พบผลลัพธ์ทั้งหมด 562 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่สุจริตในการซื้อขาย, การหลีกเลี่ยงภาษี, และการชำระหนี้ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน
โจทก์ร่วมมือกับจำเลยสำแดงราคาสินค้าเท็จ คือต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันจริง เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากร ในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากร ถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์จึงไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวขึ้นมาเรียกร้องราคาสินค้าเต็มจำนวนตามที่ซื้อขายกันจริง ซึ่งมีจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงต้องรับผิดต่อโจทก์เท่ากับราคาที่สำแดงต่อกรมศุลกากรเพื่อเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ตามที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระให้ตามกำหนด จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทแล้ว จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้ค่าสินค้า เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ ตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินนั้นชอบแล้ว
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ตามที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลยแล้ว จำเลยไม่ชำระให้ตามกำหนด จำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายสินค้ากัน แต่หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทแล้ว จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่ และเวลาที่ใช้เงินตามมาตรา 196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย เพราะโจทก์ต้องได้รับชำระหนี้ค่าสินค้า เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ ตามคำพิพากษา ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำพิพากษาว่า หากจำเลยจะชำระเป็นเงินบาทก็ให้ชำระตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1933/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การคิดอัตราแลกเปลี่ยน การชำระหนี้ และการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในคำพิพากษา
คำฟ้องเป็นเพียงการสรุปข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไร พร้อมคำขอบังคับจำเลยเพียงเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจคำฟ้อง เพื่อที่จะให้การต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องเท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์จำนวนเท่าไร ชำระให้โจทก์แล้วเท่าไรเหลือหนี้อีกเท่าไรที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยโดยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สิงคโปร์และเงินบาทมาด้วยนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดต่อโจทก์เป็นที่เข้าใจได้แล้วทั้งการที่จะพิจารณาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาเฉพาะคำฟ้องโจทก์เป็นสำคัญว่าบรรยายฟ้องถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยให้เข้าใจได้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172หรือไม่ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคำให้การต่อสู้ของจำเลยตลอดถึงการนำสืบของโจทก์ในชั้นพิจารณาแต่อย่างใด
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย
จำเลยสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ตามราคาที่แท้จริง 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์ออกใบแจ้งหนี้ให้จำเลยในราคา 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ซื้อขายสินค้ากันจริงเพื่อหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรในการนำเข้าสินค้าต่อกรมศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร แม้ผู้เสียภาษีอากรจะเป็นจำเลยผู้นำเข้าและยังไม่ถูกเจ้าพนักงานกล่าวหากระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27,99 ก็ตาม แต่เมื่อเห็นได้ชัดว่า โจทก์และจำเลยประกอบธุรกิจมีเจตนาเอาเปรียบประเทศไทยถือได้ว่าไม่สุจริตด้วยกัน โจทก์ไม่อาจยกเอาความไม่สุจริตดังกล่าวมาเรียกร้องเงินเต็มจำนวน 195,846.02 ดอลลาร์สิงคโปร์อันเป็นจำนวนที่โจทก์ร่วมมือกับจำเลยหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรรวมอยู่ด้วยได้ จำเลยคงรับผิดชำระให้โจทก์เฉพาะค่าสินค้า 146,603.94 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนที่จำเลยนำไปเสียภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรแล้วพร้อมดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดเท่านั้น
อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์มิได้มีอัตราคงที่แน่นอน จะมากขึ้นหรือน้อยลงแตกต่างกันในแต่ละวันย่อมขึ้นอยู่กับสภาวะทางเศรษฐกิจเมื่อจำเลยจะต้องรับผิดชำระค่าสินค้าให้โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์ตามที่ตกลงซื้อขายกัน หรือหากจะชำระเป็นเงินบาท จำเลยก็ต้องชำระด้วยอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 196ซึ่งจำเลยอาจได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ในผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและเงินดอลลาร์สิงคโปร์ในแต่ละวันได้ แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้ เพราะโจทก์จะได้รับชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สิงคโปร์เท่ากับที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์เสมอ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท และศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินค้าเป็นเงินบาทตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินโดยไม่ได้ระบุว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต้องไม่เกิน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อ 18 บาท ตามคำขอของโจทก์นั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะหากอัตราแลกเปลี่ยนณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินต่อ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เกิน 18 บาท คำพิพากษาของศาลในส่วนนี้จะเกินคำขอของโจทก์จึงสมควรกำหนดไว้ด้วยว่าต้องไม่เกินตามคำขอของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี กรณีศาลรับคำร้องขอเลื่อนคดีไว้แล้ว
คำร้องขอเลื่อนคดีของทนายความโจทก์อ้างว่า ไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากรถยนต์ที่ใช้เดินทางกลับจากการทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่เสียกะทันหันและอยู่ไกลร้านซ่อมรถ ไม่สามารถซ่อมรถได้ทัน จึงไปที่ศาลจังหวัดฝางเมื่อเวลาประมาณ 14 นาฬิกา เพื่อยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กรณีตามคำร้องจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดฝางในขณะนั้นตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 10 ได้ และในความตอนท้ายของมาตรา 10 นี้ บัญญัติให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องนั้นมีอำนาจทำคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงเป็นอำนาจของศาลจังหวัดฝางที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของทนายความโจทก์ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้อง ปรากฏว่าศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายความโจทก์ดังกล่าวว่า จัดการให้ ดังนี้ เห็นว่า แม้คำสั่งของศาลจังหวัดฝางจะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ แต่คำสั่งที่ว่า จัดการให้ ก็ย่อมมีความหายเป็นการจัดการให้ตามคำร้อง กล่าวคือ ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้ตามคำร้องโดยปริยาย ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้น ที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงย่อมมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ข้อเท็จจริงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายความโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสาร ศาลชั้นต้นจึงสมควรสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1643/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีโดยมีเหตุสุดวิสัยและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่ผิดระเบียบ
ตามคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์อ้างว่า ทนายโจทก์ไม่สามารถมาศาลได้เนื่องจากรถยนต์ที่ใช้เดินทางกลับจากการทำธุรกิจที่จังหวัดเชียงใหม่เสียกะทันหันและอยู่ไกลร้านซ่อมรถไม่สามารถซ่อมรถได้ทันทนายโจทก์จึงไปที่ศาลจังหวัดฝาง เมื่อเวลาประมาณ 14 นาฬิกา เพื่อยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดฝางในขณะนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 และเป็นอำนาจของศาลจังหวัดฝางที่จะต้องพิจารณาสั่งคำร้องของทนายโจทก์ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามคำร้อง
ศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายโจทก์ว่าจัดการให้ แม้จะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแต่ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้โดยปริยายถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้นที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสารศาลชั้นต้นจึงชอบที่สั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
ศาลจังหวัดฝางมีคำสั่งในคำร้องของทนายโจทก์ว่าจัดการให้ แม้จะไม่ชัดแจ้งว่าอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแต่ต้องถือเป็นคำสั่งที่อนุญาตให้เลื่อนคดีไปได้โดยปริยายถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานและศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ดังนั้นที่โจทก์ไม่ไปศาลชั้นต้นในวันสืบพยานจึงมิอาจถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายขาดนัดพิจารณาและจำหน่ายคดีก่อนทราบคำสั่งของศาลจังหวัดฝางดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลงต้องถือว่ามีกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในศาลชั้นต้นที่ต้องสั่งเพิกถอนแล้ว เมื่อศาลจังหวัดฝางส่งคำร้องของทนายโจทก์และคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทราบทางโทรสารศาลชั้นต้นจึงชอบที่สั่งเพิกถอนคำสั่งที่ผิดหลงนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว: การกักขังแทนค่าปรับในคดีที่จำเลยเป็นผู้เยาว์
จำเลยเป็นผู้เยาว์มีถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดกำแพงเพชรไปกระทำความผิดในเขตจังหวัดลพบุรี เมื่อไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่และท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิด จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58(3) และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ย่อมจะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534ซึ่งห้ามศาลกักขังแทนค่าปรับโดยให้ส่งไปฝึกอบรมแทนมาใช้บังคับไม่ได้ จึงพิพากษาให้กักขังจำเลยแทนค่าปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ของเด็ก – การแก้ไขดุลพินิจโทษปรับ
จำเลยเป็นเด็ก ในท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ตามปกติและท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิด ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นคดีนี้จึงไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จึงไม่อาจนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ซึ่งห้ามศาลกักขังแทนค่าปรับ โดยให้ส่งไปฝึกอบรมแทนมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29 และ 30 จึงชอบแล้ว
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2545)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2545)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อทราบสัญญาก่อนหน้า เพิกถอนนิติกรรมได้
ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ทราบว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทต่อกันไว้ก่อนแล้วการที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ถือว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำไว้กับโจทก์จริงจึงไม่ต้องนำสัญญาจะซื้อขายมาแสดงฉะนั้นแม้หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันไว้จริง
จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำไว้กับโจทก์จริงจึงไม่ต้องนำสัญญาจะซื้อขายมาแสดงฉะนั้นแม้หนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกันไว้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกาย กระทำอนาจาร และพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร เป็นกรรมเดียว ความผิดหลายบท ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้จำเลยมิได้ยกขึ้น
ปัญหาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมหรือเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางพานางสาว ส. ผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายไปยังที่เกิดเหตุ ห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุผู้เสียหายกระโดดลงจากรถ จำเลยเข้ามาชกท้อง 1 ที แล้วฉุดเข้าไปในป่า กอดปล้ำ จูบซอกคอ และบอกผู้เสียหายว่าให้ยอมพี่เถอะ ผู้เสียหายบอกว่าไม่ยอม จำเลยจึงจับศีรษะผู้เสียหายโขกตอไม้ที่พื้น กดศีรษะลงพื้น และนำมีดปลายแหลมออกมาขู่สั่งให้ผู้เสียหายถอดกางเกง ผู้เสียหายหลอกให้จำเลยปล่อยแล้วผู้เสียหายวิ่งหนีออกจากที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร และความผิดฐานกระทำอนาจารกับความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจาร จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อจะกระทำชำเราผู้เสียหายเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารดังกล่าว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อพาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุแล้วกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง จึงไม่อาจริบได้ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ก็เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางพานางสาว ส. ผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายไปยังที่เกิดเหตุ ห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุผู้เสียหายกระโดดลงจากรถ จำเลยเข้ามาชกท้อง 1 ที แล้วฉุดเข้าไปในป่า กอดปล้ำ จูบซอกคอ และบอกผู้เสียหายว่าให้ยอมพี่เถอะ ผู้เสียหายบอกว่าไม่ยอม จำเลยจึงจับศีรษะผู้เสียหายโขกตอไม้ที่พื้น กดศีรษะลงพื้น และนำมีดปลายแหลมออกมาขู่สั่งให้ผู้เสียหายถอดกางเกง ผู้เสียหายหลอกให้จำเลยปล่อยแล้วผู้เสียหายวิ่งหนีออกจากที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร และความผิดฐานกระทำอนาจารกับความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท และความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจาร จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เป็นเรื่องที่จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อจะกระทำชำเราผู้เสียหายเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ดังนั้น ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารดังกล่าว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อพาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุแล้วกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ฐานกระทำอนาจาร และฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุ ไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง จึงไม่อาจริบได้ แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ก็เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-การกระทำความผิดต่อเนื่อง-การริบยานพาหนะ-ความสงบเรียบร้อย
การกระทำของจำเลยที่ขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุและกระโดดลงจากรถเข้ามาชกท้องผู้เสียหายแล้วฉุดเข้าไปในป่า กอดปล้ำ เมื่อผู้เสียหายไม่ยอมจำเลยจึงจับศีรษะผู้เสียหายโขกตอไม้ที่พื้น กดศีรษะลงพื้นและนำมีดปลายแหลมออกมาขู่ให้ผู้เสียหายถอดกางเกง แต่ผู้เสียหายหลอกให้จำเลยปล่อยก่อนแล้วถือโอกาสวิ่งหนีออกจากที่เกิดเหตุได้นั้น เป็นความผิดฐานกระทำอนาจารกับความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจารนั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงในวาระเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์จำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อจะกระทำชำเราผู้เสียหายเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุแล้วกระทำผิด รถจักรยานยนต์ดังกล่าวย่อมเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรงจึงไม่อาจริบได้
จำเลยใช้รถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายไปยังที่เกิดเหตุแล้วกระทำผิด รถจักรยานยนต์ดังกล่าวย่อมเป็นเพียงพาหนะที่ใช้พาไปยังที่เกิดเหตุไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรงจึงไม่อาจริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนเป็นพยานหลักฐาน และการกำหนดความผิดฐานทำร้ายร่างกายร่วมกับฆ่าผู้อื่น
คำให้การชั้นสอบสวนของพยาน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีประกอบข้อพิจารณาของศาล เมื่อคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. และ ว. สอดคล้องตรงกับคำให้การของ ข. ประจักษ์พยานโจทก์ พยานหลักฐานของโจทก์จึงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนสั้นยิงฆ่าผู้ตาย
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตายและปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไปด้วย ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายเป็นการเฉพาะตัว ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิใช่มีความผิดตามมาตรา 295 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขเพียงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสามร่วมกันทำร้ายผู้ตายและปรากฏว่าผู้ตายถึงแก่ความตายในเหตุการณ์ดังกล่าว โดยฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 รู้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไปด้วย ฉะนั้น จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายต้องรับผิดฐานฆ่าผู้ตายเป็นการเฉพาะตัว ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายมาแต่ต้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง มิใช่มีความผิดตามมาตรา 295 ดังที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามา แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาจึงแก้ไขเพียงปรับบทลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสียให้ถูกต้อง แต่ไม่อาจเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225