พบผลลัพธ์ทั้งหมด 562 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษอาญาซ้ำกระทง: การพิจารณาตัวบุคคลเดียวกันและการยกข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
ปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ชั้นพิจารณาศาลได้สอบถามเรื่องที่จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อนหรือไม่แล้ว จำเลยให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยมิได้โต้แย้งทักท้วง ประกอบกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรรมระบุว่า ลายนิ้วมือของจำเลยคดีนี้และคดีก่อนเป็นบุคคลเดียวกัน ดังนี้ศาลย่อมเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้เพิ่มโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ชั้นพิจารณาศาลได้สอบถามเรื่องที่จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีก่อนหรือไม่แล้ว จำเลยให้การรับสารภาพและลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาโดยมิได้โต้แย้งทักท้วง ประกอบกับกองทะเบียนประวัติอาชญากรรมระบุว่า ลายนิ้วมือของจำเลยคดีนี้และคดีก่อนเป็นบุคคลเดียวกัน ดังนี้ศาลย่อมเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดีอาญา: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการอุทธรณ์เรื่องบุคคลเดียวกันและปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าการเพิ่มโทษจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ศาลฎีกาวินิจฉัยให้คิดดอกเบี้ยตามอัตราสูงสุดที่เรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไป บวก 0.25%
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต มีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง จำเลยที่ 1 ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่กำหนดโดยธนาคารโจทก์ไม่ได้ระบุจำกัดว่าให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น จึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ และเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมนั้นโจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม มาตรา 383 และมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน โดยย่อมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยผิดนัด, เบี้ยปรับ, สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต, การปรับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว, ศาลลดเบี้ยปรับ
ทรัสต์รีซีทเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งถ้าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ตามอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้นแต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ธนาคารโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้นับตั้งแต่เวลาที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยที่ 1 ก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดของสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับกรณีไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์จะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบ แต่การที่สัญญาดังกล่าวให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารโจทก์กำหนดไว้ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 303/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดจากสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต ศาลฎีกาแก้เบี้ยปรับให้เป็นอัตราที่สมเหตุสมผล
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต จำเลยยินยอมชำระเงินเมื่อมีการยื่นตั๋วแลกเงินของผู้รับประโยชน์พร้อมดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยของธนาคารโจทก์นับแต่วันที่ออกตั๋วแลกเงินถึงวันชำระเงิน รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หากไม่ปฏิบัติตาม ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดที่กำหนดโดยธนาคารโจทก์นับจากวันที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน เมื่อสินค้าตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวเดินทางมาถึง จำเลยได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารการรับสินค้าไปก่อนโดยยังไม่ชำระเงิน โดยมีข้อสัญญาว่าจะชำระตามตั๋วแลกเงินภายในเวลาที่กำหนดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้ สัญญาทรัสต์รีซีทจึงเป็นสัญญาที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตหมายความว่า ถ้าจำเลยปฏิบัติตามสัญญาทรัสต์รีซีทก็ย่อมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารโจทก์กำหนดไว้นับแต่เวลาที่สินค้ามาถึงกรุงเทพมหานครถึงวันที่ชำระเงิน
เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ กรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไว้ให้ชัดเจน แต่ในคำฟ้องได้มีการคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดของหนี้แต่ละจำนวนถึงวันฟ้อง โดยแนบสำเนาประกาศธนาคารโจทก์ เรื่องอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดขั้นสูงสุดมาด้วยและในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบโดยอ้างส่งสำเนาประกาศดังกล่าวที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตรงกันกับช่วงเวลาที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องและพยานหลักฐานของโจทก์จึงชัดเจนเพียงพอที่จะกำหนดดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดได้
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้ระบุจำกัดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น กรณีจึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวจึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ แต่เนื่องจากเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 383 โดยกำหนดให้เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดของโจทก์บวก 0.25 และปรับเปลี่ยนขึ้นลงแปรผันตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่เรียกจากลูกค้าทั่วไปตามประกาศของโจทก์ที่ประกาศไว้แล้วและที่จะประกาศต่อไปหลังวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดและไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องด้วย
เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในแต่ละช่วงเวลาของโจทก์แตกต่างกันตามประกาศของโจทก์แต่ละฉบับ จำเลยก็ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ประกาศไว้ในช่วงเวลาที่ผิดนัดสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับ กรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและจะต้องแจ้งให้จำเลยทั้งสองทราบแต่อย่างใด แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องถึงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาไว้ให้ชัดเจน แต่ในคำฟ้องได้มีการคำนวณดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัดของหนี้แต่ละจำนวนถึงวันฟ้อง โดยแนบสำเนาประกาศธนาคารโจทก์ เรื่องอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดขั้นสูงสุดมาด้วยและในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบโดยอ้างส่งสำเนาประกาศดังกล่าวที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดตรงกันกับช่วงเวลาที่โจทก์คิดคำนวณมาในฟ้อง ดังนั้น คำฟ้องและพยานหลักฐานของโจทก์จึงชัดเจนเพียงพอที่จะกำหนดดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองต้องรับผิดได้
สัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้ระบุจำกัดให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่มีการผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น กรณีจึงหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่มีได้หลายอัตราตลอดช่วงเวลาที่จำเลยยังไม่ชำระหนี้ สัญญาดังกล่าวจึงมีเจตนาให้คิดดอกเบี้ยปรับเปลี่ยนลอยตัวได้ แต่เนื่องจากเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าที่กำหนดไว้เดิมเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 383 โดยกำหนดให้เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดของโจทก์บวก 0.25 และปรับเปลี่ยนขึ้นลงแปรผันตามอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่เรียกจากลูกค้าทั่วไปตามประกาศของโจทก์ที่ประกาศไว้แล้วและที่จะประกาศต่อไปหลังวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผิดนัดและไม่เกินอัตราดอกเบี้ยตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยค้ำประกัน: ดอกเบี้ยตามสัญญาประธานใช้ได้ แม้สัญญาค้ำประกันไม่ได้ระบุ
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันหนี้สินทุกชนิดของห้างหุ้นส่วน ส. ภายในวงเงิน ที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันและอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ดังนั้น แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวอันเป็นสัญญาหรือหนี้อุปกรณ์จะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นสัญญาหรือหนี้ประธานซึ่งห้างหุ้นส่วน ส. ทำไว้กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้, วงเงินค้ำประกัน, การลดเบี้ยปรับ, และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้องตามสัญญา
สัญญาค้ำประกันซึ่งระบุว่า เป็นการค้ำประกันหนี้สินในวงเงินที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันและอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้แม้สัญญาค้ำประกันอันเป็นสัญญาหรือหนี้อุปกรณ์จะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือหนี้ประธาน
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เริ่มจากวันทำสัญญานี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศ หากครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยังไม่สามารถชำระหนี้ให้ได้ก็ยินยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยินยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ ข้อความที่ระบุไว้แสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงขึ้นได้ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร จึงมีผลเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้เดิม จึงถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
การคิดคำนวณความรับผิดตามวงเงินค้ำประกันจะต้องถือตามหนี้ต้นเงินในสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น โดยไม่รวมดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องรับผิดต่างหากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทมีจำนวนต่ำกว่าจำนวนเงินค้ำประกัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยจากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ดังนั้น จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วจะเกินจำนวนวงเงินค้ำประกันหรือไม่อีก
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับหนี้จำนองนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างคำขอท้ายอุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
สัญญาทรัสต์รีซีทระบุว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี เริ่มจากวันทำสัญญานี้เป็นต้นไปจนกว่าจะครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศ หากครบกำหนดวันชำระหนี้ตามตั๋วเงินจากต่างประเทศแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยังไม่สามารถชำระหนี้ให้ได้ก็ยินยอมเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นหรือต่ำลงห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ยินยอมให้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ ข้อความที่ระบุไว้แสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงขึ้นได้ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร จึงมีผลเป็นการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้ล่วงหน้าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาเงินค่าดอกเบี้ยส่วนที่สูงกว่าอัตราที่กำหนดไว้เดิม จึงถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนแม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
การคิดคำนวณความรับผิดตามวงเงินค้ำประกันจะต้องถือตามหนี้ต้นเงินในสัญญาทรัสต์รีซีทเท่านั้น โดยไม่รวมดอกเบี้ยที่จำเลยจะต้องรับผิดต่างหากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทมีจำนวนต่ำกว่าจำนวนเงินค้ำประกัน การคิดคำนวณดอกเบี้ยจากหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีท โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้น ดังนั้น จึงไม่จำต้องคำนึงว่าเมื่อนำดอกเบี้ยมารวมกับหนี้ต้นเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแล้วจะเกินจำนวนวงเงินค้ำประกันหรือไม่อีก
อุทธรณ์ของโจทก์มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับหนี้จำนองนั้นไม่ถูกต้องอย่างไรบ้างคำขอท้ายอุทธรณ์ข้อนี้จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางค่าฤชาธรรมเนียมเพื่อฎีกาในคดีขอพิจารณาใหม่ จำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีในชั้นไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ติดต่อกันถึง 5 ครั้ง ศาลชั้นต้นจึงยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสอง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม การที่จำเลยทั้งสองจะฎีกาในปัญหาตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับการขอพิจารณาใหม่นั้น จำเลยทั้งสองต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 เมื่อไม่ปฏิบัติตาม ฎีกาจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9697/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมกับการกระทำความผิดตามกฎหมายภาษีอากร: พิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
แม้ ป.อ. มาตรา 268 บัญญัติว่า ผู้ใดใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็น ผู้ปลอมเอกสารนั้น ให้ลงโทษตามมาตรา 268 แต่เพียงกระทงเดียวก็ตาม แต่จำเลยใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4 (3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ป.อ. จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียว ตาม ป.อ. มาตรา 268 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9578/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าเสียหายขนส่งสินค้าและความถูกต้องของการกำหนดค่าทนายความ
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งสินค้าประเภทน้ำยางดิบจำนวน4 ตู้คอนเทนเนอร์ จากท่าเรือแหลมฉบัง ประเทศไทย ไปส่งให้แก่ผู้ซื้อที่เมืองเซนต์ ชองประเทศแคนาดา โดยโจทก์รับทำการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ส่วนจำเลยผู้ส่งมีหน้าที่รับตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุสินค้าน้ำยางดิบเข้าตู้เอง ขณะจำเลยส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ให้แก่โจทก์ ตู้อยู่ในสภาพเรียบร้อยดี โจทก์จึงได้ออกใบตราส่งแบบปราศจากข้อสงวนให้แก่จำเลย เมื่อสินค้าไปถึงประเทศแคนาดา ระหว่างที่นำสินค้าทั้ง 4 ตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นบรรทุกบนโครงรถไฟเพื่อนำไปส่งให้แก่ผู้ซื้อ ปรากฏว่ามีน้ำยางดิบไหลหยดออกมาจากใต้ตู้ เมื่อเปิดตู้ตรวจดูแล้วพบว่าถุงที่บรรจุน้ำยางฉีกขาดบริเวณปากถุง แต่ความเสียหายมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดของจำเลยผู้ส่งในการบรรจุน้ำยางดิบเข้าถุงและบรรจุถุงเข้าตู้คอนเทนเนอร์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยเป็นเงินเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142(5)
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยเป็นเงินเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 246 และ 142(5)