พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญา: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์มีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องการที่โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ต่างยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ปลอมใบถอนเงิน เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วพิพากษาลงโทษจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: การมีภูมิลำเนา/ประกอบธุรกิจ ต้องมีในขณะฟ้องหรือภายใน 1 ปี ก่อน
ตามอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดียถือได้ว่าบริษัทจำเลยมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แต่คำว่า "สถานประกอบการถาวร"ตามอนุสัญญาดังกล่าว เป็นเรื่องเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ไม่เกี่ยวกับระยะเวลาในการประกอบธุรกิจดังนั้น เมื่อใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยของจำเลยสิ้นอายุไปแล้ว ไม่มีการประกอบธุรกิจ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทย การที่ใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2533 และกรมสรรพากรโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 ก็มิใช่กรณีที่จำเลยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรในขณะที่มีการขอให้ล้มละลายหรือภายในหนึ่งปีก่อนนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องมีภูมิลำเนาหรือประกอบธุรกิจในไทย การสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบธุรกิจมีผลต่ออำนาจฟ้อง
การฟ้องให้ล้มละลายต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 7 โดยลูกหนี้ต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร หรือประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ล้มละลายหรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น แม้ตามอนุสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐอินเดียเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ข้อ 5 อนุ 4 ที่โจทกอ้างจะถือได้ว่าจำเลยมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย แต่คำว่า "สถานประกอบการถาวร" ตามอนุสัญญาดังกล่าว ข้อ 5 อนุ 1 และ 2 หมายถึง สถานธุรกิจประจำซึ่งวิสาหกิจใช้ประกอบธุรกิจทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และหมายความรวมถึง (ก) สถานจัดการ (ข) สาขาสำนักงาน (ง) โรงงาน (จ) โรงช่าง...และตามอนุ 4 (ค) หมายถึง บุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับคำสั่งซื้อซึ่งกระทำในรัฐผู้ทำสัญญารัฐหนึ่งในนามของวิสาหกิจของรัฐผู้ทำสัญญาอีกรัฐหนึ่งอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับลักษณะของการดำเนินการในการประกอบธุรกิจเพื่อประโยชน์ในการยกเว้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรแก่บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย ตาม พ.ร.ฏ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2505 ไม่เกี่ยวกับระยะเวลาในการประกอบธุรกิจแต่อย่างใด แต่เมื่อจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยเพราะใบอนุญาตสิ้นอายุไปแล้ว จึงไม่มีการประกอบธุรกิจ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ส่วนการประกอบธุรกิจในประเทศนั้น เมื่อใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสิ้นอายุแล้ว จำเลยไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไปอีกได้ ทั้งจำเลยปิดการประกอบธุรกิจไปแล้ว และโจทก์เพิ่งฟ้องคดีหลังจากจำเลยยื่นอุทธรณ์การประเมินเกือบ 10 ปี จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรในขณะที่มีการขอให้ล้มละลาย หรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่า, พยายามฆ่า, การสนับสนุนความผิด, การกระทำโดยรู้เห็นเป็นใจ
ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยที่ 1 มาก่อนในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ซึ่งจำเลยที่ 2 ขับแล่นผ่านบริเวณที่ผู้เสียหายกับพวกนั่งดื่มสุราอยู่ ต่อมาจำเลยที่ 1 ก็นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 2 มาจอดติดเครื่องรออยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 1 ถึง 2 เมตร จำเลยที่ 1 ลงจากรถแล้วเข้าไปใช้ไม้ท่อนกลม ผิวขรุขระ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 นิ้ว ยาว 1 ช่วงแขน ตีศีรษะผู้เสียหาย 2 ถึง 3 ครั้ง จนผู้เสียหายหมดสติ การที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ท่อนขนาดใหญ่ตีผู้เสียหายที่ศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญ 2 ถึง 3 ครั้ง จนเป็นเหตุให้กะโหลกศีรษะแตก หากรักษาไม่ทันอาจได้รับอันตรายถึงชีวิต และจำเลยที่ 1 กับผู้เสียหายมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน แสดงว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะมีบาดแผลเพียงแห่งเดียวก็ตาม เมื่อจำเลยที่ 1 มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตาย เพียงแต่ได้รับอันตรายสาหัส การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
จำเลยที่ 2 จอดรถจักรยานยนต์ติดเครื่องรอจำเลยที่ 1 อยู่ห่างจากผู้เสียหายประมาณ 1 ถึง 2 เมตร และสามารถเห็นการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตลอด จำเลยที่ 2 ไม่รู้ถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ก่อนจะมากระทำความผิดแต่ทราบได้ในขณะที่เห็นจำเลยที่ 1 ลงมือกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ก็ยังคงจอดรถรออยู่พร้อมที่จะรับจำเลยที่ 1 พาหลบหนีไปเพื่อให้พ้นการจับกุมได้ทุกเมื่อและก็รับจำเลยที่ 1 หลบหนีไปด้วย อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในขณะกระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ มาตรา 86 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
จำเลยที่ 2 จอดรถจักรยานยนต์ติดเครื่องรอจำเลยที่ 1 อยู่ห่างจากผู้เสียหายประมาณ 1 ถึง 2 เมตร และสามารถเห็นการกระทำของจำเลยที่ 1 โดยตลอด จำเลยที่ 2 ไม่รู้ถึงเจตนาของจำเลยที่ 1 ก่อนจะมากระทำความผิดแต่ทราบได้ในขณะที่เห็นจำเลยที่ 1 ลงมือกระทำความผิด จำเลยที่ 2 ก็ยังคงจอดรถรออยู่พร้อมที่จะรับจำเลยที่ 1 พาหลบหนีไปเพื่อให้พ้นการจับกุมได้ทุกเมื่อและก็รับจำเลยที่ 1 หลบหนีไปด้วย อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ในขณะกระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ มาตรา 86 การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์เครื่องมือเกษตร: แม้ชำรุดก็เข้าข่ายความผิดฐานลักทรัพย์หนักกว่า
เครื่องสูบน้ำที่ถูกจำเลยลักไปเป็นเครื่องมือเครื่องกลอันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมของผู้มีอาชีพกสิกรรม เมื่อยังมีสภาพและรูปร่างเป็นเครื่องสูบน้ำอยู่ก็ต้องถือว่าเข้าหลักเกณฑ์แล้ว จะเสียหรือใช้การได้ไม่เป็นปัญหา เพราะถ้าเสียก็ยังสามารถซ่อมแซมให้ดีได้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) ไม่ได้กำหนดว่าการลักเครื่องมือเครื่องกลดังกล่าวจะต้องเป็นทรัพย์ที่ยังใช้การได้เท่านั้นจำเลยจึงจะรับโทษหนักขึ้นตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2220/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาต้องห้ามในคดีแก้ไขโทษเล็กน้อย และการอนุญาตฎีกาโดยมิชอบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขังแทนมีกำหนด2 เดือน เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษหรือจำหน่ายคดีจากสารบบความโดยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งได้พิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาคดีนี้อนุญาตให้ฎีกา แต่ปรากฏว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้อนุญาตให้ฎีกา มิใช่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้ง การอนุญาตให้ฎีกาจึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือและเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย: การตีความ 'เครื่องมือทำการประมง' ตาม พ.ร.บ.การประมง
พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 4 (3) บัญญัติว่า "เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไก เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสาหลัก หรือเรือ บรรดาที่ใช้ทำการประมง" ดังนั้น เรือยนต์และอวนลากแขกจึงเป็นเครื่องมือทำการประมง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้ออกประกาศจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลากคานถ่างหรืออวนลากแขกที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงในเขตที่ระบุไว้โดยเด็ดขาด เรือยนต์และอวนลากแขกที่จำเลยใช้ทำการประมงในเขตดังกล่าว จึงเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 32 (2) ซึ่งต้องริบตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2110/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเรือและอุปกรณ์ทำการประมงที่ฝ่าฝืนประกาศห้ามใช้เครื่องมือประมง
พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาตรา 4(3)บัญญัติว่า "เครื่องมือทำการประมง หมายความว่า เครื่องกลไกเครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ ส่วนประกอบ อาวุธ เสาหลัก หรือเรือบรรดาที่ใช้ทำการประมง" ดังนั้นเรือยนต์และอวนลากแขกจึงเป็นเครื่องมือทำการประมง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีได้ออกประกาศจังหวัดชลบุรี เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลาก คาน ถ่างหรืออวนลากแขกที่ใช้กับเรือยนต์ทำการประมงในเขตที่ระบุไว้โดยเด็ดขาด เรือยนต์และอวนลากแขกที่จำเลยใช้ทำการประมงในเขตดังกล่าว จึงเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 32(2) ซึ่งต้องริบตามมาตรา 70
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืน และความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดี
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดีทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นต้น จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทนและไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับจ้างดำเนินคดีจากการยื่นฟ้องคดีเกินกำหนดเวลาตามกฎหมายเวนคืน
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลนับเป็นข้อสาระสำคัญในการฟ้องเรียกคดีเรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืน เพราะหากล่วงพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวไปแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จำเลยทั้งสามในฐานะผู้ร่วมกันประกอบวิชาชีพทางกฎหมายและรับจ้างโจทก์ดำเนินคดีฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนควรจะต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาดังกล่าวเป็นอย่างดี ทำนองเดียวกับต้องรู้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการยื่นคำให้การต่อสู้คดีหรือกำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยทั้งสามมีความสำคัญผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับกำหนดเวลาในการฟ้องคดีเรียกเงินค่าทดแทน และไม่ได้คำนึงว่าจะต้องยื่นคำฟ้องต่อศาลให้ทันกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดี การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่มีสิทธิฟ้องคดีแล้ว ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ และศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้รับจ้างดำเนินคดีก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการผิดสัญญา จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดต่อโจทก์