พบผลลัพธ์ทั้งหมด 562 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยเจตนาหลังป้องกันตนเกินสมควร และเหตุบันดาลโทสะที่ไม่สมเหตุผล
ผู้ตายใช้มีดฟันจำเลยแล้วต่างล้มลงแย่งมีดกัน จำเลยลุกขึ้นได้ก่อนชักอาวุธปืนออกมายิงผู้ตาย 1 นัด ผู้ตายมุดหนีไปใต้แคร่จำเลยก้มมองและส่ายอาวุธปืนไปมาแล้วเดินอ้อมไปอีกด้านหนึ่งของแคร่ยิงผู้ตายอีก 2 นัด จากนั้นจำเลยใช้มีดของผู้ตายฟันผู้ตายตรงส่วนของร่างกายที่โผล่พ้นออกมานอกแคร่มากกว่า 3 ครั้งโดยผู้ตายไม่มีโอกาสจะทำร้ายจำเลยได้อีก ภยันตรายเป็นอันผ่านพ้นและสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจึงไม่อาจกระทำการป้องกันสิทธิของตนได้ทั้งการกระทำดังกล่าวเป็นการหาโอกาสเลือกยิงและฟันผู้ตายโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย มิใช่เป็นการกระทำในขณะไม่อาจควบคุมอารมณ์ได้เพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมอันจะอ้างได้ว่าเป็นเหตุบันดาลโทสะ
ความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376กับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90
ความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมนุมชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 376กับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา 288 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามมาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการละเมิดลิขสิทธิ์: ค่าโฆษณา, ค่าเสียโอกาสทางธุรกิจ, และการพิสูจน์ความเสียหาย
เงินที่โจทก์ต้องใช้ไปในด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์พิพาทถือเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อผลงานของโจทก์ ผลประโยชน์ที่เกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์มีมากน้อยเพียงใดย่อมจะตกแก่โจทก์โดยตรงการที่จำเลยกระทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ก็ไม่มีผลกระทบถึงค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ของโจทก์แต่อย่างใด เพราะค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องจ่ายไปตามความจำเป็นและพอใจของโจทก์เองหาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องสูญเสียผลประโยชน์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 64 ที่ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่โจทก์จะมาเรียกร้องจากจำเลยได้ไม่
ที่โจทก์อ้างว่าต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงในทางการค้าเนื่องจากงานที่จำเลยทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้คุณภาพเพราะภาพไม่คมและเสียงไม่ชัดเจนนั้น ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความตอบถามค้านทนายจำเลยไว้ชัดเจนว่า ผู้ที่มาขอเช่าม้วนวิดีโอพิพาทในคดีนี้ทราบอยู่แล้วว่าเป็นวิดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์แสดงว่าประชาชนผู้บริโภคทราบว่าม้วนวิดีโอพิพาทไม่ใช่เป็นสินค้าที่เจ้าของลิขสิทธิ์คือโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้น ฉะนั้นข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงในทางการค้าเพราะสินค้าไม่ได้คุณภาพมาตรฐานจึงตกไป
ที่โจทก์อ้างว่าต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงในทางการค้าเนื่องจากงานที่จำเลยทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ไม่ได้คุณภาพเพราะภาพไม่คมและเสียงไม่ชัดเจนนั้น ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เบิกความตอบถามค้านทนายจำเลยไว้ชัดเจนว่า ผู้ที่มาขอเช่าม้วนวิดีโอพิพาทในคดีนี้ทราบอยู่แล้วว่าเป็นวิดีโอที่ละเมิดลิขสิทธิ์แสดงว่าประชาชนผู้บริโภคทราบว่าม้วนวิดีโอพิพาทไม่ใช่เป็นสินค้าที่เจ้าของลิขสิทธิ์คือโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้น ฉะนั้นข้อที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงในทางการค้าเพราะสินค้าไม่ได้คุณภาพมาตรฐานจึงตกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีเยาวชนละเมิดลิขสิทธิ์: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มีอำนาจพิจารณา แม้เยาวชนกระทำผิดในพื้นที่ไม่มีศาลเยาวชน
ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ จำเลยมีภูมิลำเนาอันเป็นถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดลพบุรีและกระทำความผิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดดำเนินการคดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 58(3) ที่ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดีนั้นหมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะแต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 7(1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวเมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าว ดังนั้น คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2266/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีละเมิดลิขสิทธิ์เยาวชน: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ หรือศาลจังหวัด เมื่อไม่มีศาลเยาวชนในพื้นที่
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยมีอายุ 17 ปีเศษ จำเลยมีภูมิลำเนาอันเป็นถิ่นที่อยู่ปกติที่จังหวัดลพบุรีและกระทำความผิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวเปิดดำเนินการ คดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3)
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) ที่ว่า ในกรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ถ้าไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดี หมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 (1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
กรณีที่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี เท่านั้นแต่ให้บรรดาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวจะยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค โดยระบุเขตศาลและที่ตั้งศาลขึ้นตามมาตรา 6 แล้ว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคที่จัดตั้งขึ้นแล้วนั้นสามารถยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะรับหรือไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้เมื่อคดีนี้เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีและยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคใดขึ้นเลย จึงยังใช้บทบัญญัติในการยื่นฟ้องคดีตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังกล่าวแล้วไม่ได้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติเป็นบทเฉพาะกาลไว้ว่าในระหว่างที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตในท้องที่นั้นด้วย และในคดีอาญาโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นก็ได้ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนั้นไว้แล้วจะนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น หรือ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีและศาลดังกล่าวแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนี้ไว้และพิจารณาพิพากษา จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 47 ดังกล่าว และคดีนี้มิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดลพบุรีด้วย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 58 (3) ที่ว่า ในกรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ถ้าไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจพิจารณาคดี หมายถึง กรณีคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดที่ไม่มีบทกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องอำนาจศาลไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์อันเป็นคดีอาญาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซึ่งมี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 7 (1) บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้คดีลักษณะนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเว้นแต่จะเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เมื่อคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวแล้ว ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวคดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
กรณีที่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี เท่านั้นแต่ให้บรรดาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นนอกเขตของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางดังกล่าวจะยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้ ซึ่งหมายความว่าหากมีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค โดยระบุเขตศาลและที่ตั้งศาลขึ้นตามมาตรา 6 แล้ว คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่อยู่ในเขตอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคที่จัดตั้งขึ้นแล้วนั้นสามารถยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่จะรับหรือไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้เมื่อคดีนี้เหตุเกิดในท้องที่จังหวัดลพบุรีและยังไม่มีการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคใดขึ้นเลย จึงยังใช้บทบัญญัติในการยื่นฟ้องคดีตามมาตรา 5 วรรคสอง ดังกล่าวแล้วไม่ได้ก็ตาม แต่ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็บัญญัติเป็นบทเฉพาะกาลไว้ว่าในระหว่างที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาคยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใดให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีเขตในท้องที่นั้นด้วย และในคดีอาญาโจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดแห่งท้องที่ที่ความผิดเกิดขึ้นก็ได้ให้ศาลจังหวัดแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนั้นไว้แล้วจะนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น หรือ ณ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดลพบุรีและศาลดังกล่าวแจ้งไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับคดีนี้ไว้และพิจารณาพิพากษา จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 47 ดังกล่าว และคดีนี้มิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดลพบุรีด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล และการยกเว้นความรับผิดจากภยันตรายทางทะเล จำเป็นต้องมีการต่อสู้คดีตั้งแต่แรก
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดเพราะเหตุยกเว้นความรับผิดตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 52 (2) ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าความเสียหายและสูญหายของสินค้าเกิดจากภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้เดินเรือ จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท คู่ความย่อมไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสองได้นำสืบต่อสู้กันอย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบได้เปรียบกัน ก็ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาทมาวินิจฉัยได้
เมื่อข้อเท็จฟังได้ว่าสินค้าที่เสียหายเป็นแผ่นเหล็กรีดเย็นมีลักษณะเป็นม้วนวงกลมทบกันหลายชั้น และในใบตราส่งก็มีการระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ไว้ชัดเจน ดังนั้น แผ่นเหล็กรีดเย็น 1 ม้วน ย่อมถือเป็น 1 หน่วยการขนส่ง เมื่อความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นมิใช่กรณี ตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 และสินค้าดังกล่าวแต่ละม้วนมีน้ำหนักมาก ไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงต้องคำนวณเป็นจำนวนเงินตามน้ำหนักสุทธิในอัตรากิโลกรัมละ 30 บาท แต่หากปรากฏว่าราคาของนั้นต่ำกว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ ให้ถือเอาตามราคาที่คำนวณได้ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ มาตรา 61 กล่าวคือ ในกรณีของสูญหายหรือเสียหายทั้งหมด ให้คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่พึงส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง ถ้าของสูญหายหรือเสียหายบางส่วนให้คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่างเดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกันที่ยังเหลืออยู่ในเวลาส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง
เมื่อข้อเท็จฟังได้ว่าสินค้าที่เสียหายเป็นแผ่นเหล็กรีดเย็นมีลักษณะเป็นม้วนวงกลมทบกันหลายชั้น และในใบตราส่งก็มีการระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ไว้ชัดเจน ดังนั้น แผ่นเหล็กรีดเย็น 1 ม้วน ย่อมถือเป็น 1 หน่วยการขนส่ง เมื่อความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นมิใช่กรณี ตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 และสินค้าดังกล่าวแต่ละม้วนมีน้ำหนักมาก ไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงต้องคำนวณเป็นจำนวนเงินตามน้ำหนักสุทธิในอัตรากิโลกรัมละ 30 บาท แต่หากปรากฏว่าราคาของนั้นต่ำกว่าที่จำกัดความรับผิดไว้ ให้ถือเอาตามราคาที่คำนวณได้ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ มาตรา 61 กล่าวคือ ในกรณีของสูญหายหรือเสียหายทั้งหมด ให้คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่พึงส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง ถ้าของสูญหายหรือเสียหายบางส่วนให้คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่างเดียวกันและคุณภาพเท่าเทียมกันที่ยังเหลืออยู่ในเวลาส่งมอบ ณ ท่าปลายทาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2141/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล: การคำนวณค่าเสียหายและดอกเบี้ยตามอัตราแลกเปลี่ยน
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดในความสูญหายและเสียหายของสินค้าตามฟ้องเพราะความสูญหายและเสียหายเกิดจากภยันตรายหรืออุบัติเหตุ แห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้เดินเรือ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าความเสียหายและสูญหายของสินค้าเกิดจากภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลหรือน่านน้ำที่ใช้เดินเรือจึงเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาท คู่ความย่อมไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 185 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 แม้ศาลชั้นต้นเห็นว่าข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งโจทก์และจำเลยได้นำสืบต่อสู้กันอย่างเต็มที่แล้ว ไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบได้เปรียบแก่กัน ก็ไม่มีบทบัญญัติใดหรือข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศข้อใดให้อำนาจศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็นข้อพิพาทและนำมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้
สินค้าที่เสียหายเป็นแผ่นเหล็กรีดเย็นมีลักษณะม้วนเป็นวงกลมทบกันหลายชั้น แต่ละม้วนมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม และมีสิ่งห่อหุ้มมิดชิดป้องกันไม่ให้ถูกน้ำเพื่อให้เหมาะสมแก่การขนส่ง และในใบตราส่งก็มีการระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ไว้ชัดเจน ดังนั้น แผ่นเหล็กรีดเย็น 1 ม้วนย่อมถือเป็น 1 หน่วยการขนส่ง เมื่อสินค้าแผ่นเหล็กรีดเย็นที่เสียหายและสูญหายดังกล่าวแต่ละม้วนมีน้ำหนักมากไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงต้องคำนวณเป็นจำนวนเงินตามน้ำหนักสุทธิของม้วนแผ่นเหล็กรีดเย็นที่เสียหายและสูญหายในอัตรากิโลกรัมละ 30 บาท เพราะจะมีจำนวนเงินมากกว่า การคำนวณจากหน่วยการขนส่งในอัตราม้วนละ 10,000 บาท ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 และมาตรา 61
จำนวนเงินค่าเสียหายของสินค้าต้องคิดราคาในเวลาส่งมอบสินค้า ณ ท่าปลายทางคือวันที่ 24 สิงหาคม จึงใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทในวันดังกล่าวเป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคิดค่าเสียหายของสินค้าเป็นเงินบาทแต่เมื่อคู่ความไม่ได้นำสืบถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันดังกล่าวจึงเห็นสมควรกำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทในอัตราขายถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันที่ 24 สิงหาคม ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ หากไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาอัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศดังกล่าวที่มีในวันสุดท้ายก่อนวันที่ 24 สิงหาคม
สินค้าที่เสียหายเป็นแผ่นเหล็กรีดเย็นมีลักษณะม้วนเป็นวงกลมทบกันหลายชั้น แต่ละม้วนมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม และมีสิ่งห่อหุ้มมิดชิดป้องกันไม่ให้ถูกน้ำเพื่อให้เหมาะสมแก่การขนส่ง และในใบตราส่งก็มีการระบุจำนวนสินค้าเป็นม้วนที่บรรจุในตู้สินค้าแต่ละตู้ไว้ชัดเจน ดังนั้น แผ่นเหล็กรีดเย็น 1 ม้วนย่อมถือเป็น 1 หน่วยการขนส่ง เมื่อสินค้าแผ่นเหล็กรีดเย็นที่เสียหายและสูญหายดังกล่าวแต่ละม้วนมีน้ำหนักมากไม่ต่ำกว่า 2,000 กิโลกรัม การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจึงต้องคำนวณเป็นจำนวนเงินตามน้ำหนักสุทธิของม้วนแผ่นเหล็กรีดเย็นที่เสียหายและสูญหายในอัตรากิโลกรัมละ 30 บาท เพราะจะมีจำนวนเงินมากกว่า การคำนวณจากหน่วยการขนส่งในอัตราม้วนละ 10,000 บาท ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58 และมาตรา 61
จำนวนเงินค่าเสียหายของสินค้าต้องคิดราคาในเวลาส่งมอบสินค้า ณ ท่าปลายทางคือวันที่ 24 สิงหาคม จึงใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทในวันดังกล่าวเป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคิดค่าเสียหายของสินค้าเป็นเงินบาทแต่เมื่อคู่ความไม่ได้นำสืบถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในวันดังกล่าวจึงเห็นสมควรกำหนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทในอัตราขายถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันที่ 24 สิงหาคม ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ หากไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนในวันดังกล่าว ให้ถือเอาอัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศดังกล่าวที่มีในวันสุดท้ายก่อนวันที่ 24 สิงหาคม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2121/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้าหลังเลิกสัญญา การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถือเป็นการละเมิด
โจทก์ให้สิทธิจำเลยประกอบการสถานีบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งมีข้อผูกพันที่จำเลยต้องซื้อเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์เท่านั้นเพื่อนำไปขาย โดยมีการกำหนดราคาซื้อขายกันไว้อันมีลักษณะที่เป็นประโยชน์ทางด้านการตลาดของโจทก์ด้วย ต่อมาจำเลยเลิกสัญญาดังกล่าวกับโจทก์โดยตกลงว่าจำเลยไม่มีสิทธิดำเนินกิจการสถานบริการน้ำมันภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกต่อไปแล้ว แต่หลังจากนั้น จำเลยกลับจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์อีกโดยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยตกลงกับโจทก์เมื่อมีการเลิกสัญญาดังกล่าวดังนี้ เป็นการปฏิบัติผิดข้อตกลงกับโจทก์และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งนายกรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายและเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้ การร้องทุกข์และการใช้ดุลพินิจ
จำเลยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สั่งพักราชการโจทก์ซึ่งเป็นปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยปราศจากเหตุอันสมควรด้วยเหตุที่บริษัท ฮ. ฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องต่อมานายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้จำเลยยกเลิกคำสั่งพักราชการโจทก์และมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ซึ่งขณะนั้นตำแหน่งยังว่างอยู่ จำเลยสามารถสั่งให้เข้ารับราชการได้ทันที แต่จำเลยกลับเสนอขอกำหนดตำแหน่งที่ปรึกษา เพื่อจะให้โจทก์เข้ารับราชการในตำแหน่งดังกล่าว และได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ทบทวนคำสั่งทั้งที่จำเลยเป็นนักกฎหมายและมีประสบการณ์ในการทำงานราชการมามาก ทั้งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 มาตรา 126 วรรคสาม ระบุไว้ว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเท่านั้นแม้คำสั่งดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาให้ปฏิบัติไว้ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามในเวลาอันสมควร ทั้งการปฏิบัติตามก็กระทำได้โดยง่าย แต่จำเลยกลับปล่อยให้ล่วงเลยถึง 7 เดือน จึงมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิม ซึ่งเหลือเวลา 15 วัน โจทก์จะครบเกษียณอายุ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีแต่มาตรา 130 วรรคสอง กำหนดวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เมื่อในขณะนั้นยังไม่มีกฎ ก.พ. ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาบังคับใช้ จึงต้องบังคับตามมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยนำกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับ กฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดว่า ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ร้องต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล กรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ การที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและนายกรัฐมนตรีส่งคำร้องทุกข์ของโจทก์ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาจึงชอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว
กฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 3 กำหนดว่า การร้องทุกข์ในชั้นต้นร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งเสียก่อนหากได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายในเจ็ดวันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา จึงให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นเรื่องร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 การกำหนดให้ร้องทุกข์ด้วยวาจาก็เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้มีโอกาสชี้แจงทำความเข้าใจในชั้นต้นเสียก่อนนั่นเองมิได้ถือเป็นข้อสำคัญเคร่งครัด ประกอบกับโจทก์ไม่ได้พบกับจำเลยจึงไม่อาจจะร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อจำเลย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 4 โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518)ข้อ 2 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ไว้ว่า เหตุร้องทุกข์ต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น การปฏิบัติไม่ถูกต้องมีความหมายกว้าง รวมทั้งการใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย
อ.ก.พ. วิสามัญฯ ตั้งขึ้นโดย ก.พ. เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.พ.ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ ก.พ. ประกอบกับกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ อ.ก.พ.วิสามัญฯ มีหน้าที่เพียงแต่ช่วย ก.พ.พิจารณาคำร้องทุกข์เท่านั้นถ้ามติใดของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีปัญหาเป็นที่สงสัยไม่ชัดเจนก็เสนอให้ก.พ. ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงพิจารณาได้ ดังนั้น การทบทวนมติของอ.ก.พ. วิสามัญฯ จึงกระทำเพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม ก.พ. ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงจึงมีอำนาจทบทวนมติของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์แทน ก.พ. ได้
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 129 วรรคสอง บัญญัติให้นำมาตรา 126 ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา 127 มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา 126 วรรคสาม ซึ่งอนุโลมมาใช้ในการร้องทุกข์บัญญัติว่า ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการหรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการให้เป็นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรีและเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดจึงเป็นที่สุดจะอุทธรณ์คำสั่งหรือให้ทบทวนคำสั่งอีกไม่ได้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา อ.ก.พ.จังหวัด อ.ก.พ. กรม อ.ก.พ. กระทรวง หรือ ก.พ. แล้วแต่กรณีแต่มาตรา 130 วรรคสอง กำหนดวิธีการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ว่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. เมื่อในขณะนั้นยังไม่มีกฎ ก.พ. ที่ออกตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาบังคับใช้ จึงต้องบังคับตามมาตรา 137 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 โดยนำกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518 ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่ใช้อยู่เดิมมาใช้บังคับ กฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดว่า ในกรณีที่เหตุร้องทุกข์เกิดจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ร้องต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล กรณีเช่นนี้ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ การที่โจทก์ร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและนายกรัฐมนตรีส่งคำร้องทุกข์ของโจทก์ให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาจึงชอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว
กฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 3 กำหนดว่า การร้องทุกข์ในชั้นต้นร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งเสียก่อนหากได้รับคำชี้แจงไม่เป็นที่พอใจหรือไม่ได้รับคำชี้แจงภายในเจ็ดวันนับแต่วันร้องทุกข์ด้วยวาจา จึงให้ผู้ร้องทุกข์ยื่นเรื่องร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาตามข้อ 7 การกำหนดให้ร้องทุกข์ด้วยวาจาก็เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้มีโอกาสชี้แจงทำความเข้าใจในชั้นต้นเสียก่อนนั่นเองมิได้ถือเป็นข้อสำคัญเคร่งครัด ประกอบกับโจทก์ไม่ได้พบกับจำเลยจึงไม่อาจจะร้องทุกข์ด้วยวาจาต่อจำเลย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 4 โจทก์มีสิทธิร้องทุกข์เป็นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีได้ตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 130 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518)ข้อ 2 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์การร้องทุกข์ไว้ว่า เหตุร้องทุกข์ต้องเกิดจากผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจหน้าที่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์โดยไม่ถูกต้องหรือไม่ปฏิบัติต่อผู้ร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้น การปฏิบัติไม่ถูกต้องมีความหมายกว้าง รวมทั้งการใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย
อ.ก.พ. วิสามัญฯ ตั้งขึ้นโดย ก.พ. เพื่อทำการใด ๆ แทน ก.พ.ตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2535 เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของ ก.พ. ประกอบกับกฎ ก.พ. ฉบับที่ 9(พ.ศ. 2518) ข้อ 7 วรรคสี่ กำหนดให้ ก.พ. เป็นผู้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการ อ.ก.พ.วิสามัญฯ มีหน้าที่เพียงแต่ช่วย ก.พ.พิจารณาคำร้องทุกข์เท่านั้นถ้ามติใดของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ มีปัญหาเป็นที่สงสัยไม่ชัดเจนก็เสนอให้ก.พ. ผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แท้จริงพิจารณาได้ ดังนั้น การทบทวนมติของอ.ก.พ. วิสามัญฯ จึงกระทำเพื่อให้เกิดความถูกต้องและยุติธรรม ก.พ. ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์เสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรงจึงมีอำนาจทบทวนมติของ อ.ก.พ. วิสามัญฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้พิจารณาคำร้องทุกข์ของโจทก์แทน ก.พ. ได้
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535มาตรา 129 วรรคสอง บัญญัติให้นำมาตรา 126 ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎ ก.พ. และมาตรา 127 มาใช้บังคับโดยอนุโลมมาตรา 126 วรรคสาม ซึ่งอนุโลมมาใช้ในการร้องทุกข์บัญญัติว่า ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งให้ผู้อุทธรณ์กลับเข้ารับราชการหรือให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งของผู้บังคับบัญชา หรือให้ดำเนินการประการใด ให้กระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการให้เป็นตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรีและเมื่อนายกรัฐมนตรีสั่งการหรือคณะรัฐมนตรีมีมติตามวรรคหนึ่งเป็นประการใดแล้วจะอุทธรณ์ต่อไปอีกมิได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลผู้มีอำนาจบริหารสูงสุดจึงเป็นที่สุดจะอุทธรณ์คำสั่งหรือให้ทบทวนคำสั่งอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายต้องมีภยันตรายใกล้ถึง การวิวาทสมัครใจไม่ถือเป็นการป้องกัน
การที่จะกระทำการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้ต้องเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง หากภยันตรายยังไม่ใกล้จะถึงเสียแล้วย่อมไม่อาจกระทำการเพื่อป้องกันได้ แม้ผู้ตายกับผู้เสียหายจะกระทำการประทุษร้ายกระชากคอเสื้อ ส. และข่มขู่ท้าทายให้ชกต่อยอันเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายและไม่มีอำนาจก็ตาม แต่เมื่อจำเลยสมัครใจเข้าวิวาท จำเลยก็ไม่อาจยกข้อต่อสู้ว่าจำต้องแทงทำร้ายผู้ตายกับผู้เสียหายเพื่อป้องกันสิทธิของ ส. หรือจำเลยได้ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต้องกันมาและพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฆ่าผู้อื่นและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยถือว่าจำเลยกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของ ส. ในขณะที่ภยันตรายยังไม่ใกล้จะถึงเป็นการกระทำการเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายอันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69 เป็นการไม่ชอบ
แม้การกระทำของจำเลยจะไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาจึงปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นไม่มีอำนาจแก้โทษจำเลยเพื่อกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องและลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดไว้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
แม้การกระทำของจำเลยจะไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาจึงปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องเท่านั้นไม่มีอำนาจแก้โทษจำเลยเพื่อกำหนดโทษใหม่ตามความผิดที่ถูกต้องและลงโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดไว้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้อง: การพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีรับขนสินค้า โดยมิได้อ้างฐานความรับผิดในฐานะตัวแทน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของเรือที่รับขนสินค้าของโจทก์ และจำเลยที่ 2 ผิดสัญญารับขนสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ ไม่ได้ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญารับขนในฐานะเป็นตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนสินค้ากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ อันจะต้องรับผิดแต่ลำพังตนเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 824 จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142