คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรพินท์ เศรษฐมานิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,765 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่ออายุสัญญาจ้างหลังเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชย นายจ้างตกลงขยายเวลาเกษียณอายุไม่ใช่สละสิทธิ
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง กำหนดให้พนักงานพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานเมื่อเกษียณอายุเมื่อพนักงานมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ ยกเว้นกรณีนายจ้างอนุมัติต่ออายุการจ้างแรงงานก่อนการเกษียณอายุ และพนักงานที่เกษียณอายุมีสิทธิได้รับค่าชดเชย การที่นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างทำงานภายหลังจากมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว โดยมิได้จ่ายค่าชดเชยตามสิทธิให้แก่ลูกจ้างในขณะนั้น นอกจากจะเป็นการต่ออายุสัญญาจ้างแรงงานแล้ว ยังเป็นการตกลงขยายระยะเวลาการเกษียณอายุสำหรับลูกจ้างต่อไปด้วย มิใช่เป็นการสละสิทธิการเกษียณอายุ ต่อมาเมื่อ ลูกจ้างขอใช้สิทธิเกษียณอายุและนายจ้างอนุมัติ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลแรงงานพิจารณาจากพยานหลักฐาน ไม่ใช่คดีอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นคดีแรงงานอันเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่ง แม้จำเลยจะให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ได้ลักทรัพย์ของจำเลยอันมีมูลความผิดอาญาอยู่ด้วยก็ตาม ก็มิใช่ข้ออ้างที่จะมีผลให้มีการพิจารณาลงโทษโจทก์ในการกระทำผิดอาญา เพียงแต่อ้างเพื่อปฏิเสธไม่ต้องรับผิดในคดีแรงงานเท่านั้น การให้การต่อสู้เช่นนี้หาทำให้คดีนี้กลับกลายเป็นคดีอาญาไปไม่ การพิจารณาคดีนี้จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ประกอบ ป.วิ.พ. ในกรณีที่มิได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ เป็นอย่างอื่น จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 174 และ 227 อันเป็นวิธีพิจารณาคดีอาญามาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงโดยวิธีการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 นั้น จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากลักทรัพย์นายจ้าง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม การพิจารณาคดีแรงงานต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยให้จ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ เป็นคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นคดีแรงงานอันเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่ง แม้จำเลยจะให้การว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ได้ลักทรัพย์ของจำเลยอันมีมูลความผิดอาญาอยู่ด้วย ก็มิใช่ข้ออ้างที่จะมีผลให้มีการพิจารณาลงโทษโจทก์ในการกระทำผิดอาญาเพียงแต่อ้างเพื่อปฏิเสธไม่ต้องรับผิดในคดีแรงงานเท่านั้น หาทำให้กลายเป็นคดีอาญาไปไม่ การพิจารณาคดีนี้จึงต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 174 และ 227 มาใช้บังคับได้การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงโดยวิธีการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 จึงชอบแล้ว
โจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: 'เงินเดือน' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(4) ไม่ครอบคลุมค่าจ้างลูกจ้างทั่วไป
คำว่า "เงินเดือน" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) หมายถึง เงินเดือนของข้าราชการหรือเงินเดือนตาม พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งฯ คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี จำเลยค้างชำระค่าจ้างให้โจทก์ตั้งแต่เดือนมกราคม 2538 ถึงเดือนธันวาคม 2541 เป็นเงินรวม 434,544 บาท ขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) อันมีอายุความ 2 ปี หาใช่เป็นการฟ้องเรียกเอาเงินเดือนที่มีอายุความ 5 ปี ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: ค่าจ้างลูกจ้างมีอายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัทจำเลยตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี จำเลยค้างชำระค่าจ้าง ขอให้จำเลยชำระค่าจ้างให้โจทก์ เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(9) อันมีอายุความ 2 ปี มิใช่เป็นการฟ้องเรียกเอาเงินเดือนที่มีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33 เพราะคำว่า "เงินเดือน" ตามบทมาตราดังกล่าวหมายถึงเงินเดือนของข้าราชการหรือเงินเดือนตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128-1129/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะสัญญาจ้างแรงงาน vs. จ้างทำของ: สิทธิเรียกร้องของลูกจ้าง
จำเลยประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวจัดให้มีการท่องเที่ยวทางเรือสำราญ เมื่อมีลูกค้าจะลงท่องเที่ยวเรือสำราญจำเลยจะแจ้งโจทก์ทราบโจทก์มีสิทธิที่จะให้บริการหรือปฏิเสธที่จะไม่ให้บริการแก่ลูกค้าได้หากโจทก์รับให้บริการแก่ลูกค้าบนเรือสำราญจะได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน เมื่อเรือสำราญต้องเข้าฝั่งโจทก์จะหมดหน้าที่เป็นคราวไปการจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยมุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ไม่ใช่การจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 แต่เป็นการจ้างทำของตามมาตรา 587โจทก์จึงไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลย
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมทำงาน เพราะเมื่อมีลูกค้าลงเรือสำราญจำเลยจะแจ้งให้โจทก์ทราบเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าถือเป็นวันทำงานปกติ เป็นการกำหนดวันทำงานในรอบสัปดาห์ไม่ใช่เป็นงานที่หมดหน้าที่เป็นคราว ๆ ไปและไม่ได้มุ่งถึงความสำเร็จของงาน อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ทำงานให้จำเลยโดยได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน ถือได้ว่าโจทก์ทำงานให้จำเลยเพื่อรับค่าจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงต่างไปจากศาลแรงงานกลาง เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่า สัญญาระหว่างจำเลยกับโจทก์มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบการทำงานร้ายแรง กรณีการกระจายหนี้และทำสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการทำงานเรื่องโจทก์กระจายหนี้ให้ลูกหนี้แต่ละรายใช้วงเงินสินเชื่อให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของโจทก์แทนการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ และยอมให้ลูกหนี้เงินกู้ทำสัญญาค้ำประกันซึ่งกันและกัน ทำให้ธนาคารจำเลยไม่สามารถควบคุมการปล่อยสินเชื่อได้ เป็นเหตุให้เกิดหนี้เสีย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อความเชื่อถือของประชาชน จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (3) และจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน แม้เริ่มงานก่อนเวลา และซื้อของนอกสถานที่ ก็ยังอยู่ในขอบเขตงาน
ท. มีตำแหน่งเป็นแม่บ้าน มีหน้าที่ดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยภายในสำนักงาน บริการจัดหาเครื่องดื่ม ของว่างและอาหารแก่ผู้มาติดต่อและพนักงานที่ประจำอยู่ ณ สำนักงาน กับจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคตามบันทึกข้อมูลขอบข่ายหน้าที่ของพนักงาน ซึ่งโดยลักษณะงานย่อมจะต้องเข้าทำงานก่อนพนักงานอื่น และต้องทำงานนอกสถานที่ทำงานของโจทก์เพราะต้องจัดซื้ออาหารและเครื่องดื่มจากตลาด โจทก์ได้กำหนดค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายเป็นรายเดือนให้ด้วย โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจาก ท. ต้องเริ่มทำงานก่อนเวลาทำการปกติ แสดงแจ้งชัดว่า ท. ต้องเริ่มทำงานให้โจทก์ก่อนเวลา 8 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาทำงานปกติของพนักงาน แม้ ท. จะยังมิได้ลงชื่อเข้าทำงานก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะตามสภาพความเป็นจริง ท. ได้เริ่มปฏิบัติงานตามหน้าที่แล้ว สามารถลงชื่อเข้าทำงานในภายหลังได้ เมื่อขณะ ท. ขับรถจักรยานยนต์ไปที่ทำงาน ท. ได้แวะซื้อของที่ตลาดเพื่อนำไปเตรียมไว้รับรองแขกและพนักงานของโจทก์ตามหน้าที่ เมื่อซื้อของเสร็จกำลังขับรถจากตลาดไปที่ทำงานได้เกิดเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่ง เป็นเหตุให้ ท. ได้รับบาดเจ็บกรณีจึงเป็นการที่ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง อันเป็นการประสบอันตรายตามความหมายของมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน และความรับผิดของนายจ้าง/บริษัทประกันภัยตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ท. มีตำแหน่งเป็นแม่บ้านของโจทก์ มีหน้าที่ดูแลความสะอาดและความเรียบร้อยภายในสำนักงาน บริการจัดหาเครื่องดื่ม ของว่าง และอาหารแก่ผู้มาติดต่อและพนักงานที่ประจำอยู่สำนักงาน กับจัดซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคตามขอบข่ายหน้าที่ ลักษณะงานของ ท. ต้องเข้าทำงานก่อนพนักงานอื่นและต้องทำงานนอกสถานที่ โจทก์กำหนดค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายให้ แสดงว่า ท. ต้องเริ่มทำงานก่อนเวลาทำงานปกติ ท. ขับรถจักรยานยนต์ไปที่ทำงาน ได้แวะซื้อของที่ตลาดเพื่อนำไปเตรียมไว้รับรองแขกและพนักงานของโจทก์ตามหน้าที่ ขณะกำลังขับรถจากตลาดไปที่ทำงานได้เกิดเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่ง ท. ได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการที่ ท. ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง เป็นการประสบอันตรายตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างทวงถามให้จำเลยจ่ายค่ารักษาพยาบาล ท. แต่จำเลยปฏิเสธ โจทก์จึงชำระเงินค่ารักษาพยาบาล ท. แทนจำเลยไป จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระคืนแก่โจทก์ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินไป จึงเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่จำต้องทวงถาม จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่โจทก์ชำระเงินไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคสอง และมาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ: การยื่นคำขอเกินกำหนดและเหตุอันสมควร
แม้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ แล้วก็ตาม แต่หากบุคคลดังกล่าวประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทน ก็จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 ซึ่งเป็นข้อกำหนดในเรื่องระยะเวลาและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน ดังนั้น หากผู้ยื่นคำขอมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน ตามปกติบุคคลนั้นก็ย่อมเสียสิทธิ แต่เมื่อมาตรา 56 วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาดก็ต้องแปลว่า การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอหาได้ไม่
โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพในส่วนของบำเหน็จชราภาพเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน คือวันที่ 1 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง แต่ข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมายังไม่พอที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรหรือความจำเป็นใดจึงยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนล่าช้า จึงย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 56 วรรคสอง หรือวรรคสาม แล้วแต่กรณี
of 277