จำเลยเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2543 และหักเงินสมทบจากลูกจ้างทั้งหมดครบถ้วน เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2544 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนสำหรับกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน 2538 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายอันเป็นวันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น เป็นกรณีที่โจทก์มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า โจทก์จึงยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8889/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต: การจ่ายค่าจ้างวันหยุดตามประเพณีและหน้าที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม แม้ผู้รับจ้างลาป่วย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 29 บัญญัติให้นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างมีวันหยุดตามประเพณีไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาตินั้น ก็เพื่อให้ลูกจ้างประกอบกิจกรรมสำคัญทางศาสนาหรือตามประเพณีนิยม ซี่งวันหยุดดังกล่าวล้วนแต่ให้หยุดในระหว่างการทำงานทั้งสิ้น เมื่อ ฉ. ลาป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ตลอดมาจนถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่มีการทำงานให้แก่นายจ้าง จึงไม่มีวันหยุดตามประเพณีดังกล่าว นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณีให้แก่ ฉ. และไม่ได้หักค่าจ้างของ ฉ. ส่งสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 เมื่อ ฉ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2545 โดยไม่ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 73 โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของ ฉ. จึงไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีตายจากจำเลย