คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรพินท์ เศรษฐมานิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มิใช่ความผิดฉ้อโกง อัยการขอคืนเงินผู้เสียหายไม่ได้
พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา91 ตรี มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย พนักงานอัยการจึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ ไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกง และไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายได้
แม้บทบัญญัติมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งระบุให้ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงนั้น จะมีถ้อยคำว่า "หลอกลวงผู้อื่น" ก็ตาม แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้ให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางค่าธรรมเนียมศาลเพื่ออุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นให้โอกาสจำเลยแก้ไขก่อนพิจารณาอุทธรณ์ มิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ซึ่งค่าธรรมเนียมใช้แทนนอกจากค่าทนายความแล้วยังรวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายต้องเสียไปจากการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นด้วย การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าทนายความใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยมิได้จงใจหรือฝ่าฝืนที่จะไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายและมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้จึงมิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 234 ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยว่า ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนมาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดก่อนจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยนั้น จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจกำหนดเวลาให้ปฏิบัติถูกต้องก่อนพิจารณาอุทธรณ์ การอุทธรณ์คำสั่งก่อนมีสิทธิทำได้
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้น ซึ่งรวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความอีกฝ่ายต้องเสียไปจากการดำเนินคดีในศาลชั้นต้นนั้นด้วย การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าทนายความใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้เปิดโอกาสให้แก่จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องครบถ้วนอีกครั้งหนึ่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลย อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยว่า ให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียม ซึ่งจะต้องใช้แทนมาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดก่อนจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยนั้น จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงไม่อาจวินิจฉัยฎีกาของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์: ศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขก่อนพิจารณาอุทธรณ์ และคำสั่งนี้ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยนำเพียงค่าขึ้นศาลและค่าทนายความใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229ซึ่งศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยมิได้จงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายนั้น และมีคำสั่งกำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติเสียให้ถูกต้องครบถ้วน เท่ากับเปิดโอกาสให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้ให้โจทก์มาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ มิใช่เป็นคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ ดังนั้น จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยมาก็เป็นการไม่ชอบ การที่จำเลยฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยวินิจฉัยประเด็นหนี้ภาษีแล้ว และจำนวนหนี้ใหม่ไม่เพียงพอต่อการฟ้องล้มละลาย
โจทก์เคยนำหนี้ภาษีการค้ามาฟ้องให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าแม้จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย จึงพิพากษายกฟ้องแต่ต่อมาโจทก์นำหนี้ภาษีการค้าดังกล่าวรวมกับหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งศาลดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยชำระหนี้ทั้งสามจำนวนนั้น แต่จำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายอีก ดังนั้น การที่โจทก์นำหนี้ภาษีการค้าจำนวนเดิมรวมกับหนี้ภาษีจำนวนใหม่มาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ส่วนหนี้เงินเพิ่มภาษีการค้าและหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นหนี้จำนวนใหม่ เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนเพียง 40,000 บาทเศษไม่เข้าองค์ประกอบที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 9(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งเฉพาะคำสั่งศาลชั้นต้น
เนื้อหาในฎีกาของจำเลยเป็นการโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำวินิจฉัยพยานหลักฐานและคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น มิได้คัดค้านว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายไม่ชอบอย่างไร และจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลาย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งและการร่วมรับผิดของเจ้าของรถ กรณีเกิดอุบัติเหตุจากความประมาทของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการขนส่ง มีรถบรรทุกประกอบการถึง 30 คัน โดยไม่ใช่รถบรรทุกของจำเลยที่ 1 เลย แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีรายได้และผลประโยชน์มาจากรถบรรทุกที่เข้าร่วมประกอบการขนส่ง ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 4จดทะเบียนเข้าร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1 และด้านข้างรถก็พ่นสีระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยอมผูกพันตนเข้าร่วมกิจการและรับผลประโยชน์ร่วมกันกับจำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขับรถบรรทุกคันดังกล่าวในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 โดยประมาท ถือได้ว่าจำเลยที่ 5เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในผลแห่งละเมิดนั้น ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2),1087
จำเลยที่ 6 เป็นเพียงเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์บรรทุกที่ให้จำเลยที่ 4 เช่าซื้อไปจำเลยที่ 4 เป็นผู้ครอบครองใช้รถคันดังกล่าวจึงมีอำนาจนำรถไปจดทะเบียนประกอบการขนส่งร่วมกับจำเลยที่ 1ได้ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 และแม้ว่าจำเลยที่ 2จะเป็นผู้จัดการสาขาของจำเลยที่ 6 และร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนตั้งจำเลยที่ 1 ขึ้นมาเพื่อประกอบการขนส่งก็ตาม ก็เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและเป็นกิจการของจำเลยที่ 1โดยลำพัง ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 6 ร่วมประกอบการขนส่งกับจำเลยที่ 1และที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและผลกระทบต่อสินสมรส: การถือว่าการสมรสยังสมบูรณ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาศาล
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ร. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2516 ต่อมาผู้ร้องจดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2521 และจดทะเบียนหย่าจากกันเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2526 จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 การสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะ แต่เมื่อในระหว่างที่ผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทยังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้นที่บัญญัติว่า คำพิพากษาศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ จึงต้องถือว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ยังมีผลสมบูรณ์อยู่ ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสกับ ร. และจำเลยที่ 1 จึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสซ้อนและสินสมรส: ที่ดินที่ได้มาระหว่างสมรสยังเป็นสินสมรสแม้การสมรสจะตกเป็นโมฆะ
ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับ ร. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2516 ในระหว่างสมรสผู้ร้องมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2521 ผู้ร้องซื้อและจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจาก จ. เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2523 ต่อมาวันที่ 10มีนาคม 2526 ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่าขาดกันกรณีต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ซึ่งแม้ผู้ร้องจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้วอันจะทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อในระหว่างที่ผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมายังไม่มีผู้มีส่วนได้เสียคนใดร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1495(เดิม) ต้องถือว่าการสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ยังมีผลสมบูรณ์อยู่ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาระหว่างสมรสกับ ร. และจำเลยที่ 1 จึงเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเกี่ยวข้องรู้เห็นหรือออกเงินช่วยผู้ร้องชำระราคาที่ดินพิพาทหรือไม่แม้ภายหลังผู้ร้องกับจำเลยที่ 1จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ต้องจัดการแบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้องตามสิทธิที่ผู้ร้องมีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และ 1533 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิยึดที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาดำเนินการตามที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้
of 277