คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรพินท์ เศรษฐมานิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและการรับสภาพหนี้: เช็คจากบริษัทอื่นชำระหนี้ไม่ทำให้บริษัทนั้นเป็นผู้ชำระหนี้จริง และการรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
สำเนาบันทึกการรับเช็คซึ่งทำขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 มีข้อความว่าโจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั้นถือเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีถือได้ว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้เมื่อวันที่ 29พฤษภาคม 2539 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) และ 193/15 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกค่าซื้อสินค้าจากจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่29 พฤษภาคม 2539 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คของบุคคลอื่น และผลกระทบต่ออายุความทางแพ่ง
สำเนาบันทึกการรับเช็คซึ่งมีข้อความว่า โจทก์ได้รับเช็คของบริษัท พ. จากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนำมามอบชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์นั้นเป็นการชำระหนี้โดยจำเลยที่ 1 แม้จะชำระด้วยเช็คของบริษัท พ. ก็ไม่ถือว่าบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชำระหนี้ กรณีต้องฟังว่าจำเลยทั้งสองรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2539 อายุความจึงสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และ 193 (15) เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2541 ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2539 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2845-2847/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงานจำกัดเฉพาะกรณีนายจ้างใช้ดุลพินิจลงโทษลูกจ้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นายจ้างลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างที่มิได้เป็นกรรมการลูกจ้างและการลงโทษนั้นไม่เป็นการกระทำอัน ไม่เป็นธรรม ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 หรือให้ความคุ้มครองตามมาตรา 121 ถึงมาตรา 123 ดังนั้นศาลแรงงานจะเข้าไปตรวจสอบ ดุลพินิจการลงโทษของนายจ้างในกรณีนี้ได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างใช้ดุลพินิจลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามทำผิดวินัยจริง จำเลยลงโทษตัดเงินเดือนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นโทษที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยใช้ดุลพินิจลงโทษไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจลดโทษโจทก์ ทั้งสามเป็นภาคทัณฑ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดประชุมเจ้าหนี้, การแก้ไขแผน, และดุลพินิจศาลในการเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ
ในการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนสามารถแบ่งแยกการนัดประชุมเจ้าหนี้ออกเป็น 2 ช่วง คือ การนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกและการนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไป ในการประกาศโฆษณากำหนดนัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อย 1 ฉบับล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 10 วันตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งใช้เฉพาะกับการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับแผนพร้อมสำเนาจากผู้ทำแผนเพื่อปรึกษาลงมติว่าจะยอมรับแผนหรือไม่หรือจะแก้ไขอย่างไรเท่านั้นส่วนในการนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปนั้น หากว่าในการนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกได้ดำเนินการโดยชอบตามมาตรา 90/44 วรรคหนึ่งแล้ว การนัดประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนไปนั้น ก็ไม่ต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันอีก ในการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 เวลา 13.00 นาฬิกา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณากำหนดการประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันแล้ว ต่อมาผู้ทำแผนและลูกหนี้ขอแก้ไขแผนและในวันประชุมเจ้าหนี้ ลูกหนี้และเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้เลื่อนไปนัดประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 เวลา 13.00 นาฬิกา เช่นนี้ การประชุมเจ้าหนี้ในคราวที่ได้เลื่อนมา จึงไม่ต้องดำเนินการโฆษณากำหนดการประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอีก
วิธีการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการนั้นพระราชบัญญัติล้มละลายฯหมวด 3/1 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำพระราชบัญญัติล้มละลายฯ หมวด 1ส่วนที่ 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 90/2 วรรคสอง ซึ่งในบทบัญญัติส่วนดังกล่าวมาตรา 30 ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นประธานในการประชุม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นผู้เสนอหัวข้อให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาและควบคุมการประชุมเจ้าหนี้ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย แม้ว่าคำขอแก้ไขแผนของลูกหนี้จะมีประเด็นต่าง ๆ รวม20 ประเด็น แต่เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ได้เสนอ ให้ลงมติเป็นรายประเด็นหรือรวมกัน จึงเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะพิจารณาตัวประเด็นต่าง ๆ ในคำขอแก้ไขแผนฉบับดังกล่าวตลอดจนความเกี่ยวพันของประเด็นเหล่านั้นในคำขอว่าจะให้ลงมติแยกหรือรวมก็ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้เจ้าหนี้ลงมติคำขอแก้ไขแผนของลูกหนี้รวมกันไปทั้ง 20 ประเด็น จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/57 ไม่ได้บังคับศาลว่าจะต้องดำเนินการไต่สวนคดีทุกคดีก่อนที่จะมีคำสั่งว่าเห็นชอบด้วยแผนหรือไม่ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเปิดโอกาสให้เป็นดุลพินิจของศาลในการที่จะพิจารณาว่า ข้อสาระสำคัญในการที่จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยแผนนั้นมีอยู่ครบถ้วนหรือไม่ หากศาลเห็นว่าครบถ้วนแล้วก็ไม่ต้องไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อให้คดีฟื้นฟูกิจการล่าช้าออกไป การที่ศาลล้มละลายกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนประกอบกับพยานเอกสารที่คู่ความได้อ้างมานั้นเพียงพอในการวินิจฉัยที่จะให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยแผนแล้วก็ไม่จำต้องไต่สวนพยานอีก คำสั่งงดไต่สวนของศาลล้มละลายกลางจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942-1943/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดจัดหางานเถื่อนหลอกลวงผู้เสียหายจำนวนมาก ศาลยืนโทษจำคุกและชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 และที่ 4 มีความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี โดยความผิดที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกระทำนั้น เป็นการกระทำต่อผู้เสียหายจำนวนมากถึง 64 คน เป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนผู้ต้องการหางานทำเพื่อหาเงินมาใช้เลี้ยงชีพ นับเป็นภัยต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างยิ่ง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี และลงโทษปรับจำเลยที่ 4 โดยไม่รอการลงโทษจำเลยที่ 1 นั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงด/ลดเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มภาษีสรรพสามิต ต้องชำระภาษีครบตามกฎกระทรวง และไม่สละสิทธิคัดค้าน
หลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 29(พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งให้ทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องชำระภาษีให้ครบจำนวนภายในกำหนดระยะเวลาตามที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 5 และข้อ 6 มิใช่เพียงแต่ยื่นคำร้องเป็นหนังสือตกลงยินยอมชำระภาษีและของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อลูกหนี้ยังมิได้ชำระภาษีให้ครบจำนวนภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงลูกหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม นอกจากนั้นเมื่อลูกหนี้ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าหนี้แล้วลูกหนี้มิได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจึงเป็นการสละการใช้สิทธิคัดค้านต่ออธิบดี สละสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และสละสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 86,89 และ96 หนี้ภาษีของลูกหนี้ย่อมถึงที่สุด การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้กรมสรรพสามิตเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้โดยไม่งดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1827/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงด/ลดเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มภาษีสรรพสามิต ต้องยื่นขอตามหลักเกณฑ์กฎกระทรวง และไม่สละสิทธิคัดค้านการประเมิน
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ลูกหนี้ยังมิได้ชำระหนี้ภาษีให้ครบจำนวนภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 29 (2536) ออกตามความในพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 138 ลูกหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับการงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม นอกจากนี้เมื่อลูกหนี้ได้รับแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้มิได้ยื่นคำคัดค้าน การประเมินต่ออธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นการสละการใช้สิทธิคัดค้านต่ออธิบดี สละสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และสละสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาล ตามพ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 86, 89, และ 96 หนี้ภาษีของลูกหนี้ย่อมถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673-1674/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบุคคลภายนอกผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากการอายัดเงินชั่วคราว: ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเกี่ยวกับเงินค่าก่อสร้างที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยโดยชอบก่อนศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอายัดเงินดังกล่าวไว้ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ย่อมถือว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกผู้จะต้องเสียหายเพราะคำสั่งอายัดนั้น ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง และเป็นกรณีโต้แย้งระหว่างโจทก์กับผู้ร้องในปัญหาที่ว่าจะอายัดเงินดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชำระหนี้ทั้งหมด แม้จะชำระบางส่วนและตกลงให้ผู้เสียหายไปเรียกร้องจากลูกหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ตาม ป.อ. มาตรา 341 พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดรวม 810,000 บาท ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 1 หลบหนี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 1 ชั่วคราว ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ขอถอนคำให้การปฏิเสธ และให้การใหม่เป็นรับสารภาพ แต่ขอเลื่อนการฟังคำพิพากษาเพื่อนำเงินมาชำระให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดคนละ 20,000 บาท ส่วนที่เหลือผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะไปเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 สอบโจทก์ ผู้เสียหายที่ 2 ถึงที่ 7 แล้วรับว่าเป็นจริง และต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายทั้งเจ็ดคนละ 20,000 บาทแล้ว ดังนี้ การที่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดยอมรับตามคำแถลงของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ว่า เงินส่วนที่เหลือผู้เสียหายจะไปเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทั้งเจ็ดจะไม่ติดใจเรียกร้องเงินส่วนที่เหลือจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อีก จึงถือไม่ได้ว่าคู่กรณีมีเจตนาระงับข้อพิพาทโดยไม่ติดใจเรียกร้องสิ่งใดต่อกันอีก จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจนสิ้นเชิงในฐานะลูกหนี้ร่วม ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ร่วมกันคืนหรือใช้เงินส่วนที่เหลือให้แก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ ไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกง และไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายได้
แม้บทบัญญัติมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งระบุให้ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงนั้น จะมีถ้อยคำว่า "หลอกลวงผู้อื่น" ก็ตาม แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้ให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้
of 277