คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรพินท์ เศรษฐมานิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5659/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิ-ใช้เอกสารปลอม-แจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน-ฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือผู้ถูกกระทำและผู้เสียหายจากการถูกจำกัดสิทธิ
จำเลยจะมิได้นำเอกสารที่จำเลยปลอมขึ้นไปยื่นแสดงต่อผู้เสียหายที่ 4 ด้วยตนเอง แต่มอบอำนาจให้ ส. ไปดำเนินการแทนโดย ส. ไม่ทราบว่าเป็นเอกสารปลอม มีผลเท่ากับจำเลยไปดำเนินการด้วยตนเอง เมื่อผู้เสียหายที่ 4 ได้รับเอกสารและดำเนินการให้ตามเอกสารนั้น ผู้เสียหายที่ 4 ย่อมเป็นผู้เสียหายจากการกระทำดังกล่าว
ตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องจำเลยทำปลอมสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ามีการทำปลอมสัญญามาตั้งแต่คำขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดก็ไม่มีผลถึงหรือทำให้การกระทำความผิดของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องเปลี่ยนแปลงไป ข้อแตกต่างดังกล่าวนั้นจึงมิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญและทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ เพราะให้การปฏิเสธมาตลอด จึงไม่เป็นเหตุให้พิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยปลอมลายมือชื่อของผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมในสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัด และยื่นจดทะเบียนแก้ไขถอนผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3 และโจทก์ร่วมออกจากการเป็นหุ้นส่วน อันเป็นการระงับสิทธิในห้างหุ้นส่วน ผู้เสียหายที่ 1 ที่ 3และโจทก์ร่วมจึงเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำของจำเลยจึงเป็นผู้เสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดี ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยประเด็นที่ไม่กระทบผลคดี แม้โจทก์อ้างเรื่องอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมดเพราะหากศาลเห็นว่าประเด็นใดแม้วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยได้ อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดี: ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยทุกประเด็น หากไม่กระทบผลแห่งคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏ ในคำฟ้อง เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามอนุมาตรา (1) ถึง (6) เป็นการกำหนดขอบเขตของการวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาล ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นปัญหาที่ศาลได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถาน แต่มิได้บังคับ เด็ดขาดว่าศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาดังกล่าวทั้งหมด หากศาลเห็นว่าประเด็นปัญหาใดแม้วินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยในประเด็นปัญหาดังกล่าว อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อีก การใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 142 และ 131 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461-4462/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีอาญา แม้โจทก์มิได้ขอในคำฟ้องเดิม ศาลอนุญาตได้หากข้อเท็จจริงสนับสนุน
การขอให้นับโทษต่อมิได้มีกฎหมายบัญญัติว่าจะต้องกล่าวมาในคำฟ้อง โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้นับโทษต่อในภายหลังได้
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยโดยมิได้มีคำขอท้ายคำฟ้องแต่ละสำนวนให้นับโทษต่อ ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน ขอให้นับโทษในคดีทั้งสองสำนวนต่อกันไป แม้จำเลยไม่คัดค้านคำร้องและไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดี สองสำนวนนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาด้วยกัน ข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่าที่โจทก์อ้างมาในคำร้องนั้นเป็นความจริง ไม่มีปัญหาว่าจำเลยแต่ละคนอาจจะมิได้เป็นบุคคลคนเดียวกันอันจะทำให้ไม่อาจนับโทษต่อได้ เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษ ต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้จำเลยจะมิได้แถลงรับก็เห็นประจักษ์อยู่แล้วย่อมไม่มีทาง ที่ศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องของโจทก์เป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากสั่งอนุญาต การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461-4462/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็คและการนับโทษต่อ ศาลอนุญาตตามคำร้องได้แม้ไม่ได้ระบุในคำฟ้อง
กฎหมายมิได้บัญญัติว่าการขอให้นับโทษต่อจะต้องกล่าวมาในคำฟ้องโจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้นับโทษต่อในภายหลังได้ คดีทั้งสองเรื่องโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยทั้งสองสำนวนเป็นบุคคลเดียวกันกระทำผิดข้อหาเดียวกัน แม้จำเลยจะเพียงแต่ไม่คัดค้านคำร้องไม่เคยรับไว้ในที่ใดว่าเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่คดีสองเรื่องนี้เป็นเรื่องโจทก์คนเดียวกันฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นแห่งเดียวกัน ในเวลาใกล้เคียงกัน และต่อมาศาลสั่งให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน เมื่อโจทก์ได้แสดงความประสงค์ขอให้นับโทษต่อมาชัดเจนและจำเลยทั้งสองคดีเป็นบุคคลคนเดียวกันแน่นอน การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งอย่างใดจนกระทั่งพิพากษา ต้องถือว่าศาลชั้นต้นอนุญาตตามคำร้องขอให้นับโทษต่อโดยปริยายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งริบรถยนต์ของกลางในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด โดยไม่ต้องมีคำร้องตาม พ.ร.บ. มาตรการฯ
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยรถยนต์ของกลาง ซึ่งจำเลยกับพวกใช้เป็น ยานพาหนะขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษอันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และมีคำขอท้ายคำฟ้องให้ริบของกลางตามมาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 32, 33 คำขอให้ริบของกลางในลักษณะเช่นนี้ต่างจากคำขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับ ยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นเพื่อขอให้สั่ง ริบทรัพย์สิน เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 โจทก์จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาลและศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4298/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางที่เป็นยานพาหนะใช้ในการกระทำผิดยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องมีคำร้องเฉพาะตาม พ.ร.บ. มาตรการปราบปรามยาเสพติด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้รถยนต์ขนส่งและซุกซ่อนยาเสพติดให้โทษ อันเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดและมีคำขอให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33ซึ่งคำขอในลักษณะเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สิน ต่างจากพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นให้สั่งริบทรัพย์สินฉะนั้น เมื่อโจทก์มิได้ขอให้ศาลสั่งริบของกลางตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 30 จึงไม่จำต้องยื่นคำร้องต่อศาล และศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางได้ตามที่โจทก์ขอมาในคำขอท้ายคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดแชร์เกิน 3 วง และสิทธิการฟ้องคดีอาญาในความผิด พ.ร.บ.การเล่นแชร์
จำเลยเป็นนายวงแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์รวม 7 วง จำเลยรวบรวมเงินจากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมซึ่งเป็นสมาชิกวงแชร์ไปแล้วหลายงวด จำเลยจัดให้มีการประมูลแชร์ไปแล้วหลายงวด โดยสถานที่จัดประมูลแชร์คือที่ร้านของจำเลย การประมูลแชร์ตามวาระมีไปแล้วหลายครั้ง ผู้ที่ประมูลแชร์ได้ต่างก็ได้รับเงินไปแล้ว และตามคำฟ้องโจทก์ ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมยังไม่เคยประมูลแชร์ได้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินกองกลางที่จำเลยรวบรวมไป เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยไปแล้ว เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ก็ย่อมจะตกได้แก่ผู้นั้นไป กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายและโจทก์ร่วมต่อไปอีก และหากผู้เสียหายและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิกไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็จะต้องรับผิดแทน ความรับผิดในกรณีเช่นนี้เป็นความผิดในทางแพ่ง ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยยักยอกเงินของผู้เสียหายและโจทก์ร่วม
แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าวันเวลาที่โจทก์อ้างว่าจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์แต่ละวงจะแตกต่างกันอยู่ และไม่มีวันใดมีการเริ่มเล่นแชร์ขึ้นใหม่พร้อมกันถึง 3 วง ก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 234 มาตรา 6 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้น มิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิดเมื่อแชร์ที่จำเลยจัดให้มีการเล่นทั้งหมดซึ่งมีจำเลยเป็นนายวงแชร์อยู่มีจำนวนรวมกันอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่า 3 วง ตามที่จำกัดจำนวนไว้ในกฎหมาย ย่อมต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 4, 6, 17 และ ป.อ. มาตรา 352, 91 สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็น ผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้เฉพาะข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในข้อหาตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2926/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดเล่นแชร์เกิน 3 วง และความผิดฐานยักยอกทรัพย์ การฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายที่ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย
เงินค่าแชร์แต่ละงวดที่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมส่งให้จำเลย เมื่อผู้ใดประมูลแชร์ได้ ก็จะตกได้แก่ผู้นั้น กรรมสิทธิ์ในเงินที่ส่งไปแล้วมิได้เป็นของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมต่อไปอีกและหากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดและโจทก์ร่วมไม่สามารถประมูลแชร์ได้เพราะแชร์ล้มเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใด จำเลยในฐานะที่เป็นเจ้ามือแชร์ก็ต้องรับผิดแทน ซึ่งเป็นความผิดในทางแพ่งจำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์มีจำนวนวงแชร์รวมกันมากกว่าสามวงเท่านั้นมิได้บัญญัติว่าจะต้องจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มากกว่าสามวงดังกล่าวขึ้นมาพร้อม ๆ กันในวันเดียวกัน จึงจะเป็นความผิด เมื่อจำเลยจัดให้มีการเล่นแชร์โดยมีจำเลยเป็นนายวงแชร์ในช่วงเวลาเดียวกันมากกว่าสามวงจึงเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 6
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์พ.ศ. 2534 มาตรา 4,6,17 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352แต่ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ เป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย ราษฎรไม่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมคงเป็นผู้เสียหายและเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้เฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 เท่านั้น ไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหาตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงและการไม่ชอบด้วยกฎหมายของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 91 ซึ่งแต่ละกระทงความผิดกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ปากต่าง ๆ ต่างยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบถอนเงิน จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
of 277