คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรพินท์ เศรษฐมานิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลฎีกาชี้ช่องทางฟื้นฟูใหม่และเหตุเปลี่ยนแปลงสำคัญ ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยว่าไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ มีสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการแตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ได้ยื่นไว้พิจารณา จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาช่องทางฟื้นฟูที่แตกต่างจากคดีก่อน หากมีเหตุใหม่สนับสนุน
แม้ว่าในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการทุกคดีจะต้องระบุถึงช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/6(3) แต่การที่จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้พิจารณาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการ ตลอดจนแนวทางการฟื้นฟูกิจการอย่างเดียวกันด้วยในคดีล้มละลายคดีก่อนซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ได้อ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเกือบทุกรายมีการประชุมเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ภายใต้กรอบของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำวินิจฉัยว่านอกจากสัญญาเช่าที่ลูกหนี้ทำกับผู้เช่าอาคารซึ่งมีกำหนดเวลา 1 ปี ถึง 3 ปี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถปรับอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นหรือจัดหาผู้เช่าให้เช่าให้เต็มพื้นที่ได้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่มีแนวทางหรือมาตรการอื่นใดที่จะดำเนินการให้มีกำไรหรือรายได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจึงเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกหนี้ส่วนที่ลูกหนี้คาดว่าจะสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้และเพิ่มวงเงินหมุนเวียนก็เป็นเรื่องที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอนจึงไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินส่วนใหญ่ของลูกหนี้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันและมีหนี้รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.40 ของจำนวนหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมด ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งสามรายมีมติร่วมกันในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลดจำนวนหนี้ลงให้เหมาะสมไม่เกินกำลังความสามารถของลูกหนี้จึงเห็นได้ว่าสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการในคดีนี้แตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ รวมทั้งยังมีหนังสือของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่าขอให้การสนับสนุนในการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการ และยินยอมที่จะลดยอดหนี้ให้ลูกหนี้ถึงร้อยละ 80 ของจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างในช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีก่อน การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งผู้ร้องขอได้ยื่นไว้พิจารณาจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำให้การขัดแย้งเดิม ไม่สร้างประเด็นใหม่ ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย จำเลยไม่เคยขายให้โจทก์แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน คำให้การจำเลยในตอนหลังจึงขัดกับคำให้การตอนแรกเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดเป็นประเด็นไว้ก็ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8404/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งกันเองไม่ก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ศาลไม่วินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยซื้อมาจากจำเลยและบุตรจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและบุตร จำเลยและบุตรไม่เคยขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่ตอนหลังจำเลยกลับให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ขัดกับคำให้การในตอนแรก จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เป็นประเด็นเรื่องที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง และมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัตให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อ พาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเอง จำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย
ความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ความผิดฐาน ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคาร และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารการกระทำความผิดฐานแรกย่อมเริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำผิดฐานที่สองและที่สามย่อมเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของ เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8243/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับรายวันกรณีดัดแปลงอาคารและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกำหนดระยะเวลาการกระทำความผิดที่ถูกต้อง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสองและมาตรา 67 วรรคสอง บัญญัติโทษของผู้ฝ่าฝืนโดยให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร เมื่อจำเลยเป็นผู้ครอบครองอาคารและมิได้ปฏิเสธว่าเป็นผู้ดัดแปลงอาคารด้วยตนเองจำเลยจึงเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายในมาตรา 4 ซึ่งต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานตามมาตรา 69 นอกจากนี้การกระทำความผิดของจำเลยยังเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติโทษของผู้กระทำความผิดเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดแต่ละฐานอีกด้วย ดังนั้น โทษที่จำเลยกระทำจึงมีระวางโทษปรับรายวันวันละไม่เกิน 40,000 บาท สำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และไม่เกิน 120,000 บาท สำหรับความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคาร
การลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันสำหรับความผิดฐานดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เริ่มนับแต่วันที่ดัดแปลงอาคารโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จ ส่วนการกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ห้ามใช้อาคารเริ่มนับแต่วันที่จำเลยทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้อาคารแล้วฝ่าฝืนคำสั่งไปจนถึงวันที่ดัดแปลงอาคารเสร็จและหยุดใช้อาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการชำระหนี้โดยไม่ชอบ
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว มีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมิสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (2)
ลูกจ้างและกรรมการของบริษัทจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยผู้ให้กู้ จึงถือ ไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไป และการรับชำระหนี้ดังกล่าว ไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้อง ใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้จากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้และไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เรียกร้องให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7966/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(2) การที่ลูกจ้างและกรรมการของจำเลยชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ อ. ม. และ ส. ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลย โดยบุคคลทั้งสามไม่มีอำนาจรับชำระหนี้แทนจำเลยจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 หนี้เงินกู้ยังไม่ระงับสิ้นไปและการรับชำระหนี้ดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างจำเลยและบุคคลทั้งสาม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะต้องใช้สิทธิในการทวงถามหนี้เงินกู้ดังกล่าวจากลูกจ้างและกรรมการของจำเลยผู้กู้ยืมเงินจำนวนนั้นต่อไป ไม่อาจใช้อำนาจตามมาตรา 119 เรียกร้องให้อ. ม. และ ส. ชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7932/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมโทษจำคุกหลายกระทงเมื่อมีโทษจำคุกตลอดชีวิตและข้อจำกัดโทษจำคุกรวม
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) หมายถึงกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต โดยคำว่า "เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต"นั้น หมายความว่า หากความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งมีโทษที่จะลงแก่จำเลยจริง ๆ เป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตแล้ว เมื่อนำเอาโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลาในกระทงอื่นมารวมศาลคงลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตอย่างเดียวเท่านั้น คดีนี้ความผิดกระทงแรกของจำเลยที่ 1 ได้วางโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไว้ตลอดชีวิตแต่เมื่อลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 หนึ่งในสามแล้ว คงเหลือจำคุก 33 ปี4 เดือน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะนำเอาโทษในความผิดอีกฐานหนึ่งมารวมลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ได้ เพราะรวมโทษทุกกระทำความผิดแล้วก็ไม่เกิน 50 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7836-7837/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่-ข่มขืนใจให้เสพยาเสพติด ศาลฎีกาแก้เป็นจำคุกเฉพาะความผิดข่มขืนใจ
แม้จำเลยจะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผู้กระทำผิด แต่เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วย การร่วมเล่นการพนันไพ่รัมมี่แล้วจำเลยไม่จับกุมผู้ร่วมเล่นไพ่รัมมี่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร่วมเล่นการพนันหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตาม ป.อ. มาตรา 157
จำเลยได้ใช้กำลังประทุษร้ายและใช้อาวุธปืนข่มขืนใจให้ผู้เสียหายเสพเมทแอมเฟตามีนโดยวิธีสูดรับเอาควันเข้าสู่ร่างกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 93 วรรคท้าย เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้อง โจทก์คงอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยเฉพาะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 93 วรรคท้าย อันเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 212 และศาลฎีกาไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 93 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้เช่นกัน คงพิพากษาลงโทษจำเลยได้เพียงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคสอง
ในสำนวนแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน จำคุก 8 เดือน ในสำนวนที่สองศาลฎีกาลงโทษจำเลยในความผิดฐานใช้กำลังประทุษร้ายข่มขืนใจผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืน ซึ่งเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกันและศาลต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตาม ป.อ. มาตรา 91 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า เมื่อศาลชั้นต้นรวมการพิจารณาคดีทั้งสองเข้าด้วยกันแล้วไม่อาจนับโทษต่อกันได้เพราะ คดีทั้งสองสำนวนได้รวมการพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ซึ่งไม่ถูกต้อง แต่โจทก์ไม่ฎีกาในปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาจึง ไม่อาจพิพากษาให้นำโทษฐานเสพเมทแอมเฟตามีนมานับโทษต่อกันตามที่ถูกต้องได้
of 277