คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรพินท์ เศรษฐมานิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4608/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแพ่งจากสัญญาจ้างแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้อนคดีอาญาเรื่องยักยอกเงิน แม้มีคำขอให้คืนเงินเหมือนกัน
คดีอาญาเรื่องก่อน พนักงานอัยการฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเงินและขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไปแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อันเป็นการขอแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ มีหน้าที่รับเงิน เก็บรักษาเงิน อนุมัติและเบิกจ่ายเงิน ตกลงว่าระหว่างการทำงานหากจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ยักยอก ฉ้อโกงจนเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่ 1 ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดพร้อมค่าปรับอีก 3 เท่าของราคาทรัพย์สินหรือความเสียหาย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ระหว่างทำงานจำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ยักยอกเงินโจทก์ไปหลายครั้ง อันเป็นการจงใจละเมิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้เงินที่ยักยอกและค่าปรับตามสัญญาแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดด้วย ซึ่งเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้จะมีคำขอให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีที่พนักงานอัยการขอให้บังคับในส่วนแพ่งมาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีมูลจากสัญญาจ้างแรงงานและสัญญาค้ำประกัน ข้ออ้างอันอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาจึงมิได้เป็นอย่างเดียวกัน มิใช่เป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีส่วนแพ่งในคดีอาญาเรื่องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4507/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความของหนี้และการรับสภาพหนี้: การพิจารณาอายุความ 10 ปี และ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิเรียกร้องตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 193/35 ต้องเป็นกรณีลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว ต่อมาหนี้ขาดอายุความ ภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ซึ่งมีอายุความ 10 ปี โดยขณะที่จำเลยที่ 1 ยอมรับสภาพหนี้ต่อโจทก์เป็นหนังสือนั้นยังไม่ขาดอายุความจึงไม่เข้าลักษณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/35 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี นับแต่มีการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และ 193/15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แม้ไม่คัดค้านเอกสาร แต่ศาลยังต้องพิจารณาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานอื่นประกอบ
แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งจะมิได้คัดค้านการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความอีกฝ่ายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ก็เพียงแต่ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นคัดค้านการมีอยู่ และความแท้จริงของเอกสารนั้นเมื่อพ้นกำหนดเวลาเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นดังที่ปรากฏในเอกสารนั้น เพราะข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ศาลต้องพิจารณาและมีอำนาจรับฟังจากพยานหลักฐานทั้งปวงอีกชั้นหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีอาญาและแรงงานมีประเด็นต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงบางส่วนเชื่อมโยง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย กล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ได้ครอบครองดูแลรักษาสินค้าประเภทเครื่องสำอางของผู้เสียหาย (จำเลยคดีนี้) แล้วโจทก์ได้เบียดบังเอาสินค้าดังกล่าวไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และมีคำขอให้โจทก์คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แต่คดีนี้นอกจากจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปแล้วจำเลยยังอ้างในฟ้องแย้งด้วยว่า โจทก์ครอบครองทรัพย์สินของจำเลย โจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลยตามระเบียบ แต่โจทก์ไม่นำสินค้าส่งคืนให้แก่จำเลยโดยไปมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นซึ่งโจทก์อ้างว่าไม่รู้จัก จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน โดยโจทก์ไม่ส่งคืนสินค้าแก่จำเลยตามหน้าที่ และขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่จำเลย เห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายรวมอยู่ด้วย และแม้ศาลแขวงพระนครใต้จะพิพากษายกฟ้องคดีอาญา แต่ศาลก็วินิจฉัยเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นกับผู้ที่มารับสินค้า จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้โจทก์ เท่ากับฟังว่าการกระทำของโจทก์ที่ส่งมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นที่โจทก์ไม่รู้จักนั้นยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอก โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้จำเลยได้รับความเสียหายหรือไม่การที่จำเลยฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งในคดีแรงงานไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นเสียหายต่างจากคดีอาญา แม้มีมูลเหตุจากเหตุการณ์เดียวกัน
ในคดีอาญา อัยการโจทก์กล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ซึ่งครอบครองดูแลรักษาสินค้าของผู้เสียหาย (จำเลยในคดีนี้) แล้วโจทก์ได้เบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และมีคำขอให้โจทก์คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปเป็นเงิน 310,145 บาทพร้อมดอกเบี้ย แต่คดีนี้นอกจากจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปแล้ว จำเลยยังอ้างในฟ้องแย้งด้วยว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์สินของจำเลย โจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลย แต่โจทก์มิได้ส่งคืนให้กลับนำไปมอบให้แก่บุคคลอื่น จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลละเมิด แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายรวมอยู่ด้วย แม้ศาลจะพิพากษายกฟ้องคดีอาญา แต่ก็วินิจฉัยเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) มีส่วนร่วมรู้เห็นกับผู้ที่มารับสินค้า ซึ่งเท่ากับฟังว่ายังไม่เป็นความผิดฐานยักยอกเท่านั้น โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้จำเลยได้รับความเสียหายดังที่จำเลยถือเป็นข้ออ้างในคดีนี้หรือไม่ ที่จำเลยฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4440/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างสามารถยกเหตุผลขาดทุนแม้ไม่ได้ระบุในหนังสือเลิกจ้างได้
แม้จำเลยจะระบุเหตุในการเลิกจ้างโจทก์ไว้ในหนังสือเลิกจ้างว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร มีการยุบหน่วยงานบางหน่วยซึ่งรวมถึงหน่วยงานของโจทก์และไม่มีตำแหน่งว่างที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของโจทก์ในหน่วยงานที่เหลืออยู่ โดยมิได้อ้างเหตุว่าจำเลยประสบภาวะการขาดทุนก็ตาม แต่ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม นั้น ข้อห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงข้อต่อสู้ในกรณีลูกจ้างฟ้องว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย เนื่องจากการวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างของนายจ้างว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่ซึ่งอาจไม่ใช่เหตุที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 ก็ได้ จำเลยจึงมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากประสบภาวะการขาดทุน ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4170/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดและผิดสัญญาจ้าง กรณีเหตุเกิดก่อน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ มีผลใช้บังคับ
เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มีผลใช้บังคับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดดังกล่าวต้องบังคับตามอายุความของ ป.พ.พ. ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม การพิจารณาว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้วหรือไม่ จึงต้องบังคับตามหลักเกณฑ์ของ ป.พ.พ. มิใช่หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ การที่จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้แคชเชียร์เช็คของโจทก์สูญหายและโจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์แล้วยังเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ด้วย ซึ่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนี้กฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4119-4120/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ: การไม่บังคับใช้ระเบียบตั้งแต่แรกมิใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย กำหนดให้พนักงานระดับทั่วไปเกษียณอายุเมื่อครบ 50 ปี แต่เมื่อโจทก์มีอายุครบ 50 ปี จำเลยไม่ได้จัดให้โจทก์เกษียณอายุตามระเบียบข้อบังคับแต่ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์และเป็นคุณแก่โจทก์อย่างยิ่งแล้ว ต่อมาภายหลังจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเกษียณอายุตามข้อบังคับดังกล่าว ถือว่าเป็นข้ออ้างที่เป็นเหตุอันสมควร ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าจ้างต้องระบุรายละเอียดชัดเจน หากฟ้องไม่ชัดเจน ศาลอาจยกฟ้องได้
ลูกจ้างฟ้องเรียกให้นายจ้างชำระค่าจ้าง ลูกจ้างต้องบรรยายฟ้องมาให้ชัดแจ้งว่าค่าจ้างจำนวนที่เรียกให้ชำระเป็นค่าจ้างประเภทใด เพื่อที่นายจ้างจะได้ให้การต่อสู้ได้ว่าค่าจ้างจำนวนดังกล่าวลูกจ้างมีสิทธิได้รับจริงและนายจ้างยังมิได้ชำระหรือไม่ ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าคอมมิชชั่นที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากผลงานขายของลูกทีมโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ลูกทีมดังกล่าวมีใครบ้าง และแต่ละคนมีผลงานขายเท่าใด พอที่จำเลยทั้งสองจะให้การต่อสู้ได้ ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงเคลือบคลุม
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้เป็นนายหน้าติดต่อให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายและติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิดกับธนาคารตามโครงการดีบีเอสไทยทนุ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าคอมมิชชั่นโครงการดังกล่าว จึงเป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงแตกต่างจากที่ศาลแรงงานกลางฟังไว้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า เดิมโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้เลิกจ้างโจทก์ ที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาเลิกจ้างโจทก์แต่เป็นเรื่องที่โจทก์สมัครใจลาออกเอง จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างเลือกรับประโยชน์จากคำสั่งคุ้มครองแรงงานได้ทางเดียว สละสิทธิประโยชน์จากอีกหน่วยงาน
พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ต่างมีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน โดย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ให้ลูกจ้าง ที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธินำคำร้องกล่าวหานายจ้างไปยื่นต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 124 เพื่อให้ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยและออกคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือจ่ายค่าเสียหาย หรือปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรได้ในกรณีที่การเลิกจ้างเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 41 (4) และมาตรา 125 ส่วน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ให้ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงาน ตรวจแรงงานเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 123 และมาตรา 124 ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้นเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้ ทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันทั้งสองทางมิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้องเลือกรับเอาประโยชน์ตามคำสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว เมื่อลูกจ้างเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างสละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์แล้ว
of 277