พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลือกรับประโยชน์จากคำสั่งเยียวยาการเลิกจ้าง: ลูกจ้างเลือกรับค่าชดเชยจากพนักงานตรวจแรงงาน สละสิทธิจากคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ และ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาแก่ลูกจ้างไว้แตกต่างกัน และเป็นกฎหมายคนละฉบับแต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้นเป็นทั้งการกระทำอันไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิด แม้ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคำร้องได้ทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันทั้งสองทางมิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกันไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้องเลือกรับเอาประโยชน์ตามคำสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างจึงยื่นคำร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งในส่วนให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อีก
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างจึงยื่นคำร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้าถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอาประโยชน์ตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งในส่วนให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้างจนถึงวันที่รับกลับเข้าทำงาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753-3756/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งย้ายงานชอบด้วยกฎหมาย การเลิกจ้างไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่
ก่อนที่จำเลยจะออกคำสั่งให้โจทก์ทั้งสี่ไปปฏิบัติงานที่สาขาโพนพิสัย จำเลยได้เสนอทางเลือกให้โจทก์ทั้งสี่ก่อนแล้วคือให้ไปทำงานกับบริษัทที่รับซื้อกิจการและรับโอนพนักงานของจำเลยที่กรุงเทพมหานครทั้งหมดโดยให้โจทก์ได้รับตำแหน่งเดิม รายได้เท่าเดิม และปฏิบัติงานอยู่สถานที่เดิม หรือย้ายไปประจำที่สาขาโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นกิจการเพียงแห่งเดียวของจำเลยที่เหลืออยู่ หรือลาออกจากบริษัทจำเลย แต่โจทก์ทั้งสี่ไม่เลือกทางใดทางหนึ่ง จำเลยจึงมีความจำเป็นต้องสั่งให้โจทก์ทั้งสี่ไปทำงานที่สาขาอำเภอโพนพิสัยในตำแหน่งเดิม อัตราเงินเดือนเดิม คำสั่งของจำเลยดังกล่าวมิได้เป็นการเลือกปฏิบัติหรือแกล้งโจทก์ทั้งสี่ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมไปทำงานตามคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (5) และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และการพิสูจน์เหตุแห่งการเลิกจ้าง
โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำ เดือนละหลายครั้ง จนจำเลยต้องมีหนังสือตักเตือนโจทก์ และต้องเปลี่ยนเวลาทำงานของโจทก์จากเวลาทำงานเดิม 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา เป็น 9.00 นาฬิกา ถึง 18.00 นาฬิกา ต่อมาโจทก์ขอเปลี่ยนเวลาทำงานกลับไปเป็นเวลาเดิม เห็นได้ว่าจำเลยได้พยายามแก้ไขการมาทำงานสายของโจทก์ตลอดมา แต่โจทก์ไม่ปรับปรุงตัว วันที่โจทก์ถูกเลิกจ้างโจทก์ก็ยังมาทำงานสายถึง 37 นาที และเมื่อปลายปี 2545 ว. ได้ออกแบบงานชิ้นหนึ่งแล้วนำไปให้โจทก์ดำเนินการเขียนแบบตั้งแต่ตอนเช้าโดยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะต้องนำไปให้ลูกค้าในวันรุ่งขึ้นเวลา 10.00 นาฬิกา โจทก์ไม่เขียนแบบเองแต่นำไปมอบให้พนักงานเขียนแบบคนอื่นดำเนินการแทน วันรุ่งขึ้นโจทก์ไปทำงานสายและปรากฏว่าผู้ที่โจทก์มอบให้เขียนแบบแทนเขียนแบบไม่เสร็จ ทำให้ ว. ต้องเสนอผลงานที่ยังไม่เสร็จต่อลูกค้า การที่โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำ และการทำงานของโจทก์มีปัญหาเกี่ยวกับการประสานงานกับฝ่ายออกแบบ เป็นเหตุให้งานของจำเลยไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด และในวันที่ถูกเลิกจ้างโจทก์ก็ยังมาทำงานสาย ย่อมมีเหตุสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการที่โจทก์มาทำงานสายเป็นประจำถือได้ว่าเป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงการจ่ายโบนัสมีผลผูกพัน แม้บริษัทขาดทุน การเลิกจ้างตามข้อเสนอพนักงาน ถือเป็นการเลิกจ้างโดยชอบ
ตามกฎหมายแรงงานไม่มีบทบัญญัติเรื่องการจ่ายเงินโบนัส ว่าเงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้างเมื่อกิจการมีผลกำไรเท่านั้น กรณีจึงต้องพิจารณาจากข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งระบุว่า "เงินโบนัสปลายปี กรณีถ้าการจ้างของท่านไม่ถูกยกเลิกอันเป็นสาเหตุจากท่าน บริษัทฯ จะจ่ายท่านหนึ่งเดือนหรือตามอัตราส่วนการจ้างแรงงานของท่านระหว่างปีปฏิทินสิ้นสุด 31 ธันวาคม" ข้อความดังกล่าวชัดเจนว่าจำเลยตกลงจะจ่ายเงินโบนัสปลายปีให้แก่โจทก์ โดยมีข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายเพียงประการเดียวคือกรณีที่โจทก์ถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุจากโจทก์ ดังนั้น แม้กิจการของจำเลยจะประสบกับภาวะขาดทุน จำเลยก็จะยกมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสปลายปีให้แก่โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและยื่นคำร้องใหม่ต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มิได้ทำให้ระยะเวลาดำเนินการนับต่อเนื่องกัน
การที่จำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยร่วมที่จะให้จำเลยดำเนินการต่อไปหรือไม่อย่างไรก็ได้ หาได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดห้ามมิให้จำเลยร่วมซึ่งถอนคำร้องที่ยื่นต่อจำเลยแล้วยื่นคำร้องใหม่เพื่อให้จำเลยดำเนินการตามมาตรา 123 อีกแต่อย่างใด เมื่อจำเลยร่วมถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 คำร้องฉบับดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป ต่อมาจำเลยร่วมยื่นคำร้องฉบับที่สองลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เพื่อให้จำเลยดำเนินการใหม่ จำเลยทำการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ย่อมเป็นการดำเนินการภายในกำหนด 60 วัน ชอบด้วยมาตรา 124 วรรคหนึ่ง แล้วระยะเวลานับแต่วันที่ยื่นคำร้องฉบับแรก หาได้นับต่อเนื่องมารวมกับระยะเวลา 60 วันที่จำเลยต้องดำเนินการตามคำร้องฉบับที่สองไม่ คำสั่งของจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง และการฟ้องร้องบังคับจ่ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่โจทก์และพนักงานโจทก์จัดให้มี ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทหลักทรัพย์ อ. ตามกฎหมายแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแยกต่างหากจากโจทก์ และจะเป็นผู้ดำเนินกิจการของกองทุนเอง มิใช่เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์หรือพนักงานโจทก์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบใดๆ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่จำเลยร่วม หากจำเลยร่วมมีสิทธิที่จะได้รับเงินสมทบส่วนของโจทก์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามข้อบังคับแล้ว จำเลยร่วมก็ชอบที่จะฟ้องร้องบังคับให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพบริษัทหลักทรัพย์ อ. จ่ายเงินสมทบ ส่วนของโจทก์แก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมหามีอำนาจที่จะฟ้องโจทก์จ่ายเงินสมทบส่วนของโจทก์แก่จำเลยร่วมไม่
เมื่อจำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้ดำเนินการในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยร่วมอันเป็นกรณีที่โจทก์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสิทธิที่จะได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยร่วมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานดำเนินการต่อไปหรือไม่ก็ได้ แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่หาได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดห้ามมิให้จำเลยร่วมถอนคำร้องที่ยื่นต่อจำเลยแล้วยื่นคำร้องใหม่เพื่อให้จำเลยดำเนินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 อีกแต่อย่างใด การที่จำเลยร่วมถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 คำร้องฉบับดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เพื่อให้จำเลยดำเนินการใหม่ จำเลยทำการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ย่อมเป็นการดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ระยะเวลานับแต่วันที่ยื่นคำร้องฉบับแรกหาได้นับต่อเนื่องนำมารวมกับระยะเวลา 60 วัน ที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามคำร้องฉบับที่สองไม่
เมื่อจำเลยร่วมซึ่งเป็นลูกจ้างยื่นคำร้องต่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเพื่อให้ดำเนินการในกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยร่วมอันเป็นกรณีที่โจทก์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามสิทธิที่จะได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ย่อมเป็นสิทธิของจำเลยร่วมที่จะให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานดำเนินการต่อไปหรือไม่ก็ได้ แม้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ จะเป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่หาได้มีบทบัญญัติใดที่จำกัดห้ามมิให้จำเลยร่วมถอนคำร้องที่ยื่นต่อจำเลยแล้วยื่นคำร้องใหม่เพื่อให้จำเลยดำเนินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 อีกแต่อย่างใด การที่จำเลยร่วมถอนคำร้องฉบับลงวันที่ 26 มิถุนายน 2544 คำร้องฉบับดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 เพื่อให้จำเลยดำเนินการใหม่ จำเลยทำการสอบสวนและมีคำสั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2544 ย่อมเป็นการดำเนินการภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ระยะเวลานับแต่วันที่ยื่นคำร้องฉบับแรกหาได้นับต่อเนื่องนำมารวมกับระยะเวลา 60 วัน ที่จำเลยจะต้องดำเนินการตามคำร้องฉบับที่สองไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประมาทเลินเล่อ แม้จะมีความเสียหายเกิดขึ้นบ้าง แต่หากไม่ร้ายแรงเพียงพอ ศาลไม่อาจถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้
โจทก์มีหน้าที่จัดการให้มีการส่งเทปรายการโทรทัศน์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างให้แก่สถานีโทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 9 โดยเร็ว เพื่อให้สถานีโทรทัศน์ดังกล่าวมีเวลาตรวจสอบและนำออกอากาศได้ทันเวลา โจทก์หลงลืม จัดส่งเทปโทรทัศน์รายการ "แฟชั่นมิวสิค" ของจำเลยจนได้รับแจ้งจากผู้ช่วยผู้จัดการจำเลย โจทก์จึงรีบติดต่อจัดส่งเทป ดังกล่าวไปให้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ก่อนกำหนดเวลาออกอากาศประมาณครึ่งชั่วโมง และเทปดังกล่าวถูกนำออกอากาศตามกำหนดเวลา เป็นเหตุให้จำเลยถูกสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวตำหนิและภาคทัณฑ์ด้วยวาจา การตำหนิและภาคทัณฑ์ด้วยวาจาดังกล่าวเป็นเพียงการเตือนเพื่อป้องปรามมิให้เกิดเหตุทำนองนี้อีก และการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของโจทก์เพียงแต่ทำให้การออกอากาศรายการ "แฟชั่นมิวสิค" ฉุกละหุกบ้างเท่านั้น ทั้งปรากฏว่าหลังเกิดเหตุสถานีโทรทัศน์ดังกล่าวก็ยังคงให้รายการ "แฟชั่นมิวสิค" ของจำเลยออกอากาศได้ตามผังรายการตลอดมา ความเสียหาย ที่จำเลยได้รับจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ แม้จะมีอยู่บ้างในแง่ของผู้ประกอบธุรกิจแต่ก็ไม่ถึงกับเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3215/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากตำแหน่งงานที่เปลี่ยนแปลง แม้เพิ่มความเสี่ยง ผู้ค้ำประกันยังคงรับผิด
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนสัญญาจ้างแรงงาน แสดงว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันได้ยอมรับผิดโดยไม่ได้จำกัดว่าจำเลยที่ 1 จะได้ทำงานในตำแหน่งใด และโดยปกติในการทำงานลูกจ้างย่อมมีโอกาสก้าวหน้าเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้บอกเลิกสัญญาค้ำประกัน อีกทั้งสัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ทำงานอยู่ มิได้มีข้อความตอนใดระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยช่างเทคนิคและจำเลยที่ 2 จะรับผิดชอบขณะที่จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งดังกล่าวเท่านั้น ดังนั้น แม้ต่อมาตำแหน่งของจำเลยที่ 1 จะเปลี่ยนเป็นพนักงานขายซึ่งอาจมีผลเป็นการเพิ่มภาระการเสี่ยงภัยให้จำเลยที่ 2 ก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันอันมีต่อโจทก์ในหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2384/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแก้ไขคำให้การในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.แรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำให้การไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานจำเลยขึ้นใหม่แทนวันนัดพิจารณาและนัดสืบพยานโจทก์แต่เดิม เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อคดีไม่มีการชี้สองสถานและมีการสืบพยานนัดแรก (พยานจำเลย) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2545 การยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยฉบับลงวันที่ 12 มีนาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การก่อนวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งจำเลยมีสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน: การเรียกร้องเงินสมทบเงินฝากสะสมช่วงเวลาต่างกันถือเป็นการรื้อร้อง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินสมทบเงินฝากสะสมของโจทก์ในช่วงเวลานับแต่วันที่โจทก์เริ่มเข้าทำงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายเงินสมทบเงินฝากสะสมของโจทก์ในช่วงเวลานับแต่วันที่เลิกจ้างโจทก์จนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุ แต่ทั้งสองคดีก็เป็นการที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบซึ่งโจทก์อ้างว่ามีสิทธิจะได้รับตามระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินฝากสะสมฯ ซึ่งโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวในคราวเดียวกัน การที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยจ่ายเงินสมทบในคดีนี้อีก ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์จำเลยเป็นคู่ความเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31