คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พินิจ เพชรรุ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 562 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าอันตราย: ประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งและผู้รับขนส่ง
ขณะจำเลยนำสินค้าถ่านไม้ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องกระดาษขนาดใหญ่มาส่งมอบให้แก่ตัวแทนของโจทก์ที่ท่าเรือกรุงเทพ จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายอันแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษดังกล่าว ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้นั้น อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 33 ที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้ส่งสินค้าอันตรายจะต้องปฏิบัติ และมาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ดังนั้นผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบด้วยมาตรา 33
แม้จำเลยไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย แต่เมื่อโจทก์ผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าแล้ว ความเสียหายจึงมิได้เกิดจากการที่โจทก์ไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้าอันเนื่องมาจากการที่จำเลยไม่ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายตามสมควรหรือไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งสินค้านั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความเสียหายตามมาตรา 34(2) แห่งพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ ได้
การที่ผู้ขนส่งไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งแก่จำเลยหรือตัวแทนว่าได้เกิดความเสียหายพร้อมแจ้งถึงสภาพโดยทั่วไปของความเสียหายดังกล่าวภายใน 90 วันนับแต่วันที่เกิดความเสียหายแก่ผู้ส่งของเป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ขนส่งไม่ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 37ไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้
สาเหตุที่ทำให้ถ่านไม้เกิดลุกไหม้จนเกิดความเสียหายขึ้นนั้น นอกจากจะเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยในการบรรจุสินค้าดังกล่าวแล้วยังมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการจัดวางตู้สินค้าที่บรรจุถ่านไม้ที่ไม่เหมาะสม โดยวางปะปนกับตู้สินค้าอื่นและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ทำให้ถ่านไม้เกิดความร้อนสะสมขึ้นอย่างช้า ๆ และลุกไหม้ขึ้น อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องและด้วยความประมาทเลินเล่อของโจทก์ผู้ขนส่งด้วย ดังนั้น ในการที่จะให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยคำนึงถึงข้อสำคัญว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 223

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5970/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ส่งสินค้าอันตรายและการประมาทเลินเล่อของผู้ขนส่งในการขนส่งทางทะเล
จำเลยผู้ส่งของมิได้ทำเครื่องหมายหรือปิดป้ายแสดงว่าเป็นสินค้าอันตรายที่ข้างกล่องกระดาษ ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ผู้ขนส่งสินค้าได้ทราบถึงสภาพอันตรายของถ่านไม้ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 33 อย่างไรก็ตาม มาตรา 34 ได้บัญญัติถึงความรับผิดของผู้ส่งของไว้โดยเฉพาะในกรณีละเว้นไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ไว้ว่า ถ้าผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 และผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นมีดังต่อไปนี้ (1)?(2) ผู้ส่งของยังคงต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายทั้งปวงอันเกิดขึ้นหรือเป็นผลเนื่องจากการขนส่งของนั้น ซึ่งหมายความว่า ผู้ส่งของจะต้องรับผิดในความเสียหายต่อผู้ขนส่งตามมาตรา 34(2) ประกอบกับมาตรา 33 ดังกล่าว เมื่อผู้ขนส่งไม่ทราบถึงสภาพอันตรายแห่งของนั้น หากโจทก์ในฐานะผู้ขนส่งทราบถึงสภาพอันตรายของสินค้าของจำเลยผู้ส่งของอยู่แล้ว โจทก์ก็สามารถใช้ความระมัดระวังในการขนส่งสินค้าดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพอันตรายของสินค้านั้นได้ กรณีนี้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
จำเลยบรรจุสินค้าถ่านไม้ลงในถุงพลาสติกแล้วรัดด้วยหนังยางไม่ได้ปิดผนึกจนอากาศเข้าไม่ได้และไม่ติดป้ายแสดงสินค้าอันตราย เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของไอเอ็มดีจี โค้ด และประกาศกรมเจ้าท่า เรื่อง การกำหนดชั้นของสิ่งของและสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ แม้ความเสียหายจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการจัดระวางบรรทุกสินค้าด้วย แต่ก็ถือว่าต่างก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นจึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง
โจทก์ไม่บอกกล่าวเป็นหนังสือให้จำเลยทราบถึงความเสียหายภายใน 90 วัน เป็นเพียงเหตุให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย ซึ่งไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรง: ผลของการคัดค้านของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ในกรณีที่ไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ฉะนั้น หากจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของผู้อุทธรณ์ได้ เมื่อกฎหมายมิได้บัญญัติถึงเหตุผลแห่งคำคัดค้านไว้ จึงต้องแปลว่าเพียงจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำร้องดังกล่าวก็ต้องถือว่าจำเลยอุทธรณ์ประสงค์ให้การดำเนินคดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาลศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของผู้อุทธรณ์ได้ การที่จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ แม้จะระบุเหตุแห่งคำคัดค้านว่าอุทธรณ์ของโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายก็ต้องถือว่าจำเลยอุทธรณ์ได้คัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์แล้ว ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำคัดค้านไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ถือว่าไม่มีคำคัดค้านและมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ โดยตรงต่อศาลฎีกาได้นั้น จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจจะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5841/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารสำเนา และความรับผิดในหนี้จากการสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยบุคคลอื่น
การที่โจทก์นำสืบแสดงสำเนาเอกสารต่อศาล จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าโจทก์มิได้ส่งต้นฉบับเอกสารแต่อย่างใด การที่ศาลวินิจฉัยรับฟังตามสำเนาเอกสารดังกล่าว ถือได้ว่าศาลได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้ในกรณีไม่สามารถนำต้นฉบับเอกสารมาได้โดยประการอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องขออนุญาตศาลก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับความผิดฐานเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ล้าสมัย และการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากบทกฎหมายที่ใช้ถูกยกเลิกแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 ซึ่งได้ถูกยกเลิกแล้วโดยไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 และกฎหมายที่ออกมาใหม่ก็ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงกำหนดการเก็บรักษาและการควบคุมอื่นใดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ขณะพิจารณาคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาจึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบ
ความผิดฐานเสนอสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมกับฐานร่วมกันใช้ฉลากโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นของสินค้า เป็นการกระทำที่มีเจตนาในการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิด โดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐาน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า และการจำหน่ายสินค้าปลอม โดยศาลฎีกาได้พิจารณาแก้ไขโทษและยกฟ้องบางข้อหา
ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2542 ซึ่งมาตรา 3 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2496 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 และฉบับที่ 5พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 หลังวันที่พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ใช้บังคับแล้ว 1 ปีเศษ โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีเก็บไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไม่น่ากลัวอันตราย มีปริมาณเกินกว่า 10,000 ลิตร ไว้ในสถานที่เก็บน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474ซึ่งถูกยกเลิกไปก่อนแล้ว โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลัง แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยในระหว่างเวลาที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ยังมีผลใช้บังคับอยู่นั้นยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ส่วนการกระทำของจำเลยนับแต่วันที่ พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังและยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 แล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดและขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ซึ่งถูกยกเลิกไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยระหว่างวันเวลาดังกล่าวเป็นความผิดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ต้องยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นเป็นของบริษัท ส. และบริษัท ฮ. ผู้เสียหาย โดยใช้ป้ายโฆษณาที่มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายติดที่สินค้า อันเป็นการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกันในความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม กับฐานใช้ฉลากในการขายสินค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเกินกรอบคำฟ้อง: ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นทำให้ผลคดีไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าโดยโจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายตลอดจนลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรม ตามคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นว่าลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรมบางคนเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อของพยานสองในสามคนในพินัยกรรม เป็นลายมือชื่อปลอมย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องรับฟังไม่ได้ ที่ศาลวินิจฉัยปัญหาที่ว่าลายมือชื่อพยานปลอมหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็นฟ้องในคดีพินัยกรรมโมฆะ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า โดยโจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายตลอดจนลายมือชื่อของพยาน ประเด็นตามคำฟ้องจึงมีว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าหรือไม่ และไม่มีประเด็นว่าลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรมบางคนเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อของพยานสองในสามคนในพินัยกรรมเป็นลายมือชื่อปลอม ย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อโจทก์มิได้ฎีกาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะด้วยสาเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ย่อมไม่มีทางที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาในประเด็นดังกล่าวให้เป็นคุณแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5539/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษคดีประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย – ชดใช้ค่าเสียหาย & ไม่เคยต้องโทษ
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติถือเป็นรายงานของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติไปตามคำสั่งของศาล ไม่เป็นพยานหลักฐานของโจทก์หรือจำเลยในคดี ข้อเท็จจริงตามรายงานดังกล่าวที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องรับวินิจฉัยให้
ผู้กระทำความผิดในฐานะกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและหลบหนีไม่แจ้งเหตุ ไม่ถือว่าเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง เมื่อตามรายงานของพนักงานคุมประพฤติปรากฏว่ามารดาของผู้ตายและ บ. ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นที่พอใจและต่างไม่ติดใจที่จะดำเนินการในทางแพ่งอีก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงสมควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งก่อนและหลังสัญญาค้ำประกัน, การกำหนดดอกเบี้ย, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ประมวลรัษฎากรฯ ที่ระบุให้ตราสารต้องปิดแสตมป์ในอัตราที่กำหนดไว้ จึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามมาตรา 118นั้น มีเฉพาะตั๋วแลกเงินและเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น ส่วนสัญญาทรัสต์รีซีทไม่อยู่ในรายการให้ต้องปิดแสตมป์ สำหรับตั๋วแลกเงินและเลตเตอร์ออฟเครดิตแม้จะไม่มีแสตมป์ปิดไว้ แต่โจทก์ผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเป็นธนาคารพาณิชย์ ชำระค่าอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ เป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ฯ ดังนั้นแม้ตราสารดังกล่าวจะไม่มีแสตมป์ปิดไว้แต่โจทก์ก็นำสืบได้ว่าได้ชำระอากรแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์เป็นผู้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในช่วงเวลาใดได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร ซึ่งเมื่อโจทก์จ่ายเงินชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปตาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินตราต่างประเทศแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ตกลงกันไว้ เมื่อโจทก์จ่ายเงินแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตในอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 37.155 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินในระยะเวลาตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องมีค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาท จึงฟังว่าอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเงินบาทไทยตามที่โจทก์นำสืบ ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
จากเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เข้าก่อหนี้กับโจทก์ ไม่ว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีอยู่ก่อนที่จะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ขณะทำสัญญาค้ำประกัน หรือหลังทำสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น หนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนทำหนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์หลังทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่างก็เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย
of 57