คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พินิจ เพชรรุ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 562 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ หากมีการส่งมอบสินค้าแล้ว ผู้ซื้อมีหน้าที่ชำระราคา
จำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องจริง จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยต่อสู้ว่าไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่แต่งตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยรับไปแล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายแม้ว่าคำฟ้องหรือตามทางนำสืบของโจทก์จะไม่ได้ความว่า การสั่งซื้อสินค้าคดีนี้มีการทำสัญญาซื้อขายกัน หรือมีหลักฐานซื้อขายเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ การยกข้อต่อสู้เรื่องผิดสัญญา และการนำสืบหลักฐาน
ในสัญญาซื้อขายนั้นนอกจากผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 486 เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องโจทก์จริง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลย การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมหนังสือมอบอำนาจเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะและมีอำนาจฟ้องเพิกถอนได้
จำเลยนำแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์เพียงลงลายมือชื่อไว้ไปกรอกข้อความว่าโจทก์มอบอำนาจให้จำเลยเป็นผู้มีอำนาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของโจทก์ให้แก่จำเลยโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วยหนังสือมอบอำนาจจึงเป็นเอกสารปลอม นิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของโจทก์ที่ประสงค์จะทำนิติกรรมนั้น นิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยดังกล่าวได้
ปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตโดยทำหนังสือมอบอำนาจปลอมแล้วนำไปดำเนินการทำนิติกรรมโอนขายที่ดินส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยที่ 1 อันเป็นเหตุให้นิติกรรมดังกล่าวไม่มีผลผูกพันโจทก์นั้น เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตามที่เห็นสมควรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากการแสดงเจตนาไม่ถูกต้อง และการประเมินความเสียหายที่ต้องพิสูจน์ถึงประโยชน์ที่ได้รับจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนซื้อขายและการถือกรรมสิทธิ์ให้กลับมาเป็นชื่อของโจทก์พร้อมกับเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จสิ้น โดยในส่วนค่าเสียหาย ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้พยายามติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย และการถือกรรมสิทธิ์รวมให้โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ดังเดิม แต่จำเลยทั้งสี่เพิกเฉยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงินจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 10,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้นับแต่วันฟ้อง แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องระบุเลยว่าฝ่ายจำเลยโต้แย้งการทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทของโจทก์อย่างไร และไม่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ว่าหากฝ่ายจำเลยดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรม ดังกล่าวแล้ว โจทก์จะได้ประโยชน์อย่างไรถึงจำนวนเดือนละ 10,000 บาท อีกทั้งมารดาโจทก์อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทและเป็นผู้เก็บเอาผลประโยชน์จากผลไม้ในที่ดินพิพาทตลอดมา โจทก์ทำการสมรสและย้ายออกไปจากที่ดินพิพาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์หรือเข้าเก็บผลประโยชน์จากที่ดินพิพาทไป ดังนั้น เมื่อได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายและการถือกรรมสิทธิ์รวมโดยแก้ไขสารบัญการจดทะเบียน ในโฉนดที่ดินพิพาทแล้ว ความเสียหายของโจทก์ย่อมเป็นอันระงับสิ้นไป ศาลย่อมไม่อาจบังคับตามคำขอของโจทก์ ในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสี่ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6230/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกเช็คเพื่อชำระหนี้เงินกู้ การลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยผู้ไม่ใช่เจ้าของบัญชี ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายก่อนแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1ได้กรอกรายการและลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 และสลักหลังในเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาท แม้จำเลยที่ 1 ไม่ใช่เจ้าของบัญชีก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายการที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เงินกู้โจทก์ตามสัญญากู้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาทมอบให้โจทก์ เพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว ถือว่าเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดโทษจำคุกคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ให้อยู่ในกรอบมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด
พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 12 บัญญัติว่า "การกำหนดโทษจำคุกที่จะลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 ให้กำหนดโทษจำคุกอย่างสูงที่สุดได้ไม่เกินห้าสิบปี"ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 และกำหนดโทษจำคุก 66 ปี จึงเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 12 ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6147/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยที่ละเมิดลิขสิทธิ์โดยมีเจตนาเดียวกัน ศาลต้องใช้บทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นความผิดตามมาตรา 30 (1) ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีเจตนาเดียวกันในการทำซ้ำงานต่าง ๆ ดังกล่าว การกระทำจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องปรับบทความผิดทุกบท แต่การลงโทษต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 90
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6128/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดก: สิทธิทายาท, ข้อตกลงระหว่างบุคคล, และขอบเขตการครอบครอง
ขณะที่จำเลยทำข้อตกลงกับโจทก์ตามรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 7 มิถุนายน 2539 นั้น จำเลยได้กระทำในฐานะส่วนตัวและไม่ได้กระทำในฐานะผู้จัดการมรดก อีกทั้งข้อตกลงดังกล่าวก็ระบุชัดแจ้งว่าจำเลยจะโอนที่พิพาทส่วนของจำเลยให้แก่วัด พ. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ด. เจ้ามรดกมีบุตร 2 คน คือ จำเลยกับ ส. ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกจาก ด. คนละครึ่งเช่นนี้ โจทก์จะมาฟ้องจำเลยให้โอนที่พิพาทส่วนของ ส. ให้แก่วัด พ. หาได้ไม่ อีกประการหนึ่งแม้จะได้ความว่า จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่ขณะที่ทำข้อตกลงกับโจทก์นั้นยังไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกได้ครอบครองที่พิพาทต่อมาก็เป็นการครอบครองแทน ส. นอกจากนี้การที่ ส. ทราบข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย ก็ไม่ได้หมายความว่า ส. มอบให้จำเลยเป็นผู้ตกลงทำสัญญายกที่พิพาทส่วนของ ส. ให้แก่วัด พ. แต่อย่างใดจึงพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่วัด พ. ได้เฉพาะส่วนของจำเลยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6122/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีบุหรี่ปลอมและไม่ติดแสตมป์ ศาลตัดสินว่าความผิดหลายกระทงเป็นกรรมเดียว
ความผิดข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายกับข้อหามีแสตมป์ยาสูบปลอมเพื่อขายหรือเพื่อ นำออกใช้ จำเลยกับพวกร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบปลอมก็เพื่อนำออกใช้กับยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายนั่นเอง ดังนั้น ความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงเป็นความผิดกรรมเดียว และเป็นกรรมเดียวกับข้อหามียาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมายไว้ในครอบครองเกินกว่า 500 กรัม สำหรับความผิดข้อหาเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม แม้โจทก์บรรยายฟ้องแยกกันมา แต่ได้ความว่าจำเลย มีเจตนาอันเดียวคือต้องการขายบุหรี่ของกลางซึ่งเป็นบุหรี่ที่บรรจุในซองที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบตามกฎหมาย และที่มีเครื่องหมายการค้ากับแสตมป์ยาสูบปลอมในซองเดียวกัน ความผิดทั้งสามข้อหาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นความผิด กรรมเดียวกับความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 110 (1) ประกอบด้วยมาตรา 108 ซึ่งเป็น บทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5993/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาขอพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208: ความชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อันเป็นเวลาก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.วิ.พ. (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ แบ่งการขอพิจารณาใหม่เป็นสองกรณีกรณีแรกเป็นเรื่องขอพิจารณาใหม่ในกรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา กรณีที่สองเป็นเรื่องขอพิจารณาใหม่ในกรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ให้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง
จำเลยทราบฟ้องโจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541อันเป็นวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปทำการยึดทรัพย์จำเลย แต่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 จึงล่วงพ้นกำหนดสิบห้าวันไปแล้ว ทั้งในกรณีปกติและกรณีที่อ้างว่ามีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม)
ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
of 57