พบผลลัพธ์ทั้งหมด 562 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5971/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ทำให้คู่ความฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทคนละ 1 ส่วน รวม 4 ส่วน ใน 9 ส่วนคิดเป็นเงินรวม 279,632 บาท จำเลยให้การว่าที่ดินดังกล่าวมิใช่ทรัพย์มรดก แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่ฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทน้อยกว่า 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกา
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งที่ดินแปลงพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกแก่โจทก์ทั้งสี่คนละ 1 ส่วน รวม 4 ส่วน ใน 9 ส่วน คิดเป็นเงินรวม 279,632 บาท แม้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเพราะเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะของตน เมื่อที่ดินแต่ละส่วนที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามคู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสี่ฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2544)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2544)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5688/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีซีดีละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อขาย แม้ไม่มีการล่อซื้อ ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
จำเลยเอากล่องซีดีภาพยนตร์พร้อมปกซึ่งมีภาพและชื่อของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ประมาณ 100 เรื่อง วางแสดงไว้ที่หน้าร้านเพื่อเตรียมไว้เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป แม้ภายในกล่องจะไม่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์อยู่ก็ตาม แต่จำเลยก็สามารถไปนำแผ่นซีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของกลางที่อยู่หลังร้านออกมาขายให้แก่ผู้ซื้อได้ หากจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้โดยไม่มีเจตนาเพื่อจะขายแผ่นซีดีและแม้คดีนี้จะไม่มีการล่อซื้อแผ่นซีดีภาพยนตร์จากจำเลย แต่การที่จำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์หลายเรื่องหลายแผ่นไว้ พร้อมทั้งมีการวางกล่องกับปกซีดีภาพยนตร์ไว้ในร้านแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ว่าจำเลยมีแผ่นซีดีภาพยนตร์ของกลางไว้เพื่อขายแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1), 70 วรรคสอง
จำเลยกระทำผิดโดยเพียงแต่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีบุคคลอื่นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดไว้เพื่อขายจำนวนเพียง 102 แผ่น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มิได้ขอให้จ่ายเงินแก่ผู้เสียหายคนละเท่า ๆ กัน และไม่ปรากฏเหตุอันควรที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมคนละเท่า ๆ กัน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นให้จ่ายเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดตามคำขอในคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น
จำเลยกระทำผิดโดยเพียงแต่มีแผ่นซีดีภาพยนตร์ซึ่งมีบุคคลอื่นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดไว้เพื่อขายจำนวนเพียง 102 แผ่น ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ขอให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็มิได้ขอให้จ่ายเงินแก่ผู้เสียหายคนละเท่า ๆ กัน และไม่ปรากฏเหตุอันควรที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะพิพากษาให้จ่ายเงินค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่ผู้เสียหายทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่เข้าเป็นโจทก์ร่วมคนละเท่า ๆ กัน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเป็นให้จ่ายเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระตามคำพิพากษากึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ร่วมทั้งเจ็ดตามคำขอในคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีชำรุดบกพร่อง, การพิสูจน์ความชำรุดบกพร่อง, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์ซื้อห้องชุดพิพาทจากจำเลยและได้รับโอนการครอบครองไปเรียบร้อยแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้เข้าอยู่อาศัย ต่อมาประมาณกลางปี 2538 โจทก์ประสงค์จะเข้าอยู่อาศัย จึงได้ให้ช่างเข้าไปตกแต่ง ในระหว่างนั้นเกิดมีฝนตกหนัก น้ำฝนรั่วซึมเข้าไปในห้องชุดพิพาท ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ความเสียหายเกิดจากผนังบางส่วนมีรอยแตกร้าว และบริเวณระหว่างกำแพงที่เป็นปูนหรือส่วนที่เป็นพื้นกับวงกบอะลูมิเนียมของบานประตูหน้าต่างมีรอยต่อไม่สนิทหรือบางส่วนยาซิลิโคนไม่ทั่ว ทำให้น้ำฝนสามารถซึมเข้ามาตามห้องชุดตามรอยร้าวหรือรอยต่อที่ไม่สนิทเป็นความชำรุดบกพร่องอันไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ ต่อเมื่อมีฝนตกหนัก น้ำฝนซึมเข้ามาจึงจะรู้ว่ามีการชำรุดบกพร่อง แม้โจทก์จะได้มอบหมายให้ตัวแทนโจทก์เข้าไปสำรวจตรวจสอบ ก็เป็นการตรวจสอบเพียงว่ามีทรัพย์สินใดเสียหายบ้าง แต่บุคคลทั้งสองไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง การที่ตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์ติดต่อหาผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบและโจทก์ได้ว่าจ้างให้ผู้ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญเข้าไปทำการตรวจสอบให้แน่ชัด จึงเป็นการกระทำที่สมควร เมื่อผู้เชียวชาญได้ตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้โจทก์ทราบเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2538 จึงถือได้ว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทนับแต่เวลานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 ยังไม่พ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ค่าจ้างตรวจสอบสาเหตุแห่งความเสียหายรวมทั้งทรัพย์สินที่เสียหายและค่าซ่อมแซมเป็นผลโดยตรงจากความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทที่จำเลยขายให้โจทก์และเป็นจำนวนที่สมควร จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความไว้ในตาราง 6 โดยให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง โดยให้พิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าความเรื่องนั้น ไม่ประสงค์จะให้คู่ความกำหนดอัตราค่าทนายความกันเองแล้วมาเรียกจากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งศาลจะกำหนดค่าทนายความไว้ตอนท้ายของคำพิพากษา มิใช่กำหนดตามที่ผู้ชนะคดีจ่ายไปจริง
ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์จ่ายเงินค่าตรวจสอบไปเมื่อวันใด ส่วนค่าซ่อมแซมขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้ซ่อม โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับจากวันตามขอไม่ได้ ศาลกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
ค่าจ้างตรวจสอบสาเหตุแห่งความเสียหายรวมทั้งทรัพย์สินที่เสียหายและค่าซ่อมแซมเป็นผลโดยตรงจากความชำรุดบกพร่องของห้องชุดพิพาทที่จำเลยขายให้โจทก์และเป็นจำนวนที่สมควร จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
ป.วิ.พ. ได้กำหนดอัตราค่าทนายความไว้ในตาราง 6 โดยให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง โดยให้พิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดีกับเทียบดูเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าความเรื่องนั้น ไม่ประสงค์จะให้คู่ความกำหนดอัตราค่าทนายความกันเองแล้วมาเรียกจากอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งศาลจะกำหนดค่าทนายความไว้ตอนท้ายของคำพิพากษา มิใช่กำหนดตามที่ผู้ชนะคดีจ่ายไปจริง
ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าโจทก์จ่ายเงินค่าตรวจสอบไปเมื่อวันใด ส่วนค่าซ่อมแซมขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้ซ่อม โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับจากวันตามขอไม่ได้ ศาลกำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า การแจ้งข้อความเท็จ และการบังคับตามมาตรา 116 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้ารูปตา 1 ตา และเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรี 1 ตัว และจำเลยได้ทำเครื่องหมายการค้ารูปตา 3 ตา ประกอบกับนกอินทรี 3 ตัว แต่ลักษณะดวงตามีรัศมี 19 เส้น เหมือนรูปตาตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์และรูปนกอินทรีก็ถือกิ่งไม้ 1 กิ่ง กับลูกศร 3 ดอก เหมือนรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์เช่นกัน คงต่างกันแต่จำนวนดวงตาและจำนวนนกอินทรีเท่านั้น และจำเลยได้นำเครื่องหมายการค้าที่ทำขึ้นไปใช้กับสินค้าของจำเลยนำออกจำหน่าย อันแสดงให้เห็นได้ถึงเจตนาของจำเลยที่จะทำให้ประชาชนสับสน หลงผิด หลงเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนขึ้นและนำไปใช้กับสินค้านั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ย่อมเป็นความผิดตามคำฟ้องได้ โดยไม่จำต้องคำนึงถึงกรณีที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้านั้นแล้ว จำเลยจะนำไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้หรือไม่ หรือนายทะเบียนจะรับจดทะเบียนให้หรือไม่
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวนั้น เป็นเพียงเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนขึ้นนั้น ในภาพรวมของแต่ละเครื่องหมายมีลักษณะเพียงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เท่านั้น ไม่ได้เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการจนถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนทั้งสองเครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน และแม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหานี้ฎีกาขึ้นมาโดยตรงก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิด ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 116 ต้องปรากฏในขณะที่ยื่นคำขอว่าจำเลยได้กระทำการหรือกำลังจะกระทำการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีคำขอดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องซึ่งบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดข้อหาปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ระหว่างเดือนมกราคม 2536 ถึงปลายเดือนมกราคม 2540 อันเป็นการแสดงว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวเสร็จสิ้นไป ก่อนวันที่โจทก์มีคำขอมาท้ายคำฟ้องประมาณ 7 เดือน ไม่ใช่กรณีที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำการหรือกำลังจะกระทำการดังกล่าวในขณะที่โจทก์มีคำขอให้ศาลบังคับตามมาตรา 116 คำขอของโจทก์เช่นนี้จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 116 ดังกล่าว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับให้จำเลยระงับหรือละเว้นการปลอม เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น กรณีเช่นนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าวนั้น เป็นเพียงเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำเลียนขึ้นนั้น ในภาพรวมของแต่ละเครื่องหมายมีลักษณะเพียงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เท่านั้น ไม่ได้เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการจนถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนทั้งสองเครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน และแม้จำเลยไม่ได้ยกปัญหานี้ฎีกาขึ้นมาโดยตรงก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวไม่เป็นความผิด ก็ย่อมพิพากษายกฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่โจทก์จะขอให้ศาลบังคับตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า ฯ มาตรา 116 ต้องปรากฏในขณะที่ยื่นคำขอว่าจำเลยได้กระทำการหรือกำลังจะกระทำการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีคำขอดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องซึ่งบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดข้อหาปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ระหว่างเดือนมกราคม 2536 ถึงปลายเดือนมกราคม 2540 อันเป็นการแสดงว่าจำเลยกระทำการดังกล่าวเสร็จสิ้นไป ก่อนวันที่โจทก์มีคำขอมาท้ายคำฟ้องประมาณ 7 เดือน ไม่ใช่กรณีที่กล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำการหรือกำลังจะกระทำการดังกล่าวในขณะที่โจทก์มีคำขอให้ศาลบังคับตามมาตรา 116 คำขอของโจทก์เช่นนี้จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 116 ดังกล่าว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับให้จำเลยระงับหรือละเว้นการปลอม เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวข้างต้น กรณีเช่นนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา และการซื้อขายระงับ
นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินเสร็จสิ้นไปสมเจตนาของโจทก์ และจำเลยด้วย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้จำเลยเช่นกัน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากมีคำพิพากษาถึงที่สุดจำเลยได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้วและได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินเป็นอันเสร็จสิ้นไป ด้วยเหตุนี้เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยภายในกำหนดตามคำบังคับเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอหมายบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลย หนี้ตามคำพิพากษาเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลย หนี้ตามคำพิพากษาเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาซื้อขายที่ดิน: การสละสิทธิรับโอนกรรมสิทธิ์เมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ค่าที่ดิน และการระงับผลของการซื้อขาย
โจทก์กับจำเลยทั้งสองพิพาทกันตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน และมีคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้วกำหนดให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่ในกรณีถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ให้โจทก์วางเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือเป็นเงิน 3,640,000 บาท ให้แก่จำเลยทั้งสองรับไป และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นคำพิพากษากำหนดให้ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจะซื้อขายตามฟ้องได้สำเร็จลุล่วงไปสมเจตนาของทั้งสองฝ่าย
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ด้วยผลของคำพิพากษา นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการตอบแทนจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเช่นกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้ว และได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทั้งศาลได้มีคำบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอันเสร็จสิ้นไป เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยทั้งสอง หนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ในที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยเป็นผู้นำโฉนดที่ดินมาวางศาลไว้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็มีสิทธิขอยืมโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวไปทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ เมื่อดำเนินการเสร็จผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมก็ได้นำโฉนดที่ดินดังกล่าวส่งคืนแก่ศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยืมโฉนดที่ดินไป จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดการอ่านคำสั่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องขอเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษากล่าวอ้างว่า จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เพื่อแจ้งให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา อันเป็นสิทธิของจำเลยส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำสั่งตามคำร้องของจำเลยย่อมกระทำได้ ทั้งมิได้ทำให้จำเลยเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่วินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว
แม้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้คู่ความฝ่ายชนะคดีเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเอาแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี คือลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ด้วยผลของคำพิพากษา นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นการตอบแทนจำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองเช่นกัน ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้ว และได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทั้งศาลได้มีคำบังคับให้โจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นอันเสร็จสิ้นไป เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิที่จะขอหมายบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 275
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยทั้งสองภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยทั้งสอง หนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสองเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยทั้งสองได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับ ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ในที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยเป็นผู้นำโฉนดที่ดินมาวางศาลไว้เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมก็มีสิทธิขอยืมโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวไปทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินเฉพาะส่วนของตนได้ เมื่อดำเนินการเสร็จผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมก็ได้นำโฉนดที่ดินดังกล่าวส่งคืนแก่ศาล การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมยืมโฉนดที่ดินไป จึงไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัดการอ่านคำสั่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องขอเลื่อนนัดการอ่านคำพิพากษากล่าวอ้างว่า จำเลยมีหนังสือไปถึงโจทก์เพื่อแจ้งให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา อันเป็นสิทธิของจำเลยส่วนหนึ่งเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนการอ่านคำสั่งตามคำร้องของจำเลยย่อมกระทำได้ ทั้งมิได้ทำให้จำเลยเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้เป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่วินิจฉัยให้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: การพิจารณาโทษกระทง และการห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำเลยฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษและฐานมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายให้จำคุกกระทงละ 5 ปี แม้ศาลชั้นต้นรวมโทษเข้าด้วยกันเป็นจำคุก 10 ปี แต่การพิจารณาสิทธิฎีกาจะต้องแยกโทษแต่ละกระทงเป็นเกณฑ์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า พยานโจทก์เบิกความมีพิรุธไม่น่าเชื่อถือว่ามีการล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนได้จากจำเลย และมีการค้นพบเมทแอมเฟตามีนในบ้านจำเลย พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีพิรุธและน่าสงสัยหลายประการ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและไม่ได้เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า การตรวจค้นบ้านและจับกุมจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย บันทึกการตรวจค้นและจับกุมจึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยได้นั้นการที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจค้นบ้านจำเลยโดยมีหมายค้นหรือไม่ และมีอำนาจจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับได้หรือไม่ จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า เจ้าพนักงานตำรวจพบพฤติกรรมซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดมาแล้วสด ๆ อันถือได้ว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือไม่ จึงเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า พยานโจทก์เบิกความมีพิรุธไม่น่าเชื่อถือว่ามีการล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนได้จากจำเลย และมีการค้นพบเมทแอมเฟตามีนในบ้านจำเลย พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมามีพิรุธและน่าสงสัยหลายประการ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้เป็นคุณแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า เจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและไม่ได้เป็นการกระทำความผิดซึ่งหน้า การตรวจค้นบ้านและจับกุมจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย บันทึกการตรวจค้นและจับกุมจึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยได้นั้นการที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานตำรวจค้นบ้านจำเลยโดยมีหมายค้นหรือไม่ และมีอำนาจจับกุมจำเลยโดยไม่มีหมายจับได้หรือไม่ จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า เจ้าพนักงานตำรวจพบพฤติกรรมซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดมาแล้วสด ๆ อันถือได้ว่าเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือไม่ จึงเป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335-4339/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องอาญาที่ระบุสถานที่เกิดเหตุไม่ชัดเจนและไม่ได้อ้างมาตราในกฎหมาย แต่บรรยายลักษณะความผิดครบถ้วน ถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
แม้คำฟ้องโจทก์บรรยายแต่เพียงว่าเหตุเกิดที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ โดยไม่ได้ระบุตำบลเกิดเหตุให้ชัดเจน ก็ถือว่าคำฟ้องได้บรรยายถึงสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ แล้ว ทั้งจำเลยมิได้ต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น และรูปคดีเป็นที่เข้าใจว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว การที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเหตุเกิดที่ตำบลอะไรนั้นจึงเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมีบทบัญญัติเพียง 11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียวที่บัญญัติการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ส่วนมาตราอื่น ๆล้วนบัญญัติในเรื่องอื่น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงชื่อกฎหมายไม่ได้ระบุมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดก็ตาม แต่ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำความผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงต่อสู้ จึงไม่อาจเป็นการกระทำความผิดตามมาตราอื่นได้อีก มีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯมีบทบัญญัติเพียง 11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียวที่บัญญัติการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ส่วนมาตราอื่น ๆล้วนบัญญัติในเรื่องอื่น แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงชื่อกฎหมายไม่ได้ระบุมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดก็ตาม แต่ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำความผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงต่อสู้ จึงไม่อาจเป็นการกระทำความผิดตามมาตราอื่นได้อีก มีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3050/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหมิ่นประมาทไม่สมบูรณ์ - ข้อความใส่ความไม่ชัดเจน - คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องต้องคืนค่าธรรมเนียม
คำฟ้องในแต่ละกรรมที่โจทก์หาว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ไม่มีข้อความอันแสดงความหมายเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังอย่างไรซึ่งศาลจะได้หยิบยกขึ้นพิจารณาได้ โดยเฉพาะโจทก์เพียงแต่บรรยายสรุปว่า ข้อความทั้งหมดเป็นความเท็จทั้งสิ้น ทำให้ประชาชนคนอ่านไม่ทราบความจริงเข้าใจว่าโจทก์มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศโดยไม่มีข้อความตอนใดยืนยันข้อเท็จจริงว่า โจทก์มีความสัมพันธ์ทางเพศกับ ส.ซึ่งเป็นกระเทย เมื่อฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151
โจทก์บรรยายฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในมูลละเมิดอันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญามาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องคดีในส่วนอาญาเสียแล้วย่อมไม่มีอำนาจรับคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา จึงต้องมีคำสั่งไม่รับฟ้องคดีส่วนแพ่งและคืนค่าธรรมเนียมแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151