พบผลลัพธ์ทั้งหมด 562 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยและพ้นวิสัยในการชำระหนี้จากสัญญาต่างตอบแทน กรณีไฟไหม้โรงสี
ปัญหาว่าการที่จำเลยส่งมอบข้าวสารไม่ได้เป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จำเลยเป็นผู้กล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ในประเด็นนี้จึงตกแก่จำเลย
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกของโจทก์ให้จำเลยสีเป็นข้าวสาร แล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวถือเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่งซึ่งจำเลยมีหน้าที่ตามสัญญาที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารแล้วส่งมอบให้แก่โจทก์
ขณะไฟไหม้โรงสีมีแต่ข้าวสารที่จะต้องส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารให้แก่โจทก์ได้เนื่องจากมาจากไฟไหม้โรงสีของจำเลยทำให้ข้าวสารเสียหายทั้งเหตุที่ไฟไหม้ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุที่เกิดไฟไหม้เนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ ดังนั้นการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบข้าวสารจึงกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด ตามมาตรา 219 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ.
ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่า เมื่อจำเลยสีข้าวเปลือกแล้วต้องส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์เมื่อใด ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยส่งมอบข้าวสารที่สีเสร็จแล้วแก่โจทก์ด้วย ทั้งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยว่าในการส่งข้าวสารคืนโจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ อันจะต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 217
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยทำให้ชำระหนี้ไม่ได้ และไม่มีการผิดนัดส่งมอบทรัพย์
การที่โจทก์ส่งมอบข้าวเปลือกให้จำเลยสีเป็นข้าวสารแล้วส่งคืนข้าวสารแก่โจทก์โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยเป็นปลายข้าวและรำข้าวนั้น ถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง จำเลยมีหน้าที่จะต้องนำข้าวเปลือกจำนวนที่ได้รับมอบจากโจทก์อันกำหนดไว้แน่นอนมาดำเนินการสีเป็นข้าวสารส่งมอบให้แก่โจทก์ ต่อมาเกิดไฟไหม้โรงสีข้าวของจำเลยซึ่งขณะนั้นในโรงสีไม่มีข้าวเปลือกมีแต่ข้าวสารแสดงว่าข้าวสารที่จำเลยจะต้องส่งมอบแก่โจทก์นั้นเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถส่งมอบข้าวสารดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้เพราะเหตุไฟไหม้ที่ไม่ปรากฏว่าเกิดจากการกระทำของผู้ใด จึงถือไม่ได้ว่าเหตุไฟไหม้นั้นเนื่องมาจากพฤติการณ์ที่จำเลยต้องรับผิดชอบ การชำระหนี้ของจำเลยด้วยการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ย่อมกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 219 วรรคหนึ่ง
ส่วนกรณีที่จำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแม้การชำระหนี้จะกลายเป็นพ้นวิสัยนั้น ปรากฏว่าการที่จำเลยจะต้องส่งข้าวสารคืนแก่โจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อโจทก์ยังมิได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์อันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 217
ส่วนกรณีที่จำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแม้การชำระหนี้จะกลายเป็นพ้นวิสัยนั้น ปรากฏว่าการที่จำเลยจะต้องส่งข้าวสารคืนแก่โจทก์นั้นต้องรอคำสั่งจากโจทก์ว่าจะให้ส่งไปจำนวนเท่าใด เมื่อโจทก์ยังมิได้เรียกให้จำเลยส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดในการส่งมอบข้าวสารแก่โจทก์อันจะต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 217
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การรับฟังคำรับสารภาพ, การพิสูจน์องค์ประกอบความผิด, และการแก้ไขโทษปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายอันเป็นการกระทำเพื่อแสวงหากำไรในทางการค้า และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31และ 70 เท่ากับโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 70 วรรคสองอยู่ในตัวแล้ว โจทก์หาจำต้องระบุวรรคของบทมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้องด้วยไม่ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยตามวรรคในมาตรานั้น ๆ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยนำออกให้เช่าซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31,70 ซึ่งความผิดดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนวิดีโอเทปของกลางด้วยหรือไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาตรา 27(1),69 ซึ่งเป็นความผิดคนละอย่างกันมาด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปของกลางซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังที่โจทก์ฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าโดยนำออกให้เช่าซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31,70 ซึ่งความผิดดังกล่าวหาได้มีองค์ประกอบความผิดว่า ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนวิดีโอเทปของกลางด้วยหรือไม่ อีกทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามมาตรา 27(1),69 ซึ่งเป็นความผิดคนละอย่างกันมาด้วย ดังนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นผู้ทำซ้ำซึ่งม้วนภาพยนตร์วิดีโอเทปของกลางซึ่งเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดดังที่โจทก์ฟ้องศาลก็ลงโทษจำเลยตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำ – ฟ้องซ้อน: ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ชี้ขาดประเด็นสิทธิไม่เหมือนกัน ไม่ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่ว่าประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและไม่ใช่คำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ฟ้องซ้ำ และฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144,173 วรรคสอง (1) และมาตรา 148 นั้น มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อซึ่งจะอุทธรณ์ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสองมาตรา 227 และมาตรา 228(3) แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งจำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาไม่ได้ เพราะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ชอบอุทธรณ์ได้ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ไม่รับอุทธรณ์
คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามคำร้องของจำเลยที่ว่า คำฟ้องของโจทก์ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำฟ้องซ้ำ และฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144,148 และ 173 วรรคสอง นั้น มิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหรือเฉพาะแต่ประเด็นแห่งคดีบางข้อซึ่งจะอุทธรณ์ได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 วรรคสอง มาตรา 227และมาตรา 228(3) แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 38 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์และใช้บัตร ATM ผิดหลายกรรม การกำหนดจำนวนกรรมที่ถูกต้อง
การที่จำเลยที่ 1 ลักเอาบัตร เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคาร ก. ซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหายไปนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าไม่สามารถเบิกถอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายในครั้งเดียวได้หมดเพราะมีข้อจำกัดของธนาคารเกี่ยวกับจำนวนเงินในการเบิกถอน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำบัตรดังกล่าวไปเบิกถอนเงินในวันเวลาและสถานที่ต่าง ๆ กันหลายจังหวัด ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ 1 ได้ว่า ต้องการใช้บัตรนั้นเบิกถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหายเป็นคราว ๆ ไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้บัตร เอ.ที.เอ็ม. เบิกถอนเงิน 60 ครั้ง เป็นความผิด 60 กระทง เมื่อรวมกับความผิดฐานลักบัตรดังกล่าวอีก 1 กระทง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดรวม 61 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำทั่วไป 'TWO WAY' เป็นเครื่องหมายการค้า ต้องไม่ทำให้สับสนและมีลักษณะแตกต่างจากเครื่องหมายเดิม
คำว่า TWOWAY เป็นคำทั่วไปมีความหมายสองทาง ซึ่งบุคคลทั่วไปนำคำนี้ไปใช้ได้ แม้โจทก์จะจดทะเบียนคำว่า TWOWAY และ ทูเวย์ เป็นเครื่องหมายการค้าของตนแล้ว ก็ไม่มีสิทธิหวงกันมิให้บุคคลอื่นใช้คำนี้โดยเด็ดขาด เพียงแต่ผู้ที่จะนำคำนี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังต้องทำให้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษณะแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด การที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการ TWOWAY หรือ 2WAYประกอบรูปลูกศรสลับหัวอันเป็นลักษณะบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา โดยนำไปใช้ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า Tellme อันมีลักษณะขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้ง Tellme ว่าใช้ได้สองทางทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำ ฉะนั้น การที่บุคคลอื่นใช้คำว่า ทูเวย์เคค ประกอบคำว่า sunmelon โดยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะใช้กับสินค้าแป้งชนิดเดียวกับของโจทก์ แต่ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันซึ่งไม่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'TWO WAY' เป็นคำทั่วไป การใช้โดยผู้อื่นไม่ละเมิด หากไม่ทำให้สับสน
คำว่า TWO WAY เป็นคำทั่วไปที่มีความหมายว่าสองทางซึ่งโดยปกติบุคคลทั่วไปย่อมสามารถจะนำคำนี้ไปใช้ได้อยู่แล้ว แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนคำว่า TWO WAY และ ทู เวย์ เป็นเครื่องหมายการค้าของตนแล้วก็ตาม โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นใช้คำนี้โดยเด็ดขาด เพียงแต่ผู้ที่จะนำคำนี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังจะต้องทำให้เครื่องหมายการค้านั้นมีลักษระแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดได้
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์เป็นเครื่องหมายประกอบรูปลูกศรสลับหัวกันระหว่างคำว่า TWO กับWAY หรือ 2 กับ WAY อันเป็นการผสมคำกับรูปลูกศร ซึ่งเป็นลักษณะเบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา แต่โจทก์กลับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบเครื่องหมายการค้าคำว่า Tellme ของโจทก์ Tellme TWO WAY หรือPOWDERCAKE Tellme Creance 2 WAY อันมีลักษณะเป็นการขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้งแข็ง Tellme ของโจทก์ว่าใช้ได้สองทาง คือใช้ได้ทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำ แป้งแข็งไม่ได้มีเฉพาะยี่ห้อของโจทก์เท่านั้น ยังมียี่ห้ออื่นที่จำหน่ายอีก ยี่ห้อของแป้งผัดหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะพิจารณา ดังนั้นการที่ ป. ใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" มิได้ใช้เครื่องหมายรูปลูกศรสลับระหว่างคำว่า TWO กับ WAY และ 2 กับ WAY ไปประกอบกับคำว่า sun melon เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะเป็นสินค้าแป้งผัดหน้าชนิดเดียวกับโจทก์ก็เป็นเครื่องหมายที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันและจะถือว่า ป. มีเจตนาไม่สุจริตในการใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" ประกอบคำว่า ซันเมลอน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งผัดหน้าไม่ได้
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์เป็นเครื่องหมายประกอบรูปลูกศรสลับหัวกันระหว่างคำว่า TWO กับWAY หรือ 2 กับ WAY อันเป็นการผสมคำกับรูปลูกศร ซึ่งเป็นลักษณะเบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา แต่โจทก์กลับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบเครื่องหมายการค้าคำว่า Tellme ของโจทก์ Tellme TWO WAY หรือPOWDERCAKE Tellme Creance 2 WAY อันมีลักษณะเป็นการขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้งแข็ง Tellme ของโจทก์ว่าใช้ได้สองทาง คือใช้ได้ทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำ แป้งแข็งไม่ได้มีเฉพาะยี่ห้อของโจทก์เท่านั้น ยังมียี่ห้ออื่นที่จำหน่ายอีก ยี่ห้อของแป้งผัดหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้จะพิจารณา ดังนั้นการที่ ป. ใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" มิได้ใช้เครื่องหมายรูปลูกศรสลับระหว่างคำว่า TWO กับ WAY และ 2 กับ WAY ไปประกอบกับคำว่า sun melon เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะเป็นสินค้าแป้งผัดหน้าชนิดเดียวกับโจทก์ก็เป็นเครื่องหมายที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกันและจะถือว่า ป. มีเจตนาไม่สุจริตในการใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" ประกอบคำว่า ซันเมลอน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งผัดหน้าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: การใช้คำทั่วไป (Two Way) ไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่มีลักษณะเฉพาะที่ทำให้สับสน
คำว่า TWOWAY เป็นคำทั่วไปมีความหมายว่าสองทาง ซึ่งโดยปกติบุคคลทั่วไปย่อมสามารถจะนำคำนี้ไปใช้ได้อยู่แล้ว แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนคำว่า TWOWAY และทูเวย์ เป็นเครื่องหมายการค้าของตนแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นใช้คำนี้โดยเด็ดขาด เพียงแต่ผู้ที่จะนำคำนี้ไปใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าของตนในภายหลังจะต้องทำให้เครื่องหมายนั้นมีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่ทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประกอบรูปคือรูปลูกศรสลับหัวกันTWO รูปลูกศรสลับหัวWAYหรือ2รูปลูกศรสลับหัวWAYอันเป็นการผสมคำกับรูปลูกศรซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา แต่โจทก์กลับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า Tellme ของโจทก์ เช่น TellmeTWO รูปลูกศรสลับหัวWAYPOWDERCAKEหรือTellmeCreance2รูปลูกศรสลับหัวWAY อันมีลักษณะเป็นการขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้งแข็ง Tellme ของโจทก์ว่าใช้ได้สองทาง คือใช้ได้ทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำนั่นเอง การที่ ป. ใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" มิได้ใช้TWO รูปลูกศรสลับหัวWAYหรือ2รูปลูกศรสลับหัว WAY ไปประกอบคำว่า sunmelonเป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะเป็นสินค้าแป้งผัดหน้าชนิดเดียวกับของโจทก์ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกัน และจะถือว่า ป. มีเจตนาไม่สุจริตในการใช้คำว่า "ทูเวย์เคค"ประกอบคำว่าซันเมลอน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งผัดหน้าไม่ได้
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประกอบรูปคือรูปลูกศรสลับหัวกันTWO รูปลูกศรสลับหัวWAYหรือ2รูปลูกศรสลับหัวWAYอันเป็นการผสมคำกับรูปลูกศรซึ่งถือได้ว่าเป็นลักษณะบ่งเฉพาะที่โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นมา แต่โจทก์กลับใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวประกอบกับเครื่องหมายการค้าคำว่า Tellme ของโจทก์ เช่น TellmeTWO รูปลูกศรสลับหัวWAYPOWDERCAKEหรือTellmeCreance2รูปลูกศรสลับหัวWAY อันมีลักษณะเป็นการขยายให้เห็นคุณสมบัติของแป้งแข็ง Tellme ของโจทก์ว่าใช้ได้สองทาง คือใช้ได้ทั้งผสมน้ำและไม่ผสมน้ำนั่นเอง การที่ ป. ใช้คำว่า "ทูเวย์เคค" มิได้ใช้TWO รูปลูกศรสลับหัวWAYหรือ2รูปลูกศรสลับหัว WAY ไปประกอบคำว่า sunmelonเป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะเป็นสินค้าแป้งผัดหน้าชนิดเดียวกับของโจทก์ก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีรูปลักษณะและสำเนียงเรียกขานแตกต่างกัน และจะถือว่า ป. มีเจตนาไม่สุจริตในการใช้คำว่า "ทูเวย์เคค"ประกอบคำว่าซันเมลอน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดถึงแหล่งที่มาของสินค้าแป้งผัดหน้าไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: แม้จดทะเบียนแล้ว ผู้มีสิทธิเดิมฟ้องเพิกถอนได้หากพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิที่ดีกว่า
ในคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ การพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ที่แสดงให้พอเข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับมิใช่ต้องแสดงโดยแจ้งชัดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรคสอง ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายตราเป็ดว่ายน้ำและได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้มาตั้งแต่ปี 2521 จนถึงปัจจุบัน ส่วนเครื่องหมายตราเป็ดยืนโจทก์จดทะเบียนรับโอนมาจากผู้ที่จดทะเบียนไว้ก่อน แต่ต่อมาโจทก์ไม่ได้ขอต่ออายุการจดทะเบียนจึงถูกเพิกถอนเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าว จากนั้นจำเลยซึ่งเคยเป็นผู้จัดการของโจทก์ได้นำเครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและนายทะเบียนก็รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่จำเลย อันเป็นการขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต ซึ่งตามคำฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างถึงข้อเท็จจริงเพื่อแสดงว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย อันเป็นเหตุที่จะขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองหากไม่ดำเนินการให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยก็ตามแต่ก็เข้าใจได้ว่า โจทก์ประสงค์จะให้มีการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั่นเอง ทั้งการที่โจทก์อ้างว่าตนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งมีสิทธิดีกว่าจำเลย แต่จำเลยนำไปจดทะเบียนการค้าโดยไม่สุจริตก็เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว และกรณีผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าผู้ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าฟ้องผู้ที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้แล้วนั้นพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 ก็ให้อำนาจศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหากโจทก์แสดงได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลย จึงเป็นกรณีที่โจทก์และจำเลยจะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อแสดงว่าใครเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่ากัน ซึ่งไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนที่จะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ เพราะเมื่อมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ก็มีผลบังคับเป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยคำพิพากษาของศาลนั้นเอง โจทก์เพียงแต่นำคำพิพากษาไปแสดงแก่นายทะเบียนเพื่อจดแจ้งทางทะเบียนให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ต้องฟ้องเพื่อให้ศาลบังคับนายทะเบียนแต่อย่างใด
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ด้วยเหตุที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6(3) นั้น เป็นกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาสั่งตามมาตรา 16 โดยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่เท่านั้นซึ่งเป็นคนละปัญหากับการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามฟ้องดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะวินิจฉัยเรื่องความเหมือนคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์เสียสิทธิฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แต่ประการใด
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ด้วยเหตุที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 6(3) นั้น เป็นกรณีที่นายทะเบียนพิจารณาสั่งตามมาตรา 16 โดยพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่เท่านั้นซึ่งเป็นคนละปัญหากับการที่ศาลจะวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามฟ้องดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ ฉะนั้น แม้โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะวินิจฉัยเรื่องความเหมือนคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยอย่างไร ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์เสียสิทธิฟ้องจำเลยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 67 แต่ประการใด