คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พินิจ เพชรรุ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 562 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนหรือแก้ไขเล็กน้อย
คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภรรยาของตนโดยเด็กหญิงไม่ยินยอมจำคุก 6 ปี ฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายจำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 4 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวแล้วแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ทราบอายุของผู้เสียหายซึ่งเป็นสาระสำคัญขององค์ประกอบความผิดถือว่าเป็นความสำคัญผิดในข้อเท็จจริงนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และที่จำเลยฎีกาอีกว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานพรากเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีเพื่อการอนาจารโดยใช้กำลังประทุษร้ายกับขอให้ลงโทษสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานและดุลพินิจในการกำหนดโทษ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าผู้อื่นโดยทารุณโหดร้าย: การเชือดคอจนถึงแก่ความตายเข้าข่ายกระทำทารุณหรือไม่
จำเลยจับผู้ตายลากเข้าไปในบ้านใช้มีดเชือดคอลึกถึงกระดูกต้นคอ จำเลยใช้เวลานานกว่าจะเชือดคอผู้ตายจนมีบาดแผลยาวรอบคอ ทำให้ผู้ตายส่งเสียงร้องเพราะได้รับความเจ็บปวดทรมานเป็นการใช้วิธีการโหดร้ายในการฆ่าผู้ตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าผู้อื่นโดยทารุณโหดร้าย: การพิจารณาบาดแผลและเสียงร้องของผู้ตายเป็นองค์ประกอบสำคัญ
จำเลยจับผู้ตายลากเข้าไปในบ้านเกิดเหตุแล้วปิดประตูหน้าต่างทั้งหมดเจ้าพนักงานตำรวจมาถึงไม่สามารถเข้าไปได้ คงได้ยินเสียงผู้ตายร้องให้ช่วยเหลือสลับกับเสียงร้องด้วยความเจ็บปวดจึงพังประตูบ้านเข้าไป พบผู้ตายถูกจำเลยใช้อาวุธมีดเชือดคอยาวประมาณ30เซนติเมตรลึกถึงกระดูกต้นคอที่ศรีษะมีบาดแผลฉีกขาดยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลก กับมีบาดแผลบริเวณหน้าผากยาวประมาณ 4 เซนติเมตร แสดงว่าจำเลยต้องใช้เวลานานกว่าจะเชือดคอผู้ตายจนมีบาดแผลยาวรอบคอ ทำให้ผู้ตายส่งเสียงร้องเพราะได้รับความเจ็บปวดทรมาน เห็นได้ชัดว่าจำเลยใช้วิธีการโหดร้ายในการฆ่าผู้ตาย จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของผู้รับซื้อฝาก แม้ผู้ขายจะได้มาโดยกลฉ้อฉล สิทธิของผู้รับซื้อฝากไม่เสียไป
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดแต่ให้ ผ. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงซื้อขายที่ดินกันโดย ผ. ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการตกลงทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินกันระหว่างโจทก์ ผ. และจำเลยที่ 1 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลภายนอก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ได้หลอกลวงเป็นกลฉ้อฉลต่อโจทก์และ ผ. จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสองหลงเชื่อตกลงขายที่ดินให้จำเลยที่ 1 อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ แต่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน แม้ภายหลังโจทก์ไปขอไถ่ถอนที่ดินคืนจากจำเลยที่ 2 ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะไปไถ่ถอนคืนได้ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ไม่ยอมให้ไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่อาจยกเอาเหตุโมฆียะที่โจทก์ได้บอกล้างแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉลซื้อขาย & สิทธิบุคคลภายนอกสุจริต: สัญญาขายฝากไม่ผูกพันเจ้าของเดิมที่บอกล้างโมฆียะ
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ให้ ผ. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน แม้จำเลยที่ 1 จะหลอกลวงกลฉ้อฉลโจทก์และ ผ. จนโจทก์และ ผ. ตกลงทำสัญญาซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 1 อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ และโจทก์บอกล้างแล้วก็ตามแต่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกรับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและมีค่าตอบแทน การที่ภายหลังโจทก์ไปขอไถ่ถอนที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 2 ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 จะไปไถ่ถอนคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ตามสัญญา และจำเลยที่ 2ไม่ยอมให้โจทก์ไถ่ถอน โจทก์ก็ไม่อาจยกเอาเหตุกลฉ้อฉลต่อโจทก์และ ผ. อันทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะที่โจทก์ได้บอกล้างแล้วขึ้นต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและได้ที่ดินพิพาทมาโดยมีค่าตอบแทนก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 ประกอบมาตรา 1329

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและการถอนเงินฝากตามเงื่อนไขสัญญา การวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติม
จำเลยทราบอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบ และสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสามจึงไม่มีเหตุที่จะรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้
ตามสัญญาค้ำประกันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันผู้กู้ต้องฝากเงินประเภทฝากประจำต่อธนาคารจำเลยเป็น 2 บัญชี คือ บัญชีเงินฝากในข้อ 6 กับบัญชีเงินฝากในข้อ 7 สำหรับเงินฝากในข้อ 6 ไม่มีข้อความให้โจทก์ถอนคืนได้ ส่วนเงินฝากในข้อ 7 กลับระบุให้โจทก์ถอนคืนได้เมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้จำเลยลดลงไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่จำเลยประเมิน เมื่อตามสัญญาค้ำประกันได้แยกบัญชีเงินฝากทั้งสองไว้เป็นที่เด่นชัด การฝากและถอนคืนเงินฝากจึงต้องเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในแต่ละบัญชี ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่อาจถอนคืนเงินฝากในข้อ 6 โดยอาศัยเงื่อนไขในเงินฝากข้อ 7
ความในสัญญาค้ำประกันข้อ 8 มีว่า เพื่อเป็นหลักประกันผู้ค้ำประกันยอมมอบสมุดคู่ฝากประจำตามข้อ 7 ให้ธนาคารจำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันตลอดไปจนกว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน มีความหมายว่าจำเลยเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากประจำไว้เป็นประกัน ไม่ให้โจทก์ผู้ค้ำประกันถอนเงินโดยผิดเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 7เมื่อสัญญาข้อ 7 ระบุให้โจทก์ถอนเงินฝากได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ลดลงเหลือไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่จำเลยประเมินดังนั้น เมื่อหนี้ของผู้กู้ลดลงตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจกันเงินฝากของโจทก์ไว้จนกว่าลูกหนี้ของจำเลยชำระหนี้หมดสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-การถอนเงินฝาก: สิทธิถอนเงินฝากเมื่อหนี้ลดลง, การยึดถือสมุดคู่ฝากเป็นหลักประกัน
ความในสัญญาข้อ 8 มีว่า เพื่อเป็นหลักประกัน ผู้ค้ำประกันยอมมอบสมุดคู่ฝากประจำตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักประกันตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน มีความหมายว่าธนาคารจำเลยเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากประจำไว้เป็นประกัน ไม่ให้โจทก์ผู้ค้ำประกันถอนเงินโดยผิดเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 7 เมื่อสัญญาข้อ 7 ระบุให้โจทก์ถอนเงินฝากได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ธนาคารลดลงเหลือไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่ธนาคารประเมิน ซึ่งข้อเท็จจริงยุติว่าหนี้ของผู้กู้ลดลงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจกันเงินฝากของโจทก์ไว้จนกว่าลูกหนี้ของจำเลยชำระหนี้หมดสิ้น
จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน และจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบนั้น ย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยเอง จึงไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม และตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่ามีประเด็นอันเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวอันจะถือว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีซึ่งจะต้องนำสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบสินค้าขัดต่อสิทธิผู้รับตราส่ง และความรับผิดของตัวแทนผู้ขนส่งและผู้รับสินค้า
ใบตราส่งระบุว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้ขนส่งในการส่งมอบสินค้า แสดงว่าจำเลยมิใช่ผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนของผู้ขนส่ง จำเลยจึงมิได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของในสัญญารับขนของทางทะเล จำเลยได้รับคำสั่งจาก ค. ตัวแทนของผู้ขนส่งให้มอบใบสั่งปล่อยสินค้าพิพาทแก่จำเลยร่วมโดยแจ้งว่าต้นฉบับใบตราส่งได้มีการเวนคืนให้แก่ผู้ขนส่งแล้วที่ต้นทางโดยส่งโทรสารใบตราส่งมายืนยันให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวด้วย จำเลยจึงได้มอบใบสั่งปล่อยสินค้าให้จำเลยร่วมนำไปรับมอบสินค้าโดยไม่ได้มีการเวนคืนใบตราส่งจากจำเลยร่วม ตามโทรสารใบตราส่งก็ปรากฏชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้รับตราส่ง กรณีไม่มีเหตุให้จำเลยทราบได้ว่าคำสั่งให้ปล่อยสินค้าพิพาทแก่จำเลยร่วมเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การที่จำเลยปล่อยสินค้าพิพาทให้แก่จำเลยร่วมโดยไม่ได้เวนคืนใบตราส่งจึงเป็นการที่จำเลยซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ขนส่งตามสัญญาตัวการตัวแทนระหว่างจำเลยกับผู้ขนส่งปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการโดยสุจริต ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตระบุเงื่อนไขไว้อย่างแจ้งชัดว่าเอกสารใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์และให้แจ้งแก่จำเลยร่วม แม้ข้อความในตอนต่อมาจะระบุว่าเอกสารที่ใช้ในการส่งสินค้าทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วมก็ตาม ก็ย่อมหมายความว่าเอกสารที่ใช้ในการขนส่งทั้งหมดให้ออกในนามจำเลยร่วม เว้นแต่ใบตราส่งให้ทำในนามโจทก์กล่าวคือ ให้โจทก์เป็นผู้รับตราส่งและให้แจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทให้จำเลยร่วมทราบ นอกจากนี้ผู้บริหารของ ค. กับบริษัทจำเลยร่วมเป็นผู้บริหารกลุ่มเดียวกัน จำเลยร่วมรับสินค้าไปจากผู้ขนส่งตามคำสั่งของ ค. จึงเชื่อได้ว่าขณะที่จำเลยร่วมรับสินค้าพิพาทไปจากผู้ขนส่ง จำเลยร่วมย่อมทราบดีว่าผู้รับตราส่งคือโจทก์มิใช่จำเลยร่วม โดยจำเลยร่วมเป็นเพียงผู้รับแจ้งการมาถึงประเทศไทยของเรือบรรทุกสินค้าพิพาทเท่านั้น หามีสิทธิที่จะรับสินค้าพิพาทจากผู้ขนส่งได้ไม่ การที่จำเลยร่วมขอรับสินค้าพิพาทไปจากจำเลยตัวแทนผู้ขนส่งโดยไม่มีสิทธิ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์โดยจงใจทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าและไม่ได้รับชำระค่าสินค้าที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ผู้ขายไปแล้ว จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญา: ความชอบด้วยกฎหมายและขอบเขตของข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไปในทางพิจารณา
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายการกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบความผิดที่โจทก์กล่าวหาให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 80,335,336 ทวิ พอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดข้อหาใดได้แล้ว แม้ตามคำฟ้องของโจทก์ในตอนต่อมาบรรยายว่าเจ้าพนักงานตำรวจยึดของกลางที่จำเลยกับพวกได้ใช้หรือมีไว้ใช้เพื่อกระทำความผิดก็ไม่ ทำให้คำฟ้องของโจทก์เสียไป เพราะโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้อยู่แล้ว และหากข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกระทำผิดกับพวกอีกหลายคน จำเลยก็คงได้รับโทษตามความผิดที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องเท่านั้น คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์ การที่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณารับฟังได้เพิ่มเติมจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยได้ร่วมกับพวกอีกหลายคนกระทำผิดฐานพยายามลักทรัพย์ของผู้เสียหายนั้น ก็ไม่เป็นข้อสาระสำคัญที่จะให้ถือว่าแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องอันจะทำให้ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยและพ้นวิสัยในการชำระหนี้จากสัญญาต่างตอบแทน กรณีไฟไหม้โรงสี
ปัญหาว่าการที่จำเลยส่งมอบข้าวสารไม่ได้เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จำเลยเป็นผู้กล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217
of 57