พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินรางวัลพิเศษและข้อจำกัดการแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน
ตามหนังสือแจ้งเงินเดือนและเงินรางวัลพิเศษระบุว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินรางวัลพิเศษโดยมิได้มีหลักเกณฑ์ว่าผู้มีสิทธิได้รับรางวัลพิเศษต้องมีสภาพเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่จำเลยจ่ายเงินรางวัลพิเศษ ดังนั้น แม้โจทก์จะลาออกไปในภายหลัง โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินรางวัลดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานเพื่อคิดค่าชดเชยเพิ่มขึ้นนั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมิใช่การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหลังสืบพยานแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานเพื่อคิดค่าชดเชยเพิ่มขึ้นนั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนและมิใช่การแก้ไขข้อบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเล็กน้อย เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องหลังจากที่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทและหลังสืบพยานแล้ว จึงล่วงเลยเวลาที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3378/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการปล้นทรัพย์: พยานหลักฐานจากคำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดและการรับสารภาพของผู้ต้องหา
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นจำเลยที่ 5 จัดหามีดของกลางมาใช้ปล้นทรัพย์แต่โจทก์มีคำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 4 ที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยที่ 5เป็นผู้จัดหาอาวุธมีดมาใช้ในการปล้นทรัพย์ ซึ่งแม้คำให้การซัดทอดของจำเลยที่ 4 จะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด แต่คำซัดทอดดังกล่าวมิได้เป็นเรื่องการปัดความผิดของจำเลยที่ 4 ไปยังผู้อื่น แต่เป็นการให้การถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 5 นั้นก็เป็นถ้อยคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง โดยให้การในรายละเอียดถึงเหตุการณ์การกระทำผิดตั้งแต่วางแผนกระทำผิดจนกระทั่งหลังกระทำผิดแล้วตกลงแบ่งปันทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำผิด เชื่อว่าจำเลยที่ 5 ให้การตามความจริงด้วยความสมัครใจจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 ได้จัดหามีดมาใช้ในการปล้นทรัพย์คดีนี้อันเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกในการกระทำความผิด จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845-2847/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการตรวจสอบการลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: ต้องเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่นายจ้างลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างที่มิได้เป็นกรรมการลูกจ้างและการลงโทษนั้นไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ หมวด 9 นั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนตามมาตรา 52หรือให้ความคุ้มครองตามมาตรา 121 ถึงมาตรา 123 ดังนั้น ศาลแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจการลงโทษของนายจ้างได้ต่อเมื่อเป็นการใช้ดุลพินิจลงโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้นว่าขัดต่อระเบียบข้อบังคับอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ไม่สุจริตกลั่นแกล้งหรือไม่สมเหตุสมผลอย่างชัดแจ้ง เมื่อโจทก์ทั้งสามทำผิดวินัยจริง จำเลยลงโทษตัดเงินเดือนร้อยละ 10 คนละ 1 เดือน ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่ามีการใช้ดุลพินิจลงโทษที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยแล้ว มิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางจะเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจการลงโทษของจำเลยหรือลดโทษโจทก์ทั้งสามให้เป็นภาคทัณฑ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966-2406/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิของนายจ้างในการหยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และขอบเขตการจ่ายค่าจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจให้สามารถหยุดการดำเนินกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ชั่วคราวเพื่อให้โอกาสแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวให้หมดสิ้นหรือบรรเทาลงได้ เมื่อได้ความว่าลูกค้าของจำเลยที่ 1 ยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนมาก หากจำเลยที่ 1 ยังผลิตสินค้าต่อไปก็ไม่แน่นอนว่าจำเลยที่ 1 จะจำหน่ายสินค้าได้หรือไม่ การผลิตต้องมีเงินลงทุนย่อมเสี่ยงต่อการ ขาดทุนอันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานะทางการเงินและความคงอยู่ของกิจการจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในระหว่าง ฟื้นฟูกิจการ กรณีย่อมถือได้ว่าเป็นความจำเป็นตามความหมายของมาตรา 75 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์หยุดงานรวม 4 ครั้ง เป็นเวลา 109 วัน เพื่อรอคำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหรือหาลูกค้ารายใหม่ทดแทนโดยจำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานแก่โจทก์ทั้งหมดแล้ว การประกาศหยุดงานจึงชอบด้วยมาตรา 75 จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างตามปกติเต็มจำนวนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966-2406/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างมีสิทธิหยุดกิจการชั่วคราวเพื่อแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจได้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แม้จะยังไม่ได้รับค่าชดใช้เสียหายเต็มจำนวน
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสามารถหยุดการดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวเพื่อให้โอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปหรือบรรเทาลงได้ ฉะนั้น เมื่อลูกค้าของจำเลยยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าจากจำเลยเป็นจำนวนมาก หากจำเลยยังคงผลิตสินค้าต่อไปก็ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะจำหน่ายสินค้าได้หรือไม่และในการผลิตต้องมีเงินลงทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและค่าแรงงานย่อมเสี่ยงต่อการขาดทุนอันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานะทางการเงินและความคงอยู่ของกิจการจำเลยซึ่งอยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการ ถือได้ว่าเป็นความจำเป็นตามความหมายของมาตรา 75 แล้วการที่จำเลยประกาศให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์หยุดงานชั่วคราว เพื่อรอคำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหรือหาลูกค้ารายใหม่ทดแทน โดยจำเลยจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานแก่โจทก์แล้ว จึงชอบด้วยมาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966-2406/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิหยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 75 กรณีวิกฤตเศรษฐกิจและผลกระทบต่อลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 มาตรา 75ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสามารถหยุดการดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวเพื่อให้โอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปหรือบรรเทาลงได้ ฉะนั้น เมื่อลูกค้าของจำเลยยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าจากจำเลยเป็นจำนวนมาก หากจำเลยยังคงผลิตสินค้าต่อไปก็ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะจำหน่ายสินค้าได้หรือไม่ และในการผลิตต้องมีเงินลงทุนทั้งในด้านวัตถุดิบและค่าแรงงานย่อมเสี่ยงต่อการขาดทุนอันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานะทางการเงินและความคงอยู่ของกิจการจำเลยซึ่งอยู่ในระหว่างฟื้นฟูกิจการถือได้ว่าเป็นความจำเป็นตามความหมายของมาตรา 75 แล้วการที่จำเลยประกาศให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์หยุดงานชั่วคราวเพื่อรอ คำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหรือหาลูกค้ารายใหม่ทดแทนโดยจำเลยจ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานแก่โจทก์แล้วจึงชอบด้วยมาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกสัญญาจ้างงานเนื่องจากตรวจพบสารเสพติดในร่างกายลูกจ้างหลังทำงานไปแล้ว มิใช่ผิดสัญญา
สัญญาจ้างแรงงานที่ว่า ในกรณีลูกจ้างไม่ผ่านการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคที่ทางการไต้หวันไม่อนุญาตให้ทำงาน นายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งลูกจ้างกลับประเทศไทย โดยลูกจ้างจะได้รับค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนนั้น จะต้องเป็นกรณีตรวจพบโรคต่าง ๆ ตามเงื่อนไขในสัญญาซึ่งสามารถตรวจพบได้ก่อนตกลงทำสัญญา หากตรวจพบแล้วผู้จัดหางานก็ชอบที่จะไม่ตกลงทำสัญญากับคนหางานแต่กรณีของโจทก์เป็นการตรวจพบมอร์ฟินซึ่งเป็นสารเสพติดในร่างกายภายหลังจากที่โจทก์ได้ทำงานที่ประเทศไต้หวันแล้ว 16 วัน จึงไม่เป็นการตรวจพบโรคตามที่ระบุไว้ในสัญญาการที่โจทก์ใช้สารเสพติดจึงเป็นกรณีโจทก์ฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงาน โดยเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของประเทศไต้หวัน ซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งโจทก์กลับประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองคนหางานให้ได้ทำงานตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและเป็นบทบังคับให้ผู้จัดหางานต้องจัดให้คนหางานได้ทำงานตามข้อตกลงในสัญญาแต่โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ มิใช่กรณีจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายแห่งบทบัญญัติในมาตราทั้งสองนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อสัญญาและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย
พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองคนหางานให้ได้ทำงานตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาและเป็นบทบังคับให้ผู้จัดหางานต้องจัดให้คนหางานได้ทำงานตามข้อตกลงในสัญญาแต่โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ มิใช่กรณีจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายแห่งบทบัญญัติในมาตราทั้งสองนั้น จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อสัญญาและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเลิกสัญญาจ้างงานเนื่องจากตรวจพบสารเสพติด ไม่ถือเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาของผู้จัดหางาน
สัญญาจ้างแรงงานข้อที่กำหนดว่า ในกรณีลูกจ้างไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ โดยแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคที่ทางการไต้หวันไม่อนุญาตให้ทำงาน เช่น วัณโรค กามโรค? นายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งลูกจ้างกลับประเทศโดยลูกจ้างจะได้รับค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนนั้น ต้องเป็นกรณีตรวจพบโรคต่าง ๆ ตามเงื่อนไขในสัญญาซึ่งสามารถตรวจพบได้ก่อนตกลงทำสัญญา หากตรวจพบแล้วผู้จัดหางานก็ชอบที่จะไม่ตกลงทำสัญญากับคนหางานได้ กรณีของโจทก์เป็นการตรวจพบมอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารเสพติดและไม่ได้ความว่าจำเป็นต้องใช้หรือได้รับอนุญาตจากแพทย์ในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย จึงไม่เป็นการตรวจพบโรคตามข้อสัญญาดังกล่าว แต่เป็นกรณีโจทก์ฝ่าฝืนสัญญาจ้างแรงงานในข้อที่ว่าเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบของประเทศไต้หวัน ซึ่งตามสัญญานายจ้างสามารถยกเลิกสัญญาและส่งโจทก์กลับประเทศไทยได้โดยไม่ต้องคืนค่าบริการและค่าใช้จ่ายให้โจทก์
โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ และมิใช่กรณีจำเลยผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายของ พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย
โจทก์ได้ทำงานแล้ว 16 วัน การที่โจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานต่อไปเนื่องจากการตรวจพบมอร์ฟินในร่างกาย จึงเกิดจากการกระทำของโจทก์เอง ไม่อยู่ในวิสัยที่จำเลยจะรับผิดชอบได้ และมิใช่กรณีจำเลยผู้จัดหางานไม่สามารถจัดให้โจทก์ซึ่งเป็นคนหางานได้ทำงานตามที่ตกลงกัน อันจะถือว่าเป็นการปฏิบัติผิดสัญญาตามความหมายของ พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39 และมาตรา 46 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าบริการและค่าใช้จ่ายคืนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการซื้อขายสินค้าและการบังคับค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ประกอบการค้าด้วยการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร จำเลยประกอบพาณิชยกิจโดยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์นำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่งการซื้อขายจึงมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาลศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย และไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาลศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย และไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการซื้อขายสินค้าลักษณะทางการค้า, ค่าฤชาธรรมเนียม, ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจ
บริษัทโจทก์ประกอบการค้าด้วยการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรจำเลยประกอบพาณิชยกิจโดยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์นำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าอีกต่อหนึ่งซึ่งต่อมาจำเลยค้างชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ การซื้อขายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(1) ตอนท้าย จึงมีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33(5)
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมก็ได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว
ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 กำหนดให้ตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็ให้อำนาจศาลที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมก็ได้ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้โจทก์แพ้คดีเป็นให้โจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ มีผลเท่ากับโจทก์ชนะคดีทั้งสองศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์ได้ด้วย ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่เป็นการเกินคำขอ เพราะโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์อยู่แล้ว